ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการสรรหาบุคลากรของธุรกิจโลจิสติกส์ภาคบริการ เขตภาคกลางในประเทศไทย

Main Article Content

สอาด บรรเจิดฤทธิ์

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาถึงประสิทธิภาพในการสรรหาบุคลากรของธุรกิจ  โลจิสติกส์ภาคบริการ เขตภาคกลางในประเทศไทย  (2) เพื่อศึกษาถึงปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการสรรหาบุคลากรของธุรกิจโลจิสติกส์ภาคบริการ เขตภาคกลางในประเทศไทย  ผู้วิจัยกำหนดกลุ่มตัวอย่างในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ คือ พนักงานระดับปฏิบัติการ ในธุรกิจโลจิสติกส์ภาคบริการ ศึกษาเฉพาะจังหวัดในเขตปริมณฑล ที่มีรัศมีไม่เกิน 100 กิโลเมตร รอบกรุงเทพมหานคร โดยมีการแบ่งขนาดของธุรกิจ  โลจิสติกส์  ออกเป็น ธุรกิจโลจิสติกส์ภาคบริการขนาดเล็ก ธุรกิจโลจิสติกส์ภาคบริการขนาดกลาง และธุรกิจโลจิสติกส์ภาคบริการขนาดใหญ่ โดยใช้วิธีการเทียบบัญญัตยางค์เพื่อหาว่าธุรกิจโลจิสติกส์ภาคบริการ ในแต่ละขนาดนั้น ต้องใช้กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยจำนวนเท่าไหร่ และได้จำนวนกลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 400 คน ผู้วิจัยวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าความถี่ (Frequency) และค่าร้อยละ (Percentage) ใช้สำหรับวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ รายได้ ค่าเฉลี่ย (Mean) และ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation หรือ S.D.) ใช้สำหรับวิเคราะห์ระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการสรรหาบุคลากร และใช้การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ (Regression Analysis) ใช้สำหรับอธิบายอิทธิพลของปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการสรรหาบุคลากรของธุรกิจอุตสาหกรรมโลจิสติกส์ เขตภาคกลางในประเทศไทย    ผลการวิจัยพบว่า ผลจากการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression Analysis) ด้วยวิธีการแบบใส่ตัวแปรพร้อมกันทั้งหมด (Enter Method) พบว่า ธุรกิจอุตสาหกรรมโลจิสติกส์ เขตภาคกลาง ที่มีภาพลักษณ์ของนายจ้างที่สูง  และด้านองค์กรเป็นเลิศที่สูง มีแนวโน้มที่ทำให้ประสิทธิภาพการสรรหาบุคลากรของธุรกิจอุตสาหกรรมโลจิสติกส์ ภาคกลาง ในประเทศไทย  สูงขึ้นตามไปด้วย ในทางตรงกันข้าม ถ้าภาพลักษณ์ของนายจ้างที่ต่ำ และด้านองค์กรเป็นเสิศที่ต่ำ ก็จะมีแนวโน้มว่าประสิทธิภาพการสรรหาบุคลากรของธุรกิจอุตสาหกรรมโลจิสติกส์ เขตภาคกลางในประเทศไทย  ลดต่ำลงไปด้วย ด้านปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิการสรรหาบุคลากรของธุรกิจโลจิสติกส์ภาคบริการ พบว่า ปัจจัยด้านภาพลักษณ์นายจ้าง ในองค์ประกอบย่อยตัวแปรด้านความเป็นเลิศในการจัดการ ส่งผลต่อประสิทธิภาพการสรรหาบุคลากรมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ 3.93 ปัจจัยด้านความเป็นเลิศขององค์กร องค์ประกอบย่อยตัวแปรด้านความสามารถในการสร้างผลกำไร ส่งผลต่อประสิทธิภาพการสรรหาบุคลากรมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ 3.92

Article Details

Section
บทความวิจัย

References

กรมพัฒนาธุรกิจการค้า. 2555. การส่งเสริมพาณิชยอิเล็กทรอนิกส์. สืบค้นจาก http://www.dbd.go.th/mainsite/index.php?id=34.

เนาวรัตน์ คงวิเชียรวัฒน์ และวัชรี พืชผล. (2549). การสรรหาและการคัดเลือกบุคลากรเพื่อการจ้างงานของผู้ประกอบการจังหวัดสุราษฎร์ธานี. มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี. สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ.

เพ็ญรัตน์ วิเศษปรีชา. (2550). การบริหารทรัพยากรมนุษย์ในองค์กรที่ได้รับเลือกเป็นนายจ้าง ดีเด่นแห่งประเทศไทย: กรณีศึกษา บริษัท ฟาบริเนท จำกัด. วิทยานิพนธ์ วท.ม. (การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และองค์กร). สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

ไพรัช วงศ์ยุทธไกรและคณะ.(2552).การสรรหาและคัดเลือกบุคลากรในงานอุตสาหกรรม บริษัท ผลิตภัณฑ์อาหารศรีสยาม จำกัด.

มงคล สิริขจรเดชสกุล. (2550). การพัฒนาประสิทธิภาพการสรรหาพนักงานบริษัท ยิบอินซอย จำกัด. วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และองค์กร) คณะพัฒนาทรัพยากรมนุษย์สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

ศิริยุพา รุ่งเริงสุข. 2549 (17 พฤษภาคม). แนะเคล็ดองค์กรไทยก้าวสู่สุดยอดนายจ้าง. ผู้จัดการรายสัปดาห์: 11.

Jing Hana and Jian Han.(2009). Network-based recruiting and applicant attraction in China: insights from both organizational and individual perspectives. The International Journal of Human Resource Management, Vol. 20, No. 11, November 2009, 2228–2249.

Owais Shafique. (2012). Recruitment in the 21st Century. Institute of Interdisciplinary Business Research. JUNE 2012 VOL 4, NO 2