การรณรงค์ค่านิยมทางสังคมเพื่อพัฒนาคุณภาพทรัพยากรมนุษย์ (ทุนมนุษย์)ในเจเนอเรชั่น Y เพื่อเสริมสร้างศักยภาพ ในการแข่งขันของประเทศไทย

Main Article Content

ณัฎฐ์ พัชรภิญโญพงศ์

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมาย 1)เพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันของประเทศไทยในเวทีโลก 2)เพื่อศึกษาค่านิยมที่ไม่ถูกต้องที่ส่งผลถึงการขาดแคลน หรือด้อยคุณภาพในทรัพยากรมนุษย์ หรือทุนมนุษย์ ซึ่งส่งผลต่อธุรกิจต่างๆ และลดทอนศักยภาพในการแข่งขันของประเทศไทย 3)เพื่อศึกษาอิทธิพลของกลุ่มบุคคลสำคัญที่มีต่อการรณรงค์ค่านิยมทางสังคมเพื่อพัฒนาคุณภาพทรัพยากรมนุษย์หรือทุนมนุษย์เจเนอเรชั่น Y และการเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันของประเทศไทย 4)เพื่อศึกษาปัจจัยที่ทำให้กลุ่มบุคคลสำคัญมีอิทธิพลต่อค่านิยมทางสังคมของกลุ่มตัวอย่างเจเนอเรชั่น Y โดยใช้การวิจัยเชิงคุณภาพ และเก็บข้อมูลจาก กลุ่มบุคคลที่จะเป็นผู้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับปัจจัยสำคัญที่มีผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตและการพัฒนาค่านิยมของเจเนอเรชั่น Y นั้น แบ่งเป็น 4 กลุ่ม คือ1)พ่อแม่ ผู้ปกครอง  2)สถานศึกษา 3)สังคมสิ่งแวดล้อม 4) สื่อสาร มวลชน  เพื่อที่จะนำข้อมูลที่ได้มาสร้างเป็นกระบวนทัศน์ใหม่ในการรณรงค์ค่านิยมทางสังคมเพื่อพัฒนาศักยภาพในการแข่งขันของประเทศไทย ในการวิจัยครั้งนี้ได้กระบวนทัศน์  SMART GEN CUBE โดยแต่ละตัวอักษรจะมีสามความหมายเชิงกลยุทธ์ในการพัฒนาดังนี้  Sufficiency = ความพอเพียง Shame of sins = หิริโอตตัปปะ Success = ความสำเร็จ Management = การจัดการ Motivate = กระตุ้น ให้แรงบันดาลใจ Multi = หลาย Active = กระตือรือร้น Attend = ใส่ใจAttitude = ทัศนคติ Refinement = การกลั่นกรอง Role Model = แบบอย่างที่นับถือ Religion = ศาสนา Thoughtfulness = วิจารณญาน Traditional = ประเพณีดั้งเดิม Thai culture = วัฒนธรรมไทย Give = ให้ Goal = เป้าหมาย Gist = ใจความ,เนื้อหาสำคัญ,แก่นสาร Experience = ประสบการณ์ Education = การศึกษา Evolution =วิวัฒนาการ Nation = ชาติ Norm = กระแส  Nurture = การให้การอบรม

Article Details

Section
บทความวิจัย

References

ฑิตยา สุวรรณะชฎ สนิท สมัครการ และ เฉลียว บุรีภักดี.(2548) รายงานการวิจัยสังคมและวัฒนธรรมไทย : ข้อสังเกตในการ เปลี่ยนแปลง., ม.ป.ป., กรุงเทพฯ: สำนักวิจัย สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

นงลักษณ์เอมประดิษฐ์. (2539), รูปแบบครอบครัวไทยของสังคมสมัยใหม่ : แนวโน้มในอนาคต. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, กรุงเทพฯ:สถาบันไทยคดีศึกษา

พวงเพชร วัชรอยู่. (2547), แรงจูงใจในการทำงาน. โอเดียนสโตร์, กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์

สุนทรีโคมิน และสนิท สมัครการ. (2552), ค่านิยมและระบบค่านิยมไทย: เครื่องมือในการสำรวจวัด., กรุงเทพฯ: สำนักวิจัยสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

เทพวาณี วินิจกำธร.(2548) การปลูกฝังค่านิยมตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสำหรับนักเรียนชั้ประถมศึกษา ปีที่ 5 โดยใช้กระบวนการตามแนวคิดของบลูมและแรทส์ วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

วริยา ขุนดำ .(2547)ค่านิยมของพนักงานในGeneration Y x baby boomer ต่อคุณค่าขององค์กร (EVP) ของพนักงานบริษัท ดูเม็กซ์จำกัด วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และองค์การ) สถาบันบัณฑิตพัฒนาบริหารศาสตร์

รัชฎา อสิสนธิสกุล. (2548) . การสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับเจนเนอเรชั่นวาย(Generation Y) เพื่อการประยุกต์ใช้ในที่ทำงาน. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สถาบันบัณฑิตพัฒนาบริหารศาสตร์

ธีรวุฒิ เอกะกุล. (2543) ระเบียบวิธีวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. อุบลราชธานี, สถาบันราชภัฎ

Miller, Kim S., Forehand, Rex, Kotchick, Beth A. (1999). Adolescent Sexual Behavior in Two Ethnic Minority Samples: The Role of Family Variables. Journal of Marriage and Family, 61(1): 85 - 98.