การสร้างกรอบแนวคิดการวิจัยโดยใช้ทฤษฎีจากฐานราก The Research Conceptual Framework Establishment by the Grounded Theory

Main Article Content

สัญญา เคณาภูมิ

Abstract

การสร้างกรอบแนวคิดการวิจัยเป็นขั้นตอนการนำเอาตัวแปรและประเด็นที่ต้องการทำวิจัยมาเชื่อมโยงกับแนวคิดทฤษฏีที่เกี่ยวข้องในรูปของคำบรรยาย แบบจำลองแผนภาพหรือแบบผสม วิธีการสร้างกรอบแนวคิดการวิจัยมีอยู่หลายวิธี แต่ที่รู้จักโดยทั่วไปคือการทบทวนวรรณกรรม หรือการศึกษาแนวคิด ทฤษฎี และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง วิธีดังกล่าวอาศัยองค์ความรู้เดิมที่บูรพาจารย์ค้นพบและบันทึกเอาไว้ในสื่อต่างๆ โดยเฉพาะเป็นลายลักษณ์อักษร หากพิจารณาแล้วองค์ความรู้ดังกล่าวเป็นอดีตไปแล้ว อาจไม่ทันต่อสถานการณ์ปัจจุบัน หากประเด็นข้อสงสัยหรือปัญหาการวิจัยเป็นเรื่องใหม่ๆ อาจหาแนวคิดหรือทฤษฎี หรืองานวิจัยที่เกี่ยวข้องมาอธิบายยาก หรือ ภายหลังจากการทบทวนวรรณกรรมแล้ว ปรากฏว่าตัวแปรที่พบยังไม่สมบูรณ์ หรือ ยังไม่เป็นที่พอใจ ปัญหาเช่นนี้เกิดขึ้นเสมอกับนักวิจัย การศึกษาปรากฏการณ์จริงในพื้นที่วิจัยจึงเป็นเรื่องต้องดำเนินการเบื้องต้นก่อนการศึกษาจริง

             การนำหลักการทฤษฎีฐานรากมาใช้เพื่อค้นหาตัวแปรและกรอบแนวคิดของการวิจัยถือว่าเป็นการสร้างองค์ความรู้ใหม่ที่มิใช่องค์ความรู้ที่ถูกบันทึกไว้ในสื่อต่างๆ แต่เป็นองค์ความรู้ที่อยู่ในปรากฏการณ์จริง(Phenomena) และ ความรู้ในตัวคน (Tacit Knowledge) มักจะใช้วิธีการศึกษานำร่อง (Pilot studies) ซึ่งสามารถดำเนินการดังนี้ (1) กำหนดประเด็นปัญหาข้อสงสัยในที่นี้ควรตั้งไว้อย่างน้อย 2 ประเด็นหลัก คือ องค์ประกอบและตัวบ่งชี้ของตัวแปรตามและตัวแปรอิสระ (2) กำหนดกลุ่มเป้าหมายผู้ให้ข้อมูลโดยเน้นผู้มีส่วนได้เสีย (Stakeholder) เช่น Best practice ผู้ที่อยู่ในเหตุการณ์นั้นๆ เป็นต้น (3) เลือกวิธีการศึกษา เช่น การสัมภาษณ์ การสนทนากลุ่ม การสัมภาษณ์กลุ่ม การสังเกต ฯลฯ ซึ่งอยู่พื้นฐานว่าจะต้องได้ความจริงที่แท้จริงมากที่สุด (4) ลงพื้นที่ทำการเก็บข้อมูล (5) วิเคราะห์ตัวแปรที่ได้จากการศึกษาปรากฏการณ์ (6) สังเคราะห์ตัวแปร โดยนำประเด็นต่างๆ มาจัดหมวดหมู่ ซึ่งประกอบด้วยอย่างน้อย 2 ประเด็น กล่าวคือ ตัวแปรอิสระและตัวแปรตาม จากนั้นนำมาเขียนเป็นกรอบแนวคิดการวิจัยในเชิงความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร (Variable relevance conceptual framework) เขียนนิยามศัพท์ปฏิบัติการ (Operation definition) และสร้างเครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูลต่อไป 

Article Details

Section
บทความวิจัย

References

กัญญา โพธิวัฒน์. 2548. ทีมผู้นำการเปลี่ยนแปลงในโรงเรียนประถมศึกษา : การศึกษาเพื่อสร้างทฤษฎีฐานราก. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

เกษมสิงห์ เฟื่องฟู. 2551. การสนทนากลุ่ม (Focus Group Discussion). ค้นเมื่อ 26 สิงหาคม 2551, จาก http://www.nb2.go.th/kmcdata/uploadq/120.ppt [26 สิงหาคม 2551]

บรรดล สุขปิติ, รศ. 2552. ความเข้าใจเบื้องต้นเกี่ยวกับการวิจัย. นครปฐม : หน่วยวิจัยเครือข่ายการพัฒนาครู มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม.

ปุณณวิช ลิมรุ่งโรจน์. 2558. การเขียนรายงานวิจัยทางธุรกิจ. [ระบบออนไลน์] แหล่งที่มาhttp://archive.wunjun.com/mba16u/21/289.html[17 สิงหาคม 2558]

พิชาย รัตนดิลก ณ ภูเก็ต. (2554). บทวิจารณ์หนังสือระเบียบวิธีทฤษฎีฐานราก (Grounded Theory). Journal of Social Development. : คณะพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

พิทักษ์ ศิริวงศ์. 2547. “ทฤษฎีฐานราก (Grounded Theory) วิธีวิทยาการวิจัยเพื่อสร้างทฤษฎีในการพัฒนาประเทศ,” บรรณสาร มศก.ท. (19) : 1 เมษายน – กันยายน, 2547.

วรรณี แกมเกตุ.2551. วิธีวิทยาการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วานิช มาลัยและอรสา ปานขาว. 2548. วิธีการศึกษาทางนิเทศศาสตร์. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และคณะ. 2541. การวิจัยธุรกิจ Business Research. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ดวงกมลสมัย.

สัญญา เคณาภูมิ. 2557. “รูปแบบการเขียนกรอบแนวคิดการวิจัยทางการบริหารจัดการThe Writing Format of Research Conceptual Frameworks on Management” วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม (มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์) ปีที่ 8 ฉบับที่ 3 : กันยายน - ธันวาคม 2557 หน้า 36-38

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย. 2551. การสนทนากลุ่ม (Focus Group Discussion). [ระบบออนไลน์] แหล่งที่มา http://www.vijai.org/Tool_vijai/12/02.asp [26 สิงหาคม 2551]

สุภางค์ จันทวานิช. 2552. การวิเคราะห์ข้อมูลในการวิจัยเชิงคุณภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

¬¬¬_______. 2553. วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 18. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Charmaz, K. 2006. Constructing Grounded Theory: A Practical Guide Through Qualitative Analysis. London: SAGE.

Glaser, Barney G. and Anselm L. Strauss. 1967. The Discovery of Grounded Theory : Strategies for Qualitative Research. Chicago : Aldine Publishing Company.