การรับรู้การบริหารเชิงกลยุทธ์ของครูโรงเรียนสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่

Main Article Content

ธนภร จิตธำรงสุนทร
พัชรีวรรณ กิจมี

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการรับรู้การบริหารเชิงกลยุทธ์ของครูโรงเรียนสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ ประชากรที่ใช้ใน

การวิจัยครั้งนี้ ได้แก่  ครูโรงเรียนสันกำแพง จำนวน 100  คน  และกลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการสัมภาษณ์เชิงลึก  จำนวน  8  คน  ประกอบด้วย ครูในกลุ่มสาระการเรียนรู้ละ  1 คน ซึ่งมีวิธีการคัดเลือกจากตัวแทนกลุ่มสาระการเรียนรู้  โดยแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มผู้มีอายุราชการมาก กลุ่มผู้มีอายุราชการน้อย และกลุ่มอัตราจ้าง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามการรับรู้การบริหารเชิงกลยุทธ์ของครูโรงเรียนสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความถี่ ร้อยละ  ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  และการสัมภาษณ์เชิงลึก  วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา  ผลการวิจัย พบว่า 

           ส่วนใหญ่ครูมีการรับรู้การบริหารเชิงกลยุทธ์อยู่ในระดับมาก   มีเพียงด้านเดียว  คือ   ด้านปลูกจิตสำนึกให้บุคลากรรักในสถาบัน

ของตนเอง  มีการรับรู้การบริหารเชิงกลยุทธ์อยู่ในระดับมากที่สุด  เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน  พบว่า  ด้านยกระดับผลสัมฤทธิ์ของนักเรียน

ให้สูงกว่าค่าเฉลี่ยระดับ ประเทศ เพื่อส่งเสริมความเป็นเลิศของนักเรียนตามศักยภาพ  ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด   คือ ส่งนักเรียนเข้าร่วมแข่งขันทักษะทางวิชาการทุกรายวิชา ด้านศูนย์พัฒนาวิชาชีพครูและบุคลากรทางการศึกษา Teacher in Service Training Center (TIC)   ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด   คือ  ส่งเสริมการจัดทำผลงานทางวิชาการเพื่อการเลื่อนวิทยฐานะ   ด้านพัฒนาแหล่งเรียนรู้/สิ่งแวดล้อมให้สะอาด สวยงาม

และมีความทันสมัย  ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ  พัฒนาห้องสมุดให้มีความสะอาด สวยงามและทันสมัย  ด้านการพัฒนาเชิงระบบโดยใช้ระบบแผนนำ ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ จัดทำคู่มือการประเมินตนเองและบุคลากรโดยให้รายงานคุณภาพทุกปี  ด้านประสานงานกับกลุ่มเครือข่าย เพื่อการพัฒนาโรงเรียน ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ จัดประชุมเครือข่ายผู้ปกครองอย่างต่อเนื่อง  ด้านส่งเสริมคุณธรรม  จริยธรรมน้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง  ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ จัดพิธีไหว้ครู ประจำปี  ด้านปลูกจิตสำนึกให้บุคลากรรักในสถาบันของตนเอง ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ จัดงานมุทิตาจิตให้แก่ครูเกษียณอายุราชการในแต่ละปี  ด้านปลูกฝังพฤติกรรมที่ดีและระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน  ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ เยี่ยมบ้านนักเรียน

Article Details

Section
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2548). การประกันคุณภาพการศึกษา. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.

. (2552). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551.กรุงเทพฯ:

กระทรวงศึกษาธิการ.

จำเนียร ช่วงโชติ. (2526). จิตวิทยาการรับรู้และเรียนรู้. กรุงเทพฯ : รุ่งศิลป์การพิมพ์.

ธงชัย สันติวงษ์. (2538). การบริหารเชิงกลยุทธ์. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.

ประโชค ชุมพล. (2536). การบริหารเชิงกลยุทธ์และนโยบายธุรกิจ. กรุงเทพฯ: ผู้จัดการ.

ประสาร มาลากุล ณ อยุธยา. (2546). ความคิดสร้างสรรค์ : พรสวรรค์ที่พัฒนาได้. กรุงเทพฯ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์. (2553). หลักการบริหารวิชาการ. กรุงเทพฯ: พิมพ์ดี.

มนเสฏฐ ประชาศิลป์ชัย. (2555). คุณภาพชีวิตในการทำงาน จิตลักษณะ และการถ่ายทอดทางสังคมในองค์การกับความมุ่งมั่น

ทุ่มเทของพนักงาน : กรณีศึกษา พนักงานบริษัทเอกชนแห่งหนึ่ง. วิทยานิพนธ์ วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สถาบันบัณฑิต

พัฒนบริหารศาสตร์.

มนู เมืองมุงคุณ. (2552). สภาพการจัดทำแผนกลยุทธ์ในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษาสกลนคร เขต 3.

วิทยานิพนธ์ ครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

เมตต์ เมตต์การุณ์จิต. (2553). การบริหารจัดการศึกษาแบบมีส่วนร่วม. กรุงเทพฯ : บุ๊ค พ้อยท์.

รวิชญุฒม์ ทองแม้น. (2554). กระบวนการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ของโรงเรียนแกนนำ

ยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 33. สุรินทร์: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 33.

ระเด่น ทักษณา. (2544). ถึงเวลาที่ต้องคิดแบบพรุ่งนี้ = Tomorrow mind. กรุงเทพฯ: การประชาสัมพันธ์และโฆษณา,ชมรม.

โรงเรียนสันกำแพง. (2544). รายงานการประเมินคุณภาพภายนอกสถานศึกษา ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน จากสำนักงานรับรอง

มาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา. เชียงใหม่: กลุ่มแผนงานและประกันคุณภาพ โรงเรียนสันกำแพง.

. (2555). รายงานผลการดำเนินงานตามโครงการพัฒนาวิชาชีพครูและบุคลากรทางการศึกษา ประจำปีการศึกษา

โรงเรียนสันกำแพง. เชียงใหม่: ศูนย์พัฒนาวิชาชีพครูและบุคลากรทางการศึกษา โรงเรียนสันกำแพง.

_______. (2557). คู่มือแผนปฏิบัติการประจำปีโรงเรียนสันกำแพง ประจำปีการศึกษา 2557. เชียงใหม่ : กลุ่มแผนงานและ

ประกันคุณภาพ โรงเรียนสันกำแพง.

. (2557). รายงานผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ประจำปีการศึกษา 2557 โรงเรียนสันกำแพง. เชียงใหม่: กลุ่มแผนงานและ

ประกันคุณภาพ โรงเรียนสันกำแพง.

. (2557). สรุปผลการดำเนินโครงการเสริมสร้างความร่วมมือจากภาคีเครือข่ายร่วมพัฒนาโรงเรียน ประจำปี การศึกษา 2557. เชียงใหม่: กลุ่มบริหารงานบุคคล โรงเรียนสันกำแพง.

. (2557). สรุปผลการดำเนินงานการปฏิบัติงานของบุคลากร (Self Assessment Report : (SAR) ประจำปี

การศึกษา 2557 โรงเรียนสันกำแพง. เชียงใหม่: กลุ่มแผนงานและประกันคุณภาพ โรงเรียนสันกำแพง.

วลินดา นิรันต์เรือง. (2555). การศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายที่มีต่อการใช้บริการห้องสมุด

เทโอฟาน โรงเรียนอัสสัมชัญศรีราชา. ชลบุรี: โรงเรียนอัสสัมชัญศรีราชา.

วิลาสินีย์ บุญเรือง. (2549). กลยุทธ์การสื่อสารในโครงการพัฒนาเยาวชนตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียงของธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน). วิทยานิพนธ์ ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุธี ประจงศักดิ์. (พ.ค. – ต.ค. 2554). การศึกษากระบวนการพัฒนาวิทยฐานะครูชำนาญการไปสู่ตำแหน่งวิทยฐานะครูชำนาญการ

พิเศษ. วารสารการศึกษาและการพัฒนาสังคม 7(1): 57-67.

แสงสุรีย์ คำตุ้ย. (2556). การศึกษาแรงจูงใจที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมในงานประกันคุณภาพการศึกษา ของบุคลากรสำนักทะเบียนและประเมินผล มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. เชียงใหม่: สำนักทะเบียนและประมวลผล มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

อรัญญา ก้องกังวาลไกล. (2557). ความสัมพันธ์ระหว่างระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนกับคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียนในโรงเรียนบ้านแม่หงานหลวง อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์ ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น.