ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อการสร้างความได้เปรียบ ในการแข่งขันของธุรกิจโลจิสติกส์ภาคบริการ เขตภาคกลาง

Main Article Content

อมรรักษ์ สวนชูผล
กัลยารัตน์ ธีระธนชัยกุล

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาถึงปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อการสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันของธุรกิจโลจิสติกส์ภาคบริการ เขตภาคกลาง ผู้วิจัยกำหนดกลุ่มตัวอย่างในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ คือ พนักงานระดับปฏิบัติการและพนักงานระดับบริหาร ในธุรกิจโลจิสติกส์ ภาคบริการ ศึกษาเฉพาะจังหวัดในเขตปริมณฑล ที่มีรัศมีไม่เกิน 100 กิโลเมตรรอบกรุงเทพมหานคร โดยมีการแบ่งขนาดของธุรกิจโลจิสติกส์ ออกเป็นธุรกิจโลจิสติกส์ภาคบริการขนาดเล็ก ธุรกิจโลจิสติกส์ภาคบริการขนาดกลาง และธุรกิจโลจิสติกส์ภาคบริการขนาดใหญ่ ซึ่งมีการกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่าง โดยใช้ตารางกำหนดขนาดตัวอย่างของทาโร ยามาเน ได้ขนาดตัวอย่าง จำนวน 400 คน ผู้วิจัยวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้าง (Structural Equation Modeling: SEM)  ผลการวิจัย พบว่า ปัจจัยด้านความสามารถทางเทคโนโลยีสารสนเทศสารสนเทศมีอิทธิพลทางตรงและโดยรวมต่อความฉับไวในการปฏิบัติงาน ปัจจัยด้านทุนมนุษย์มีอิทธิพลทางตรงและโดยรวมต่อความฉับไวในการปฏิบัติงาน ปัจจัยด้านเครือข่ายทางธุรกิจมีอิทธิพลทางตรงและโดยรวมต่อความฉับไวในการปฏิบัติงาน ปัจจัยด้านความฉับไวในการปฏิบัติงานมีอิทธิพลทางตรงต่อการสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันของธุรกิจโลจิสติกส์ภาคบริการ เขตภาคกลาง ปัจจัยด้านความสามารถทางเทคโนโลยีสารสนเทศ ปัจจัยด้านทุนมนุษย์ และปัจจัยด้านเครือข่ายทางธุรกิจมีอิทธิพลทางอ้อมต่อการสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันของธุรกิจ

โลจิสติกส์ภาคบริการ เขตภาคกลาง และปัจจัยด้านความสามารถทางเทคโนโลยีสารสนเทศ ปัจจัยด้านทุนมนุษย์ และปัจจัยด้านเครือข่ายทางธุรกิจมีอิทธิพลทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อการสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันของธุรกิจโลจิสติกส์ภาคบริการ เขตภาคกลาง ดังนั้นผลการวิจัยนี้สอดคล้องกับสมมติฐานที่ตั้งไว้

 

Article Details

Section
บทความวิจัย

References

กรมพัฒนาธุรกิจการค้า. 2555. การส่งเสริมพาณิชยอิเล็กทรอนิกส์. สืบค้นจาก http://www.dbd.go.th/mainsite/index.php?id=34.

. 2555. การส่งเสริมพาณิชยอิเล็กทรอนิกส์. สืบค้นจาก http://www.dbd.go.th/ mainsite/index.php?id=34.

ชญานันท์ เกิดพิทักษ์ และคณะ. 2552. การเพิ่มความได้เปรียบในเชิงการแข่งขันด้วยกลยุทธ์โลจิสติกส์ในอุตสาหกรรมปาล์มน้ำมัน. นำเสนองานวิจัยในงานการประชุมสัมมนาวิชาการด้านการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน ครั้งที่ 9 (ThaiVCML 2009). ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.

สุนทรี เจริญสุข. 2555. การจัดการโลจิสติกส์เพื่อสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขัน: กรณีศึกษาบริษัทวี-เซิร์ฟโลจิสติกส์จำกัด. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ.

สถาบันวิจัยเพื่อพัฒนาประเทศไทย. 2554. โครงการศึกษาเพื่อการปรับโครงสร้างสาขาการขนส่งทางรถไฟ. กรุงเทพฯ: กระทรวงคมนาคม.

Bontis, N . 1998. Intellectualcapital: a nexploratory study that develops measure sand models. Management Decision. 36(2), 63-76. States of America: Pearson.

Jane, T. 2003. Manchester Metropolitan University Business School Working Paper Series. Harvard Business Review. 24(32), 78-82.Prentice Hall.

Wang, G., Huang, S. H., & Dismukes, J. P. 2004. Product-driven supply chain selection using integrated multicriteria decision-making methodology. International Journal of Production Economics. 21(91), 1-15.

Yamane, T. 1967. tatistics: An introductory analysis. New York: Harper and Row.