การศึกษาการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1

Main Article Content

อัจฉราพร กรึงไกร

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพ  ปัญหา และแนวทางแก้ปัญหาการบริหารงาน                           ตามหลักธรรมาภิบาลของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา  เขต 1  วิธีดำเนินการวิจัย  มี 2 ขั้นตอน  คือ  1) ศึกษาสภาพและปัญหาการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของโรงเรียน  กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้อำนวยการโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1 จำนวน 127 คน   ซึ่งใช้วิธีการสุ่มแบบง่าย เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถามประมาณค่า 5 ระดับ  สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล  ได้แก่  ค่าเฉลี่ย  และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 2) ศึกษาแนวทางแก้ปัญหาการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของโรงเรียน  กลุ่มตัวอย่าง  คือ ผู้เชี่ยวชาญ  จำนวน 18 คน   ซึ่งใช้วิธีการสุ่มแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถามประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล  ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และ        ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

                ผลการวิจัยพบว่า   1) โรงเรียนมีสภาพการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาล ของโรงเรียน  การปฏิบัติภาพรวมอยู่ในระดับมาก   ทั้ง 10  ด้าน  ด้านที่มีการปฏิบัติอยู่ในอันดับสูงสุดคือ  ด้านหลักนิติธรรม  และด้านที่มีการปฏิบัติต่ำสุดคือ  ด้านหลักประสิทธิภาพ  2)  โรงเรียนมีปัญหาการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของโรงเรียน  ภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง  ทั้ง   10  ด้าน  ด้านที่มีปัญหาอยู่ในอันดับสูงสุดคือ  ด้านหลักประสิทธิภาพ และด้านที่มีปัญหาต่ำสุดคือ  ด้านหลักนิติธรรม  3)  แนวทางแก้ปัญหาการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของโรงเรียน ทั้ง 10 ด้าน ที่มี          ความเหมาะสมและความเป็นไปได้ตามเกณฑ์ที่กำหนด  จำนวนทั้งหมด 39 รายการ  ดังนี้  1) ด้านหลักประสิทธิผล 4 รายการ  2) ด้านหลักประสิทธิภาพ 4 รายการ  3) ด้านหลักการตอบสนอง 5 รายการ  4) ด้านหลักภาระรับผิดชอบ 5 รายการ  5) ด้านหลักความโปร่งใส  5 รายการ  6) ด้านหลักการมีส่วนร่วม 4 รายการ  7) ด้านหลัก        การกระจายอำนาจ 4 รายการ   8) ด้านหลักนิติธรรม 2 รายการ  9) ด้านหลักความเสมอภาค 4รายการ  และ 10) ด้านหลัก          ความเสมอภาค 2 รายการ

Article Details

Section
บทความวิจัย

References

ชรินรัตน์ แผงดี. (2550). การนำเสนอรูปแบบการบริหารด้วยหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารกลุ่มเครือข่าย

โรงเรียนบึงพิมพาสามัคคี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครสวรรค์ เขต 2.วิทยานิพนธ์ครุศาสตร

มหาบัณฑิต (การบริหารการศึกษา). นครสวรรค์ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.

ถ่ายเอกสาร

ธีระ รุญเจริญ. (2550). การบริหารโรงเรียนยุคปฏิรูปการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ : ข้าวฟ่าง.

ประเสริฐศักดิ์ แก้วหนองแสง (2557). แนวทางดำเนินการบริหารจัดการตามหลักธรรมาภิบาลของโรงเรียน

มัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษในจังหวัดยโสธร สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 28.

วิทยานิพนธ์ ครุศาสตรมหาบัณฑิต (การบริหารการศึกษา). อุบลราชธานี : บัณฑิตวิทยาลัย

มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี. ถ่ายเอกสาร.

ภาวิณี ชินคำ. (2548). รูปแบบการบริหารงานด้วยหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา

สังกัดสำนักงานสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เขตพื้นที่การศึกษานครสวรรค์ เขต

. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. นครสวรรค์ : สถาบันราชภัฏนครสวรรค์. ถ่ายเอกสาร.

รัตนาภรณ์ ส่งเสริม. (2557). การบริหารโรงเรียนตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัด

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 4. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต

(การบริหารการศึกษา). อุบลราชธานี : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี. ถ่าย

เอกสาร.

วันเพ็ญ พานพิกุล. (2552). การบริหารจัดการโดยใช้หลักธรรมาภิบาล กรณีศึกษาโรงเรียนชุมชนวัด

ปราสาท อำเภอป่าโมก จังหวัดอ่างทอง. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหาร

การศึกษา, มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1. (2556). รายงานประจำปี 2555.

ค้นเมื่อ 12 กันยายน 2556, จาก http://www.aya1.go.th/.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2549). แนวปฏิบัติงานการจัดการศึกษาของสถานศึกษา

นิติบุคคลในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา. กรุงเทพฯ : ผู้แต่ง.

________. (2551). แผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ 2552. กรุงเทพฯ : ผู้แต่ง.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ. (2552). คู่มือการจัดระดับการกำกับดูแลองค์การภาครัฐตาม

หลักธรรมาภิบาลของการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี (Good Governance Rating).

กรุงเทพฯ : ผู้แต่ง.

สุรพงษ์ ปัญญาอุดมกุล. (2552). การบริหารงานวิชาการโดยใช้หลักธรรมาภิบาลเป็นฐาน : กรณีศึกษา

โรงเรียนขุนควรวิทยาคม อำเภอปง จังหวัดพะเยา. การศึกษาอิสระ ครุศาสตร มหาบัณฑิต

(การบริหารการศึกษา). เชียงราย : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย. ถ่ายเอกสาร.