ประสิทธิผลนโยบายมลพิษอุตสาหกรรมของไทย

Main Article Content

ไพฑูรย์ สิงห์ไข่มุกข์
ชาญชัย จิตรเหล่าอาพร
สมาน งามสนิท
บุญเรือง ศรีเหรัญ

Abstract

การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาบทบาทของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการการจัดการ นโยบายมลพิษอุตสาหกรรมของไทย 2. เพื่อศึกษาการนำนโยบายมลพิษอุตสาหกรรมของไทยไปปฏิบัติ 3. เพื่อ ศึกษาปัญหาและอุปสรรคเกี่ยวกับนโยบายมลพิษอุตสาหกรรมของไทย 4. เพื่อเสนอแนวทางการ จัดการมลพิษ อุตสาหกรรมของไทยให้มีประสิทธิผล การวิจัยนี้เป็นแบบผสานวิธีประกอบด้วยการวิจัยเชิงปริมาณและวิจัยเชิง คุณภาพ วิเคราะห์ข้อมูลโดยวิธีวิเคราะห์เชิงเนื้อหาประกอบด้วยการแปลความ ตีความและวิเคราะห์ความ

               ผลการวิจัยพบว่า : 1. บทบาทของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการการจัดการนโยบายมลพิษ อุตสาหกรรมของไทย อยู่ในระดับปานกลางทั้งหมด 2. การนำนโยบายมลพิษอุตสาหกรรมของไทยไปปฏิบัติ นโยบายมีความชัดเจนและ มีมาตรฐานการควบคุมมลพิษที่เหมาะสม ความสามารถของเจ้าหน้าที่มีความรู้ ความสามารถในระดับปานกลาง เจ้าหน้าที่เข้าไปตรวจสอบและสั่งดำเนินคดีกับผู้ที่ละเมิดกฎระเบียบข้อบังคับ ของนโยบายมลพิษอยู่ในระดับที่ น้อย ภาคประชาชนมีส่วนร่วมในการจัดการมลพิษร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อยู่ในระดับปานกลาง ภาครัฐ และภาคเอกชนให้ความรู้และข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับมลพิษอุตสาหกรรมแก่ประชาชนอยู่ในระดับน้อย 3. ปัญหาและอุปสรรคเกี่ยวกับนโยบายมลพิษอุตสาหกรรม การใช้ช่องว่างในการปฏิบัติเพื่อหาประโยชน์ทั้งภาครัฐและนักการเมือง รวมถึงผู้มีอิทธิพลในท้องถิ่น 4. ข้อเสนอแนะเพื่อจัดการมลพิษอุตสาหกรรมของไทยให้มีประสิทธิผล 4.1 ภาครัฐควรต้องพัฒนาและปรับปรุงคุณภาพของบุคคลากรที่ทำงานในระบบ              การ ติดตามตรวจสอบภาคอุตสาหกรรมให้ปฏิบัติตามกฏระเบียบ 4.2 ภาครัฐต้องออกระเบียบให้ผู้ประกอบการ ประ เภท 3 ทำนโยบายคุณภาพการจัดการสิ่งแวดล้อม ในโรงงาน 4.3 เพิ่มอัตราโทษกับผู้ที่ฝ่าฝืนระเบียบการจัดการ มลพิษอุตสาหกรรมให้สูงขึ้น 4.4 รัฐต้องลงทุนทำระบบบำบัดมลพิษส่วนกลางที่มีประโยชน์ร่วมกันอย่างพอเพียง 4.5 สภาอุตสาหกรรมและภาคเอกชนควรจัดกิจกรรม ให้คำปรึกษาและพัฒนาเชิงลึกในการใช้เทคโนโลยีสะอาด และเทคโนโลยีสีเขียวแก่โรงงานกลุ่มเป้าหมายร่วมกับ ภาครัฐสร้างความร่วมคิดร่วมมือร่วมใจร่วมในการจัดการ มลพิษอุตสาหกรรมของไทยให้มีประสิทธิผลต้องมี ความร่วมมือกันระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชนและภาคประชา ชน ดังองค์ประกอบ Effectiveness of Pollution Management is Equal to Public, Private, People and Participation) = 4P’s

Article Details

Section
บทความวิจัย

References

ทศพล ทรรศนกุลพันธ์. (2555). การเมืองเรื่องสิ่งแวดล้อมเมื่อสิทธิของประชาชนปะทะแนวนโยบายพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติ: กรณีมาบตาพุต. เชียงใหม่:มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

เพ็ญโฉม แซ่ตั้ง และวลัยพร มุขสุวรรณ. (2546). การประเมินผลกระทบทางสุขภาพจากการพัฒนานิคมอุตสาหกรรมบาตาพุดและพื้นที่ใกล้เคียง. นนทบุรี: สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข.

ภิรมย์ ศรีธาตุ. (2546). ปัญหามลพิษอุตสาหกรรมทางอากาศและน้ำเสียจากโรงงาน ในเขตอุตสาหกรรม มาบตาพุด จังหวัดระยอง. ปัญหาพิเศษรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยบูรพา.

สุกรานต์ โรจนไพรวงศ์. (2544). สถานการณ์สิ่งแวดล้อมไทย. กรุงเทพฯ: มูลนิธิโลกสีเขียว.

สุธาวัลย์ เสถียรไทย. (2546). ธรรมาภิบาลด้านสิ่งแวดล้อมอุตสาหกรรม. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.).