ปัจจัยที่มีผลต่อความผูกพันของบุคลากรในเครือบริษัทนิตโต เดนโกะ

Main Article Content

สายใจ นาคปั้น

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ  1) ศึกษาถึงความผูกพันของบุคลากรที่มีต่อในเครือบริษัทนิตโต เดนโกะ 2) ศึกษาถึงความสัมพันธ์ของปัจจัยที่มีผลต่อความผูกพันของบุคลากรที่มีต่อบริษัทในเครือนิตโต เดนโกะ 3) ศึกษาถึงความสัมพันธ์ของลักษณะส่วนบุคคลกับความผูกพันต่อองค์กรของบุคลากรในเครือบริษัทนิตโต เดนโกะ 4) ศึกษาถึงความสัมพันธ์ของงานที่ปฏิบัติกับความผูกพันต่อองค์กรของบุคลากรในเครือบริษัทนิตโต เดนโกะ และ 5) ศึกษาถึงความสัมพันธ์ของประสบการณ์จากการปฏิบัติงานกับความผูกพันต่อองค์กรของบุคลากรในเครือบริษัทนิตโต เดนโกะ  กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ พนักงานประจำในเครือบริษัทนิตโต เดนโกะ จำนวน 321 คน  วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ ค่าความถี่  ค่าร้อยละ  ค่าเฉลี่ย  ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  การทดสอบความแตกต่างระหว่างคะแนนเฉลี่ยของตัวแปร 2 กลุ่มด้วยค่าสถิติ t-test  และการทดสอบค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน  ได้กำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติ .05 

ผลการวิจัย พบว่า 1) ระดับความผูกพันต่อองค์กรของบุคลากร พบว่า มีความผูกพันอยู่ในระดับปานกลาง โดยมีความเต็มใจในการทุ่มเทเพื่อองค์กร มีความผูกพันอยู่ในระดับมาก 2) ความสัมพันธ์ของปัจจัยที่มีผลต่อความผูกพันของบุคลากร พบว่า ความผูกพันต่องานที่ปฏิบัติแตกต่างกัน ส่งผลต่อความผูกพันของพนักงานต่อองค์กรแตกต่างกัน  ส่วนประสบการณ์จากการปฏิบัติงานที่แตกต่างกัน ส่งผลต่อความผูกพันของพนักงานต่อองค์กรแตกต่างกัน  3) ความสัมพันธ์ของลักษณะส่วนบุคคลกับความผูกพันของบุคลากร พบว่า ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงร้อยละ 53.6 อายุระหว่าง 31 - 40 ปี  การศึกษาระดับ ปวช./ปวส./อนุปริญญา ตำแหน่งงานพนักงานทั่วไป และระยะเวลาในการปฏิบัติงานต่ำกว่า  5 ปี  4) ความสัมพันธ์ของงานที่ปฏิบัติกับความผูกพันต่อองค์กร พบว่า อยู่ในระดับปานกลาง งานที่มีโอกาสปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น มีความผูกพันอยู่ในระดับมาก  และ 5) ความสัมพันธ์ของประสบการณ์จากการปฏิบัติงานกับความผูกต่อองค์กร พบว่า มีความผูกพันอยู่ในระดับปานกลาง ทัศนคติต่อเพื่อนร่วมงานและองค์กร มีความผูกพันอยู่ในระดับมาก

Article Details

Section
บทความวิจัย

References

คมกฤต เมฆสกุล. (2553). คุณภาพชีวิตในงานและความผูกพันต่อองค์การของพนักงาน บริษัท ฮาน่า ไมโครอิเล็กทรอนิกส์ จำกัด (มหาชน) จังหวัดลำพูน. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

จักรพันธ์ เทพพิทักษ์. (2551). ปัจจัยที่มีผลต่อความผูกพันต่อองค์กรของพนักงาน บริษัท ลำพูน ซิงเดนเก็น จำกัด. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจ, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ชุลีพร ชัยมา. (2550). ความผูกพันต่อองค์การและคุณภาพชีวิตในการทำงานระหว่างเจ้าหน้าที่สำนักทะเบียนและประมวลผล มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ที่มีระดับแรงจูงใจในการทำงานแตกต่างกัน. การค้นคว้าอิสระวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์กร, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

พิชัย อุ่นนันกาศ. (2552). ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้รูปแบบภาวะผู้นำของผู้บังคับบัญชากับความผูกพันต่อองค์กรของพนักงานบริษัท ลัคกี้ยูเนี่ยนฟู้ดส์ จำกัด. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

วิกิพีเดีย. (2557). ความสำคัญทางการแข่งขันในทางอุตสาหกรรม. สืบค้นจาก http://th.wikipedia.org/w/index.php.

ศิริรัตน์ จำปาทิพย์. (2554). ปัจจัยที่มีผลต่อความผูกพันต่ององค์กรของพยาบาลโรงพยาบาลนภาลัย อำเภอบางคนที จังหวัดสมุทรสงคราม. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจ, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.