แนวทางการบริหารจัดการการวิจัยความหลากหลายทางชีวภาพ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์

Main Article Content

สุพจน์ ทรายแก้ว

Abstract

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางและพัฒนาระบบบริหารจัดการการวิจัยความหลากหลายทางชีวภาพของมหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ โดยมีกลุ่มเป้าหมาย ได้แก่คือ อาจารย์ นักวิจัยมหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ เคยได้รับทุนอุดหนุนการวิจัยชุดโครงการวิจัยความหลากหลายทางชีวภาพ และ/หรือที่มีความสนใจในการวิจัยทางด้านการวิจัยความหลากหลายทางชีวภาพ มีดำเนินการคือ 1.วิเคราะห์SWOT ระบบบริหารจัดการการวิจัยเพื่อหาแนวทางพัฒนา 2. จัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาตามรายประเด็น  ซึ่งได้ดำเนินการโดยสถาบันวิจัยและพัฒนาสัญจรกับทุกคณะ และเสวนากลุ่มย่อยตัวแทนคณะ และผู้บริหาร การเสวนาแลกเปลี่ยนแนวทางในการบริหารงานวิจัยความหลากหลายทางชีวภาพกับเครือข่ายสถาบันวิจัยและพัฒนา ระหว่างมหาวิทยาลัยราชภัฏ 7 แห่ง พบว่ามี3 ประเด็นหลักที่ควรเร่งดำเนินการคือ 1) มีประเด็นวิจัยมุ่งเป้าเพื่อให้มีงานวิจัยที่มีทิศทางเดียวกัน 2) พัฒนาระบบบริหารงานวิจัยผ่านระบบสารสนเทศและแนวทางการจัดสรรทุนการวิจัย  3) พัฒนาศักยภาพนักวิจัยด้านความหลากหลายทางชีวภาพ จากนั้นสถาบันวิจัยได้ดำเนินการจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาตามรายประเด็น  ดังนี้ 1) กำหนดประเด็นวิจัยมุ่งเป้าร่วมกับคณะ และดำเนินการผ่านศูนย์นิเวศน์ชานเมือง2) พัฒนาระบบบริหารงานวิจัย 2 ส่วน คือ ฐานข้อมูลนักวิจัย  และการเผยแพร่วารสารผ่านระบบสารสนเทศ  สำหรับด้านการจัดสรรทุนการวิจัย สถาบันวิจัยและพัฒนาได้ปรับเปลี่ยนกระบวนการจัดสรรทุน  ประเภท ทุน และขั้นตอนการพิจารณาและติดตามงานวิจัย นำเสนอแนวทางต่อผู้บริหารและประชาสัมพันธ์ให้หน่วยงานต่างๆทราบโดยทั่วกัน 3) พัฒนาศักยภาพนักวิจัยด้านความหลากหลายทางชีวภาพ มีการพัฒนาต่อเนื่องผ่านกระบวนการพัฒนาโจทย์วิจัย  ลงฝึกปฏิบัติการวิจัยชุมชนที่จังหวัดปทุมธานี และ จังหวัดสิงห์บุรี  พัฒนาการเขียนข้อเสนอโครงการ  และการบูรณาการวิจัยความหลากหลายทางชีวภาพร่วมกับการเรียนการสอน และการผลการถอดบทเรียนการจัดการความรู้กระบวนการวิจัยด้านความหลากหลายทางชีวภาพ ผลการประเมินผลแนวทางการพัฒนาการบริหารจัดการการวิจัยความหลากหลายทางชีวภาพ ของผู้ที่มีส่วนร่วมในกิจกรรมพบว่า มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก

Article Details

Section
บทความวิจัย

References

เกรียงไกรแก้วตระกูลพงษ์สมพงษ์เจษฎาธรรมสถิตยุพดีฟูประเสริฐและยิ่งยงไพสุขศานติวัฒนา.2549.

การพัฒนาระบบฐานข้อมูลเพื่อการบริหารจัดการและใช้ประโยชน์ความหลากหลายทางชีวภาพของ

ทรัพยากรพืช.รายงานการประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ครั้งที่ 44.

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพ.

วิสุทธิ์ใบไม้. 2014. การศึกษาและการวิจัยความหลากหลายทางชีวภาพเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นอย่างยั่งยืน

Rajabhat J. Sci. Humanit. Soc. Sci. 15(2): 1-11.

สำนักบริหารโครงการส่งเสริมการวิจัยในอุดมศึกษาและพัฒนามหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติสำนักงาน

คณะกรรมการการอุดมศึกษา. 2557ก. ชุดโครงการวิจัยความหลากหลายทางชีวภาพ

กลุ่มมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลและสถาบันเทคโนโลยีปทุมวันปีงบประมาณ 2554-2556. โรงพิมพ์กรุงเทพ (1984) จำกัด.