การศึกษาการบริหารหลักสูตรสถานศึกษาของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาปทุมธานี เขต 1
Main Article Content
Abstract
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพ ปัญหา และแนวทางแก้ไขปัญหาการบริหารหลักสูตรสถานศึกษาของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 1 มีการดำเนินการ 2 ขั้นตอน คือ 1. ศึกษาสภาพและปัญหา ซึ่งได้ข้อมูลจากการส่งแบบสอบถามไปยังประชากร คือ ผู้อำนวยการโรงเรียน จำนวน 103 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วยแบบสอบถามสถานภาพของผู้ตอบแบบสอบถาม เป็น แบบสอบถามสภาพการบริหารหลักสูตรของโรงเรียน และแบบสอบถามปัญหาการบริหารหลักสูตรสถานศึกษา การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์ด้วยค่าร้อยละ และปัญหาที่ได้จากแบบสอบถาม ใช้วิธีวิเคราะห์เนื้อหา 2. ศึกษาแนวทางแก้ไขปัญหา ได้ข้อมูลจากการสัมภาษณ์รองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 1 และศึกษานิเทศก์ชำนาญการและชำนาญการพิเศษที่มีความรู้ และมีประสบการณ์ที่เกี่ยวข้องกับการบริหารหลักสูตรมาอย่างน้อย 10 ปี ซึ่งผู้วิจัยทำการเลือกแบบเจาะจง จำนวน 10 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วยประเด็นคำถามประกอบการสัมภาษณ์ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพการบริหารหลักสูตรสถานศึกษาของโรงเรียนที่ปฏิบัติมากที่สุด ได้แก่ การกำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าหมาย ของการจัดการศึกษาของสถานศึกษา การวางแผนส่งเสริมและสนับสนุนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้และกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน การจัดปัจจัยและสภาพแวดล้อมต่างๆภายในมีการปฏิบัติร้อยละ 100 สภาพการบริหารหลักสูตรสถานศึกษาของโรงเรียนที่ปฏิบัติน้อยที่สุด ได้แก่ การศึกษาความต้องการของผู้เรียน ชุมชน หรือท้องถิ่น 2. ปัญหาการบริหารหลักสูตรสถานศึกษาของโรงเรียนที่พบมากที่สุด ได้แก่ ครูมีจำนวนไม่ครบตามเกณฑ์ของจำนวนนักเรียน จัดการเรียนรู้ไม่ตรงวิชาเอกและมีภาระงานนอกเหนือจากการจัดการเรียนรู้มาก และ 3. แนวทางแก้ไขการบริหารหลักสูตรสถานศึกษาของโรงเรียนจากปัญหาที่พบมากที่สุด คือ ใช้ระบบการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม และจัดประชุมเชิงปฏิบัติการเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้โดยเน้นการวิเคราะห์หลักสูตรให้กับครูทุกคน
Article Details
ลิขสิทธิ์บทความวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ห้ามนำข้อความทั้งหมดหรือบางส่วนไปพิมพ์ซ้ำ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากมหาวิทยาลัยเป็นลายลักษณ์อักษร
ความรับผิดชอบ เนื้อหาต้นฉบับที่ปรากฏในวารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ เป็นความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์บทความหรือผู้เขียนเอง ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากเทคนิคการพิมพ์
References
กรมวิชาการ. (2545). แนวทางการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 . กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.
ธงชัย ช่อพฤกษา. (2548). การบริหารหลักสูตรของสถานศึกษาการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กำแพงเพชร : มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร.
ธนศักดิ์ เปาริก. (2550). การศึกษาสภาพและปัญหาการบริหารหลักสูตรสถานศึกษาของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1 และ เขต 2. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.
นพเก้า ณ พัทลุง. (2550). การพัฒนาหลักสูตร : หลักการและแนวปฏิบัติ. สงขลา : เทมการพิมพ์.
สมนึก ธาตุทอง. (2548). เทคนิคการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา. กรุงเทพฯ : เพชรเกษมการพิมพ์.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2549). การวิจัยทางการบริหารทางการศึกษา. นนทบุรี : โรงพิมพ์เจริญผล.
สุนีย์ ภู่พันธ์. (2546). แนวคิดพื้นฐานการสร้างและการพัฒนาหลักสูตร. เชียงใหม่ : โรงพิมพ์แสงศิลป์.