การพัฒนาแบบจำลองโลกเสมือนจริง สำหรับบทเรียนมัลติมีเดียปฏิสัมพันธ์ เรื่อง การท่องโลกอุปกรณ์คอมพิวเตอร์
Main Article Content
Abstract
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาแบบจำลองโลกเสมือนจริงสำหรับบทเรียนมัลติมีเดียปฏิสัมพันธ์ เรื่อง การท่องโลกอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ 2) เพื่อนำรูปแบบมาพัฒนาบทเรียนมัลติมีเดียปฏิสัมพันธ์ที่มีคุณภาพ และมีประสิทธิภาพตามเกณท์ 80/80 3) เพื่อเปรียบเทียบคะแนนทดสอบก่อนเรียนกับคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศีกษาหลังจากเรียนบทเรียนมัลติมีเดียปฏิสัมพันธ์โลกเสมือนจริง และ 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจ ต่อบทเรียนมัลติมีเดียปฏิสัมพันธ์โลกเสมือนจริง ด้านเนื้อหา และด้านคุณภาพ
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยนี้ ได้จากการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Sampling) จากกลุ่มเรียนทั้งหมด 7 กลุ่ม ได้กลุ่มเรียนมาจำนวน 1 กลุ่มเรียน มีจำนวนนักศึกษา 60 คน ที่ลงทะเบียนเรียน ในรายวิชาระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการทางธุรกิจ ภาคเรียนที่1 ปีการศึกษา 2556 เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัย คือ (1) แบบประเมินบทเรียนโลกเสมือนจริง(2) แบบประเมินความสอดคล้องด้านเนื้อหา ที่ใช้ในบทเรียนโลกเสมือนจริง(3)แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และ(4)แบบสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อบทเรียนโลกเสมือนจริง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าที
ผลการวิจัยพบว่า 1) แบบจำลองโลกเสมือนจริงสำหรับบทเรียนมัลติมีเดียปฏิสัมพันธ์ มีคุณลักษณะดังนี้ (1) การเข้าไปใช้ระบบได้ในเวลาเดียวกัน (2) การติดต่อระบบด้วยกราฟิก (3) การใกล้ชิดกับระบบ (4) การจัดการข้อมูล (5) ชุมชนออนไลน์ (6) การจำลองเสมือนจริง (7) การมีปฏิสัมพันธ์กับระบบ และ (8) สิ่งแทนตัวตน 2) มีคุณภาพอยู่ในระดับดี และมีประสิทธิภาพ 86.92/84.42 ตามเกณฑ์ที่กำหนด 3) คะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียน ผ่านบทเรียนมัลติมีเดียปฏิสัมพันธ์โลกเสมือนจริง สูงกว่าคะแนนทดสอบก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ .01 และ 4) นักศึกษามีความพึงพอใจต่อบทเรียนมัลติมีเดียปฏิสัมพันธ์ ในระดับมาก
Article Details
ลิขสิทธิ์บทความวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ห้ามนำข้อความทั้งหมดหรือบางส่วนไปพิมพ์ซ้ำ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากมหาวิทยาลัยเป็นลายลักษณ์อักษร
ความรับผิดชอบ เนื้อหาต้นฉบับที่ปรากฏในวารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ เป็นความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์บทความหรือผู้เขียนเอง ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากเทคนิคการพิมพ์