การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำแบบร่วมแรงร่วมใจของผู้บริหารสถานศึกษา กับการมีส่วนร่วมของชุมชนในการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1

Main Article Content

กนกวรรณ สุ่มพ่วง

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาภาวะผู้นำแบบร่วมแรงร่วมใจของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยาเขต 1  2) ศึกษาการมีส่วนร่วมของชุมชนในการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1  และ 3) วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำแบบร่วมแรงร่วมใจของผู้บริหารสถานศึกษากับการมีส่วนร่วมของชุมชน ในการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1   กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1  จำนวน 128 คน ด้วยวิธีเปิดตารางของเครจซี่และมอร์แกน (Krecie and Morgan) เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน

               ผลการวิจัยพบว่า  1)  ผู้บริหารสถานศึกษา   มีภาวะผู้นำแบบร่วมแรงร่วมใจ  อยู่ในระดับมาก 2)  ชุมชนมีส่วนร่วมในการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษาอยู่ในระดับมาก  และ3) ผู้บริหารสถานศึกษามีภาวะผู้นำแบบร่วมแรงร่วมใจกับการมีส่วนร่วมของชุมชน  ในการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษา   มีความสัมพันธ์กันทางบวก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  ภาวะผู้นำแบบร่วมแรงร่วมใจของผู้บริหารสถานศึกษา สามารถอธิบายการผันแปรในกับการมีส่วนร่วมของชุมชนในการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษา  ได้ประมาณร้อยละ 49

Article Details

Section
บทความวิจัย

References

ชนะ พงศ์สุวรรณ. (2548). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงและการกระจายอำนาจ

การบริหารงานวิชาการของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน อำเภอปากท่อ สำนักงานเขตพื้นที่

การศึกษาราชบุรีเขต1.สารนิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒ.

ดิเรก อนันต์. (2556). การมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาของคณะกรรมสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัด

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์เขต 1.สารนิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต

สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.

วิทยากร เชียงกูล. (2553). แนวคิดการปฏิรูปการศึกษา. สืบค้นเมือ 6 กันยายน2556.

จาก http://www.moe.go.th.

สวัสดิ์ แก้วชนะ. (2550).บทบาทการมีส่วนร่วมในการบริหารวิชาการของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้น

พื้นฐานของโรงเรียนประถมศึกษาในเขตพัฒนาคุณภาพการศึกษา ที่ 5 สังกัดสำนักงานการ

ประถมศึกษาจังหวัดขอนแก่น. วิทยานิพนธ์ศึกษาสาสตร์มหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา,

มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

สมชิต ขันขวา. (2550). การมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการศึกษาของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน

ในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดขอนแก่น. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษา

ศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2553). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 และที่

แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2553. กรุงเทพฯ : สำนักนายกรัฐมนตรีสำนักงานคณะกรรมการ

การศึกษาขั้นพื้นฐาน.(2549). จุดเน้นสู่การพัฒนาคุณภาพผู้เรียนเพื่อการขับเคลื่อนหลักสูตร

การจัดการเรียนรู้ การวัดและประเมินผล. กรุงเทพฯ : สำนักงานฯ.

สุชามนตร์ แย้มเจริญ. (2554). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผล

กับการมีส่วนร่วมของชุมชนในสถานศึกษาประเภทที่1 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประจวบคีรีขันธ์เขต 1และเขต 2. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา,

มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี.

Philip Hallinger & Ronald H.Heck. (2010). Distributed leadership: democracy or delivery?.

Journal of Educational Administration. 46(2).

Olssen, M. & Matthews, K.M. (1997). Education policy in New Zealand: the 1990s and

beyond. Palmerston North: Dunmore Press.