แนวทางการลดต้นทุนโลจิสติกส์ในการผลิตหัวมันสำปะหลังสด กรณีศึกษาชุมชนบ้านหนองกก ตำบลทัพราช อำเภอตาพระยา จังหวัดสระแก้ว

Main Article Content

กุลบัณฑิต แสงดี

Abstract

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและวิเคราะห์ปัญหาด้านโลจิสติกส์ รวมทั้งหาแนวทางในการลดต้นทุนโลจิสติกส์ในการผลิตหัวมันสำปะหลังสดของชุมชนบ้านหนองกก ตำบลทัพราช อำเภอตาพระยา จังหวัดสระแก้ว คณะผู้วิจัยทำการศึกษาปัญหาด้านโลจิสติกส์ในการผลิตมันสำปะหลังสดจากเกษตรกร ปีการเพาะปลูก พ.ศ.2556 – 2557 โดยแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ 1) เก็บข้อมูลสภาพทั่วไปในการผลิตมันสำปะหลังสด ปัญหาอุปสรรค และต้นทุนกิจกรรมโลจิสติกส์ โดยใช้แบบสอบถามกับเกษตรกรทั่วไป จำนวน 237 ราย และ 2) ประเมินความสูญเปล่าในการผลิตมันสำปะหลังสด โดยการใช้แบบสอบถามกับเกษตรกรผู้มีประสบการณ์ในการเพาะปลูกมากกว่า 20 ปี จำนวน 5 ราย จากนั้น นำข้อมูลมาวิเคราะห์ความสูญเปล่าโดยใช้แนวคิดความสูญเปล่า 7 ประการ ผลปรากฏว่า ปัญหาความสูญเปล่าที่ส่งผลกระทบต่อต้นทุนของเกษตรกรมากที่สุด คือ ความสูญเปล่าด้านการขนส่งด้วยคะแนน 4.25 ซึ่งเกิดจาก 1)กระบวนการเคลื่อนย้าย(การจัดหา) และ2)การขนส่งหัวมันสำปะหลังสดไปขาย รองลงมา คือ ความสูญเปล่าจากกระบวนการทำงานที่ไม่มีประสิทธิภาพ คณะผู้วิจัยจึงใช้เทคนิค Eliminate Combine Rearrange Simplify (ECRS) เข้ามาประยุกต์ใช้เพื่อหาแนวทางในการลดต้นทุนโลจิสติกส์ พบว่า เกษตรกรจะต้องมีการรวมกลุ่มในการสั่งซื้อวัตถุดิบเพื่อลดต้นทุนการจัดหาที่มีค่าขนส่งหลายรอบ ซึ่งจะสามารถเพิ่มอำนาจในการต่อรองกับผู้ขายวัตถุดิบในการขอส่วนลดจากทางผู้ขายหรือการขนส่งสินค้ามาส่งให้ถึงบ้าน ทำให้สามารถลดต้นทุนรวมในการผลิตหัวมันสำปะหลังสดลง 816 บาทต่อไร่ หรือ คิดเป็น 23.98 เปอร์เซ็นต์ 

Article Details

Section
บทความวิจัย

References

กุลบัณฑิต แสงดี และธนัญญา วสุศรี. 2554. การศึกษาและวิเคราะห์โลจิสติกส์ขาเข้ากรณีศึกษาอุตสาหกรรมผักกาดดองกระป๋อง. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท บัณฑิตวิทยาลัยการจัดการและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี พระจอมเกล้าธนบุรี.

คงเดช ทรงแสง. 2552. โครงสร้างต้นทุนค่าขนส่งรถบรรทุก. (สืบค้นเมื่อ 20 ตุลาคม 2557) Available from: http://logisticscorner.com/index.php?option=com_content&view=article&id=1401:2009-11-28-10-26-07&catid=36:transportation&Itemid=90.

ปารเมศ ชุติมา. 2551. แนวทางการลดขั้นตอนกระบวนการทำงานในหน่วยงานรัฐวิสาหกิจด้านการขนส่งมวลชนและขนส่งสินค้า. วารสารรามคำแหงฉบับวิศวกรรมศาสตร์. ปีที่ 2. ฉบับที่ 2. หน้าที่ 19-24.

การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย (ปตท.). 2557. รายงานราคาขายปลีกน้ำมัน ปี 2557. (สืบค้นเมื่อ 20 ตุลาคม 2557) Available from: http://www.pttplc.com/TH/Media-Center/Oil-Price/pages/Bangkok-Oil-Price.aspx.

พงษ์ชัย อธิคมรัตนกุล. 2550. โลจิสติกส์ ก้าวย่างประเทศไทยในกระแสโลกาภิวัตน์. กรุงเทพมหานคร: สุขภาพใจ.

วิทยา สุหฤทดำรง. 2546. แบบจำลองอ้างอิงการดำเนินงานโซ่อุปทาน: ลอจิสติกส์และการจัดการโซ่อุปทาน อธิบายได้ง่ายนิดเดียว. ซีเอ็ดยูเคชั่น. กรุงเทพฯ.

สํานักงานคณะกรรมการกํากับการซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้า. 2554. รายงานผลการศึกษาสินค้าเกษตรประเภท มันสำปะหลัง. กลุ่มทํางานศึกษาและวิเคราะห์สินค้าเกษตรประเภทมันสําปะหลัง สํานักงานคณะกรรมการกํากับการซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้า.

สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.). 2552. ความสูญเปล่าทั้ง 7 ประการ (7 wastes).(สืบค้นเมื่อ 19 มีนาคม 2557) Available from: http://www.stks.or.th/blog/?p=911.

SCOR Version 6.1. 2004. Supply-Chain Operation Reference-Model. Supply-Chain Council Pittsburgh.