การศึกษาบทบาทการนำแหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่นมาใช้ในการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1
Main Article Content
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาบทบาทการนำแหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่นมาใช้ในการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ของผู้บริหารโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1 2) เปรียบเทียบบทบาทการนำแหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่นมาใช้ในการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1 จำแนกตามระดับการศึกษา ประสบการณ์ในการบริหารงาน และขนาดโรงเรียน ประชากร ได้แก่ ผู้บริหารโรงเรียน จำนวน 192 คน โดยกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างด้วยตารางของ เครจซี่และมอร์แกน (Krecie & Mogan) ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 130 คน สุ่มตัวอย่างโดยกำหนดสัดส่วนตัวอย่างของโรงเรียนในแต่ละขนาด แล้วใช้วิธีการสุ่มอย่างง่าย (Simple random sampling) เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีความเชื่อมั่นทั้งฉบับ เท่ากับ 0.97 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสถิติ t-test และ การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว
ผลการวิจัยพบว่า 1) บทบาทการนำแหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่นมาใช้ในการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ของผู้บริหารโรงเรียน ใน 5 ด้าน ได้แก่ ด้านการเป็นผู้นำทางวิชาการ ด้านการบริหารงานแบบมีส่วนร่วม ด้านการส่งเสริมการพัฒนาครูและบุคลากร ด้านการจัดสภาพแวดล้อมแหล่งเรียนรู้ในโรงเรียน และด้านการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ โดยรวม และรายด้านมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก 2) บทบาทการนำแหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่นมาใช้ในการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1 จำแนกตามระดับการศึกษาพบว่าแตกต่างกันอย่างมีนัยทางสถิติ ที่ระดับ .05 และเมื่อเปรียบเทียบโดยจำแนกตามขนาดโรงเรียนและประสบการณ์ในการบริหารงาน พบว่า โดยรวมไม่แตกต่างกัน แต่รายด้านพบว่าด้านการบริหารงานแบบมีส่วนร่วมแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05
Article Details
ลิขสิทธิ์บทความวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ห้ามนำข้อความทั้งหมดหรือบางส่วนไปพิมพ์ซ้ำ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากมหาวิทยาลัยเป็นลายลักษณ์อักษร
ความรับผิดชอบ เนื้อหาต้นฉบับที่ปรากฏในวารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ เป็นความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์บทความหรือผู้เขียนเอง ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากเทคนิคการพิมพ์
References
ประสงค์ หอมชื่น. (2548). คุณลักษณะของผู้บริหารโรงเรียนที่บริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน โรงเรียน
ประถมศึกษา สำนักงานเขตบางขุนเทียน สังกัดกรุงเทพมหานคร. สารนิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต
สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
พระมหาไพฑูรย์ อินวันนา. (2552). การศึกษาบทบาทของผู้บริหารโรงเรียน โดยใช้โรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา สังกัดสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติกลุ่ม 1.
ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต
สาขาวิชาการบริหารการศึกษา,มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
เพ็ชรี รูปะวิเชตร์. (2549). เทคนิคการจัดฝึกอบรมและการประชุม (Training and Meeting). ม.ป.ท.
ศิริ จันบำรุง. (2549). การศึกษาบทบาทและหน้าที่ของผู้บริหารสถานศึกษาในการบริหารความร่วมมือกับ สถานประกอบการ (ทวิภาคี). สารนิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
สมาน แก้วใส. (2545). บทบาทของผู้บริหารโรงเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็น
ศูนย์กลาง. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัย
มหาสารคาม.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต1. (2553). รายงานการวิเคราะห์ผลการประเมินคุณภาพภายนอกรอบสองของสถานศึกษา
สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1. ปีงบประมาณ 2549-2553
สุจันทนี สังขดุล. (2548). การศึกษาบทบาทของครูในงานวิชาการของโรงเรียนเอกชนเขตพระนคร กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัย
ศรีนครินทรวิโรฒ.
เสาวภาคย์ แหลมเพ็ชร. (2545). การศึกษาความพร้อมของสถานศึกษาและศักยภาพของบุคลากร ใน
การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาในโรงเรียนมัธยมศึกษาจังหวัดนนทบุรี. วิทยานิพนธ์
การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.