การพัฒนาการใช้สื่อเพื่อการรณรงค์ในการให้ความรู้แก่นแท้ของพระพุทธศาสนาแก่ พุทธศาสนิกชนในจังหวัดเชียงใหม่และลำพูน
Main Article Content
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อค้นหาความเข้าใจในความรู้แก่นแท้ของพระพุทธศาสนาของพุทธศาสนิกชนที่มาทำบุญฟังเทศน์ที่วัด เพื่อนำสิ่งที่เข้าใจไม่ถูกต้องที่สำคัญในความรู้แก่นแท้ฯ นั้นมาสร้างสื่อเพื่อนำไปใช้ในการให้ความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติ แก่พุทธศาสนิกชน และเพื่อศึกษาเชิงคุณภาพของวัดที่ทำให้ความรู้แก่นแท้ของพุทธศาสนิกชนได้เพิ่มขึ้นมาก ซึ่งจะสามารถนำไปเป็นแนวทางในการให้ความรู้ที่ได้ผลดีต่อไป ผู้วิจัยศึกษาจากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นศรัทธาวัดในจังหวัดเชียงใหม่และลำพูน จำนวน 12 วัด แยกเป็นวัดที่อยู่ในเขตเทศบาลเมืองจำนวน 3 วัด และวัดที่อยู่ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) จำนวน 3 วัด รวมเป็นจังหวัดละ 6 วัด ซึ่งรวมทั้ง 2 จังหวัดเป็น 12 วัดโดยแยกเป็นกลุ่มทดลอง 2 วัด และกลุ่มควบคุม 1 วัดของแต่ละจังหวัด ทั้งนี้เก็บข้อมูลวัดละๆ 35 ตัวอย่าง รวม 12 วัด 420 ตัวอย่าง ในช่วงเข้าพรรษาปี 2556
การวิจัยนี้เก็บข้อมูลมาจากการสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่าง 420 ตัวอย่าง นำผลมาวิเคราะห์ด้วยวิธีการทางสถิติหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสถิติ t-test F test และ LSD ใช้ระดับนัยสำคัญที่ .05 นอกจากนี้ยังมีการสัมภาษณ์เชิงลึกพระสังฆาธิการระดับเจ้าอาวาส 2 รูป และ พุทธศาสนิกชน 4 ท่านจากวัดในกลุ่มทดลองที่มีคะแนนความรู้ฯเพิ่มขึ้นมาก (Best practice)
ผลการวิจัย พบว่า
1. กลุ่มทดลอง โดยก่อนการรณรงค์ใช้สื่อนั้น มีคะแนนความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมที่ถูกต้อง แตกต่างจากกลุ่มควบคุม เฉพาะคะแนนความรู้ นอกนั้นไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
2. เมื่อนำประเด็นที่เข้าใจไม่ถูกต้องในความรู้แก่นแท้ของพระพุทธศาสนามาสร้างสื่อแล้วนำไปรณรงค์ให้ความรู้ฯแก่พุทธศาสนิกชนที่มาทำบุญฟังเทศน์พบว่า หลังการรับสื่อ กลุ่มทดลอง มีคะแนนความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรม เพิ่มขึ้นมากกว่าคะแนนที่กลุ่มควบคุมเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .001 ทั้ง 3 ประเภท
3. ในการศึกษาวัดที่ทำให้ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมของพุทธศาสนิกชนเพิ่มขึ้นมากนั้น พบว่า วัดทั้งสองจังหวัดที่เป็นเช่นนี้เนื่องจาก ได้ใช้สื่อ 6 ชนิด อย่างถูกหลักเกณฑ์ ทั้งยังมีเสริม (supplement) ด้วยการใช้เสียงตามสายในชุมชนอยู่เสมอ และมีการอธิบายตอกย้ำ (reinforcement) ประเด็นสำคัญจากสื่อต่าง ๆ เวลาแสดงธรรมอีกด้วย
Article Details
ลิขสิทธิ์บทความวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ห้ามนำข้อความทั้งหมดหรือบางส่วนไปพิมพ์ซ้ำ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากมหาวิทยาลัยเป็นลายลักษณ์อักษร
ความรับผิดชอบ เนื้อหาต้นฉบับที่ปรากฏในวารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ เป็นความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์บทความหรือผู้เขียนเอง ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากเทคนิคการพิมพ์
References
ชิต ณะไชย. (2540). การประเมินโครงการรณรงค์เพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ภายใต้
แผนปฏิบัติการเพื่อการจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อมในระดับจังหวัด ปี 2540 จังหวัดน่าน. เชียงใหม่.
บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
นรินทร์ชัย พัฒนพงศา. (2542). การสื่อสารเชิงยุทธศาสตร์เพื่อเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมมนุษย์. กรุงเทพฯ: วี. บี.
บุ๊คเซ็นเตอร์ ประตู 2 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต). (2546). พุทธธรรม ฉบับปรับปรุงและขยายความ. (พิมพ์ครั้งที่ 10) กรุงเทพฯ:
สหธรรมิก.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2549). กรรมและนรกสวรรค์สำหรับคนรุ่นใหม่. (พิมพ์ครั้งที่ 13)
กรุงเทพฯ: สหธรรมิก.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2535). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราช
วิทยาลัย เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ. กรุงเทพฯ: มหาจุฬา
ลงกรณราชวิทยาลัย.