รูปแบบโครงสร้างความสัมพันธ์เชิงสาเหตุขององค์ประกอบที่ส่งผลต่อ ประสิทธิผลการบริหารการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี
Main Article Content
Abstract
การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาประสิทธิผลและองค์ประกอบที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี 2) สร้างและยืนยันรูปแบบโครงสร้างความสัมพันธ์เชิงสาเหตุขององค์ประกอบที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี และ3) เสนอแนวทางการใช้รูปแบบในการบริหารการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี ประชากรกลุ่มเป้าหมาย คือ ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 421 คน จากแหล่งข้อมูล คือ สถาบันอาชีวศึกษาทั่วประเทศ จำนวน 421 แห่ง มีการตรวจสอบและพัฒนารูปแบบโดยผู้ทรงคุณวุฒิและผู้เชี่ยวชาญ ด้านการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี ด้านการวัดผล ประเมินผล และด้านผู้ประกอบการ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม และเก็บตัวอย่างได้ จำนวน 297 แห่ง เป็นอัตราการตอบกลับ (Response Rate) คิดเป็นร้อยละ 70.6 การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา และการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (Confirmatory Factor Analysis: CFA) โดยใช้โปรแกรม LISREL 9.2 ผลจากการวิเคราะห์ข้อมูล 1) องค์ประกอบที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี มี 3 องค์ประกอบ ได้แก่ การบริหารจัดการระบบทวิภาคี ความร่วมมือ และการจัดการเรียนการสอน ซึ่งมีความสัมพันธ์กันมาก และทุกองค์ประกอบ ส่งผลโดยตรงต่อประสิทธิผลการบริหารการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี 2) โมเดลการวิเคราะห์มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (χ 2= 82.876, df = 48, P-value = 0.0013, GFI = 0.963, AGFI = 0.925, χ 2/ df = 1.726) แสดงว่าโมเดลองค์ประกอบที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์อยู่ในเกณฑ์ดี (Byme, 1998) 3) แนวทางการใช้รูปแบบในการบริหารการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี ตามองค์ประกอบ 3 ด้าน คือ ด้านการบริหารจัดการระบบทวิภาคี ได้แก่ การพัฒนา; รูปแบบการเรียนการสอน มาตรฐานการอาชีวศึกษา และการนิเทศ ติดตามผลการฝึกทักษะและการเรียนรู้ ด้านความรวมมือ ได้แก่ การพัฒนา; การสนับสนุนของรัฐบาล งบประมาณและทรัพยากร และการพัฒนาระบบทวิภาคี ด้าน การจัดการเรียนการสอน ได้แก่ การพัฒนา; ด้านหลักสูตร ครูผู้สอน การใช้สื่อและกิจกรรม และการวัดและประเมินผล
Article Details
ลิขสิทธิ์บทความวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ห้ามนำข้อความทั้งหมดหรือบางส่วนไปพิมพ์ซ้ำ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากมหาวิทยาลัยเป็นลายลักษณ์อักษร
ความรับผิดชอบ เนื้อหาต้นฉบับที่ปรากฏในวารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ เป็นความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์บทความหรือผู้เขียนเอง ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากเทคนิคการพิมพ์
References
จรัญ ชัยทิพย์. (2545). การจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีของวิทยาลัยเทคนิคของ
นครศรีธรรมราช. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรอุตสาหกรรมมหาบัณฑิต สาขาวิชา
การบริหารอาชีวศึกษา สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.
เฉลิมศักดิ์ นามเชียงใต้. (2541). แนวการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี. อ้างใน ศูนย์ส่งเสริม
และพัฒนาอาชีวศึกษาภาคเหนือ, 2555.
พระราชบัญญัติการอาชีวศึกษา พุทธศักราช 2551. (2551). การจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี.
สืบค้นจาก http://www.vec.go.th.
ยงยุทธ แฉล้มวงษ์. (2555). ไฮไลท์แรงงานไทยในปี 2555. สืบค้นจาก
http://www.v-cop.net/file/ธปท.
สิริมนต์ นฤมลสิริ. (2557). กลยุทธ์การบริหารงานวิชาการของวิทยาลัยเทคนิค
สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต
สาขาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร.
สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. (2556). ยุทธศาสตร์เร่งรัดพัฒนาอาชีวศึกษา.
สืบค้นจาก http://www.kycec.ac.th/document/Plan.docx.
Byrne, B. M. (1998). Structural Equation Modeling with LISREL, PRELIS and SIMPLIS:
Basic Concepts, Applications and Programming. Mahwah, New Jersey.
Deming, W. Edwards. (1986). Out of the Crisis. MIT Center for Advanced Engineering
Study. ISBN 0-911379-01-0.
Malhotra, N. K. (1996). Marketing Research: An vocational applied orientation.
Singapore: Prentice-Hall, Inc.
Von Bertalanffy, L. (1956). General System Theory: General Systems. Yearbook of
the Society for the Advancement of General System Theory. 1: 1-10.