ยุทธศาสตร์การพัฒนาชุมชนตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
Main Article Content
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาสภาพยุทธศาสตร์การพัฒนาชุมชนตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง (2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อยุทธศาสตร์การพัฒนาชุมชนตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และ (3) เพื่อศึกษาแนวทางการปรับปรุงปัจจัยที่มีผลต่อยุทธศาสตร์การพัฒนาชุมชนตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง การวิจัยนี้เป็นแบบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพเพื่อการเก็บข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์ผู้เกี่ยวข้องกับประเด็นปัญหาที่ผู้วิจัยต้องการศึกษา รวมทั้งหมด 59 คน โดยใช้วิธีการวิเคราะห์เอกสารเนื้อหา ข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์ และใช้วิธีการวิเคราะห์อุปนัย ผลการวิจัย พบว่า 1) ยุทธศาสตร์การพัฒนาชุมชนตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง พบว่า การขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียงเป็นการเสริมสร้างพลังให้ประเทศไทยสามารถพัฒนาไปได้อย่างมั่นคง ภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์ โดยให้ความสำคัญกับการสร้างรากฐานเศรษฐกิจและสังคมให้เข้มแข็ง รักษาความสมดุลของทุนและทรัพยากรในมิติต่างๆ ตลอดจนสามารถปรับตัวพร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ได้อย่างรู้เท่าทัน 2) ปัจจัยที่มีผลต่อยุทธศาสตร์การพัฒนาชุมชนตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง พบว่า การกำหนดยุทธศาสตร์ใช้เป็นแนวทางสำหรับการดำเนินยุทธศาสตร์ด้วยการแปลงยุทธศาสตร์ไปสู่การปฏิบัติ หรือการนำยุทธศาสตร์ไปปฏิบัติจริงต่อไปพร้อมกันนี้เพื่อช่วยให้เข้าใจการวางแผนยุทธศาสตร์ของหน่วยงานนั้นในทางปฏิบัติ 3) แนวทางการปรับปรุงปัจจัยที่มีผลต่อยุทธศาสตร์การพัฒนาชุมชนตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงที่เหมาะสม พบว่า ในปัจจุบันยังคงมีลักษณะของสภาพปัญหาคล้ายคลึงกับช่วงเวลาแห่งการพัฒนาในอดีต แต่ก็มีแนวโน้มที่ยัง ส่อเค้าไปในทางก้าวหน้าและพัฒนาเข้าใกล้กับเป้าหมาย
Article Details
ลิขสิทธิ์บทความวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ห้ามนำข้อความทั้งหมดหรือบางส่วนไปพิมพ์ซ้ำ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากมหาวิทยาลัยเป็นลายลักษณ์อักษร
ความรับผิดชอบ เนื้อหาต้นฉบับที่ปรากฏในวารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ เป็นความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์บทความหรือผู้เขียนเอง ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากเทคนิคการพิมพ์
References
กรมการพัฒนาชุมชนและแผนชุมชน. (2550). มติชน. 20 เมษายน 2550 : 10.
ชาญวิทย์ โพธิ์เจริญ. (2550). การมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชนของประชาชนในเขตเทศบาลตำบลบ้านด่านนา
ขาม อ.เมือง จ.อุตรดิถต์. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์
มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์.
ธนวรรธน์ พลวิชัย. (2550). ฟื้นองค์ความรู้ ฟื้นความเชื่อมั่น ฟื้นความพอเพียง. ใน: เอกสารการสัมมนาวิชาการ
ประจำปี ครั้งที่ 7 คณะ เศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย. กรุงเทพฯ.
ปรีดิยาธร เทวกุล. (2550). นโยบายรัฐบาลเกี่ยวกับการเสริมสร้างข้าราชการมืออาชีพและคุณธรรมในราชการ.
วารสารข้าราชการ. (3), 46.
ไพศาล เนาวะวาทอง. (2551). การจัดการชุมชนเศรษฐกิจพอเพียงกรณีศึกษาหมู่บ้านคำปลาหลายตำบลบ้านดง
อำเภออุบลรัตน์ จังหวัดขอนแก่น. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการสิ่งแวดล้อม
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
พจนา เอื้องไพบูลย์. (2546). การพัฒนารูปแบบกระบวนการเรียนรู้ในชุมชนเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน : การศึกษา
แบบพหุกรณี. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษาจุฬาลงกรณ์
มหาวิทยาลัย.
วาสนา ศรีนวลใย. (2551). การดำเนินงานพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง: กรณีศึกษาบ้านนากหมู่ 5 ตำบล
ฉลอง อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต. ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาการพัฒนา
มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต.
สกาวเดือน โพธิ์พันธ์. (2551). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับทัศนคติต่อการปฏิบัติตามวิธีการทำเกษตรไร้สารพิษ
ของเกษตรกรทำนา ใน เขตอำเภอบางน้ำเปรี้ยว จังหวัดฉะเชิงเทรา. กรุงเทพฯ :
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
ไสว เจริญศรี. (2551). แนวทางการขับเคลื่อนปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในระดับหมู่บ้านบ้านน้ำดิบตำบลหนอง
ปลิง อำเภอเมืองกำแพงเพชร จังหวัดกาแพงเพชร. วิทยานิพนธ์สาขาการพัฒนา. มหาวิทยาลัยราชภัฏ กำแพงเพชร.
สอางค์ วงศ์วรรธนะโชติ. (2550). บทบาทของนักพัฒนาชุมชน ในการนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในการ
ปฏิบัติงาน: กรณีศึกษาจังหวัดพระนครศรีอยุธยา. กรุงเทพฯ: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
สิรินภา กิจเกื้อกูล. (2550). การพัฒนารูปแบบการสอนที่ส่งเสริมการบูรณาการหลักปรัชญเศรษฐกิจ พอเพียงสู่
การจัดการเรียนรู้ของนิสิตครูหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครู. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร. 13 (3) : 113-126.