การพัฒนาทุนทางสังคมเพื่อสร้างชุมชนเข้มแข็ง

Main Article Content

สุปราณี จันทร์ส่ง

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพทั่วไปการพัฒนาทุนทางสังคมเพื่อสร้างชุมชนเข้มแข็ง 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการพัฒนาทุนทางสังคมที่สร้างชุมชนเข้มแข็ง และ 3) เพื่อเสนอแนวทางการปรับปรุงปัจจัยที่มีผลต่อการพัฒนาทุนทางสังคมเพื่อสร้างชุมชนเข้มแข็ง การวิจัยนี้เป็นแบบผสานวิธีประกอบด้วยการวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการวิจัยเชิงปริมาณเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 444 คน จากผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในเขตจังหวัดนครนายก และจังหวัดสระบุรี โดยสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิและการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 4 ระดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสถิติการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน การวิจัยเชิงคุณภาพดำเนินการโดยผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 34 คน จากกลุ่มเป้าหมาย 7 กลุ่มคือ (1) ผู้นำสภาวัฒนธรรมจังหวัด (2) ปราชญ์ชาวบ้าน (3) พระผู้อาวุโส (4) หมอพื้นบ้าน (5) อาสาสมัคร (6) กำนันดีเด่น และ (7) ผู้ใหญ่บ้านดีเด่น เครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย การศึกษาเอกสารและทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง การสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม และการสัมภาษณ์เชิงลึก ที่เลือกโดยวิธีเจาะจง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้วิธีอุปมานวิเคราะห์และการตีความ

ผลการวิจัยพบว่า1) สภาพทั่วไปการพัฒนาทุนทางสังคมเพื่อสร้างชุมชนเข้มแข็ง พบว่า โดยรวมอยู่ระดับมาก โดยที่ด้านภูมิคุ้มกันให้ชุมชนของการพัฒนาทุนทางสังคมที่อยู่ในระดับสูงสุดนั้นเนื่องจาก ผู้นำทางสังคมมีบทบาทสำคัญที่สุดในการดำเนินการทุนทางสังคมทุกกิจกรรมทางสาธารณะและกระตุ้นให้ประชาชนในชุมชนมีจิตสำนึกในการพึ่งพาตนเองร่วมคิดร่วมตัดสินใจร่วมทำและร่วมรับผิดชอบในชุมชนของตนเอง ส่วนด้านระบบการเรียนรู้ของชุมชนที่อยู่ในระดับต่ำสุดนั้นเนื่องจากเจ้าหน้าที่ที่ทำหน้าที่ในศูนย์การเรียนรู้ชุมชนยังขาดความรู้ที่จะอบรมสร้างเสริมความรู้ความเข้าใจให้ประชาชนได้อย่างเหมาะสม2) ปัจจัยที่มีผลต่อการพัฒนาทุนทางสังคมที่สร้างชุมชนเข้มแข็ง ภาพรวมตัวแปรส่วนใหญ่อยู่ระดับมาก 3) แนวทางการปรับปรุงปัจจัยที่มีผลต่อการพัฒนาทุนทางสังคมเพื่อสร้างชุมชนเข้มแข็ง ซึ่งสรุปจากข้อค้นพบประกอบด้วยปัจจัย 6 ประการที่สำคัญคือ (1) การดำเนินงานต้องเป็นไปในลักษณะแบบองค์รวมโดยมีเป้าหมายหลักคือการเน้นการพัฒนาอย่างยั่งยืนให้ชุมชนสามารถพึ่งตนเองได้ (2) การดำเนินงานมีลักษณะการสร้างเครือข่ายต้องสร้างและพัฒนาเครือข่ายของสมาชิกให้เกิดขึ้นภายในชุมชน (3) ทุกกระบวนการควรมีการมีส่วนร่วมของชุมชน ในการดำเนินการพัฒนาชุมชนในทุกขั้นตอน (4) กระบวนการสร้างการเรียนรู้ควรมีการศึกษาดูงานชุมชนที่เป็นต้นแบบและมีการพัฒนาแบบพึ่งพาตนเองอย่างเข้มแข็ง (5) การพัฒนาชุมชนควรมีคณะกรรมการบริหารหรือผู้นำชุมชนที่เข้มแข็ง มีวิสัยทัศน์ในการมุ่งพัฒนาชุมชนอย่างบูรณาการ และ (6) ชุมชนควรได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานภายนอกที่มีส่วนช่วยตั้งแต่ขั้นก่อตั้ง และการพัฒนาความเข้มแข็งของชุมชนอย่างยั่งยืน

 

Article Details

Section
บทความวิจัย

References

โกวิทย์ พวงงาม. (2553). การจัดการตนเองของ ชุมชนและท้องถิ่น. กรุงเทพฯ : บพิธการพิมพ์.

กฤษ อุตตมะเวทิน. (2550). การส่งเสริมวิสาหกิจชุมชนตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โดยการ

ปฏิบัติตามพระราชบัญญัติส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน พ.ศ. 2548 กรณีศึกษาวิสาหกิจชุมชน

ในจังหวัดชุมพร. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เพ็ญประภา ภัทรานุกรม. (2010). การพัฒนาทุนทางสังคมโดยใช้ชุมชนเป็นฐาน ในชุมชนประสบภัย พิบัติสึนามิ

:กรณีศึกษา ชุมชนในพื้นที่จังหวัดพังงา. วารสารร่มพฤกษ์ ปีที่ 28 ฉบับที่ 2 กุมภาพันธ์ – พฤษภาคม 2010.

รัตนาภรณ์ ศรีพยัคฆ์. 2553. เทคนิคการประสานงาน. เอกสารความรู้ สดร. สถาบันราชานุภาพ สํานักงาน

ปลัดกระทรวงมหาดไทย.

สุชาดา จักรพิสุทธิ์ และคณะ. การศึกษาทางเลือกโลกแหงการเรียนรูนอกโรงเรียน.

กรุงเทพมหานคร : สํานักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) , 2548.

สมลักษณา ไชยเสริฐ. (2549). การพัฒนารูปแบบการมีส่วนร่วมของประชาชนในคณะกรรมการตรวจสอบ

ติดตามการบริหารงานตำรวจนครบาล. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนดุสิต.

อินทร พิชิตตานนท์และเตชพล ฐิตยารักษ์. (2547).ชุมชนเข้มแข็ง : หนทางสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน.

วารสาร เศรษฐกิจและสังคม 2547,3 (มกราคม – กันยายน) : 35.

Yamane, Taro.1973.Statistics: An Introductory Analysis.Third editio. Newyork : Harper and

Row Publication.