การสื่อสารของผู้บริหารสถานศึกษาในการดำเนินงานโรงเรียนของกลุ่มเครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษาแม่แตง 1 อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่

Main Article Content

เสาวนีย์ กูณะกูง

Abstract

การวิจัยเรื่อง  การสื่อสารของผู้บริหารสถานศึกษาในการดำเนินงานโรงเรียนของกลุ่มเครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษาแม่แตง 1 อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการสื่อสารของผู้บริหารสถานศึกษาในการดำเนินงานโรงเรียนของกลุ่มเครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษาแม่แตง 1   อำเภอแม่แตง   จังหวัดเชียงใหม่  ประชากรที่ใช้ในการตอบแบบสอบถามครั้งนี้ได้แก่ครู จำนวน 93 คน ในปีการศึกษา 2557  ส่วนกลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการสัมภาษณ์เชิงลึก คือ ครูในโรงเรียนทั้ง 11 โรงเรียน     โรงเรียนละ 1 คน  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็น แบบสอบถามเกี่ยวกับการสื่อสารของผู้บริหารสถานศึกษาในการดำเนินงานโรงเรียน เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความถี่  ร้อยละ  ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  และการสัมภาษณ์เชิงลึก วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา  ผลการวิจัยพบว่า 

การสื่อสารของผู้บริหารสถานศึกษาในการดำเนินงานโรงเรียนของกลุ่มเครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษาแม่แตง 1 อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ พบว่า โดยรวมและรายด้านผู้ตอบแบบสอบถามมีความคิดเห็นว่าผู้บริหารมีการสื่อสารในทางปฏิบัติมาก  เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน  พบว่า  (1) การบริหารงานวิชาการ  การสื่อสารที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ การสื่อสารแบบหลีกเลี่ยง    การสื่อสารที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ การสื่อสารแบบตั้งรับ (2) การบริหารงานงบประมาณ  การสื่อสารที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ การสื่อสารแบบเสมอภาคและการสื่อสารแบบหลีกเลี่ยง  ส่วนการสื่อสารที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ การสื่อสารแบบตั้งรับ (3) การบริหารงานบุคคล  พบว่าการสื่อสารที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ การสื่อสารแบบรวบรัด ส่วนการสื่อสารที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ การสื่อสารแบบเสมอภาค  และ (4) การบริหารงานทั่วไป  การสื่อสารที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ การสื่อสารแบบควบคุม ส่วนการสื่อสารที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ การสื่อสารแบบมีโครงสร้าง

Article Details

Section
บทความวิจัย

References

ธร สุนทรายุทธ. (2534). หลักการและทฤษฎีทางบริหารการศึกษา. กรุงเทพฯ: เนติกุลการพิมพ์.

นพพงษ์ บุญจิตราดุลย์. (2534). หลักการบริหารการศึกษา. กรุงเทพฯ: บริษัทบพิธการพิมพ์.

นริศรา หอมละออ. (2552). บทบาทผู้นำกับการสื่อสารในองค์การ: กรณีศึกษาโครงการส่งเสริมสุขภาพกลุ่มโรงเรียนกำแพงแสน 2 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐมเขต 1. วิทยานิพนธ์ ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหิดล.

ยุพาพร ทองอินทร์. (2555). ความคิดเห็นเกี่ยวกับบรรยากาศการสื่อสารในองค์กรของพนักงานโรงแรมโมแวนพิค รีสอร์ท แอนด์ สปา กะรนพีช ภูเก็ต. วิทยานิพนธ์ ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร.

รังสรรค์ ประเสริฐศรี. (2548). พฤติกรรมองค์การ (Organizational Behavior). กรุงเทพฯ : ธรรมสาร.

รังสาด จันทรวิสูตร์. (2548). การศึกษาความคิดเห็นของผู้บริหารและครูเกี่ยวกับการติดต่อสื่อสารในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขต พื้นที่การศึกษาสระบุรี.วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

วรินธร กาญจนระวีกุล. (2541). ความสอดคล้องระหว่างแบบภาวะผู้นำตามสถานการณ์ของผู้บริหารโรงเรียนกับระดับวุฒิภาวะ ของครูตามทฤษฎีของเฮอร์เซย์และบลันชาร์ดกับความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของครูในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานประถมศึกษาจังหวัดสุพรรณบุรี. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร.

ศิริพร พงศ์ศรีโรจน์. (2543). การบริหารและพฤติกรรมองค์การ. (พิมพ์ครั้งที่ 2).กรุงเทพฯ: บรรณกิจ.

สมยศ นาวีการ. (2536). การบริหาร: Management. กรุงเทพฯ: ดอกหญ้า.

สาธิต วิมลคุณารักษ์ และประยงค์ เนาวบุตร. (2546). ประสบการณ์วิชาชีพประกาศนียบัตรบัณฑิตทางการบริหารศึกษา. กรุงเทพมหานคร:มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.

เสนาะ ติเยาว์. (2541). การสื่อสารในองค์การ. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 2. (2556). รายงานการปฏิบัติงานของกลุ่มเครือข่ายพัฒนาคุณภาพ การศึกษาแม่แตง 1. เชียงใหม่: กลุ่มเครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษาแม่แตง 1.

อรพรรณ มีวงศ์อุโฆษ. (2553). รูปแบบการสื่อสารและความพึงพอใจต่อการสื่อสารในองค์การของพนักงานบริษัท เคมสตาร์ ชิปปิ้ง จำกัด. วิทยานิพนธ์วารสารศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

อรุณ รักธรรม. (2522). หลักมนุษยสัมพันธ์กับการบริหาร. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.