คุณลักษณะของบัณฑิตสาขาการบัญชีในความต้องการของสถานประกอบการในเขตจังหวัดมุกดาหาร
Main Article Content
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาคุณลักษณะที่พึงประสงค์บัณฑิตสาขาวิชาการบัญชีของผู้ประกอบการในจังหวัดมุกดาหาร ตามทักษะทางวิชาชีพ 5 ด้าน ได้แก่ ทักษะทางปัญญา ทักษะทางวิชาการเชิงปฏิบัติและหน้าที่งาน ทักษะทางคุณลักษณะเฉพาะบุคคล ทักษะทางการปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและ การสื่อสาร และทักษะทางการบริหารองค์กรและการจัดการทางธุรกิจ ใช้แบบสอบถามเก็บข้อมูลจากสถานประกอบการในพื้นที่จังหวัดมุกดาหาร จำนวน 279 ราย วิเคราะห์ข้อมูลด้วย สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า (1) ลักษณะสถานประกอบการในเขตจังหวัดมุกดาหาร ส่วนใหญ่มีรูปแบบการจดทะเบียนแบบห้างหุ้นส่วนจำกัด ทุนจดทะเบียนต่ำกว่าหรือเท่ากับ 5 ล้านบาท ลักษณะการประกอบกิจการเป็นธุรกิจพาณิชยกรรม ระยะเวลาในการดำเนินงาน 5-10 ปี จำนวนพนักงานทั้งหมดในปัจจุบันต่ำกว่า 50 คน และรายได้ต่อปี 30-50 ปี และ (2) คุณลักษณะบัณฑิตสาขาวิชาการบัญชีตามความต้องการของสถานประกอบการในเขตจังหวัดมุกดาหาร ในภาพรวมทั้ง 5 ด้าน อยู่ในระดับมากเรียงลำดับดังนี้ ด้านทักษะการบริหารองค์กรและการจัดการธุรกิจ ด้านทักษะวิชาการเชิงปฏิบัติและหน้าที่ ด้านทักษะทางปัญญา ด้านทักษะทางคุณลักษณะเฉพาะบุคคล และทักษะการปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและการสื่อสาร
This study aims to study the characteristics Graduates in Accounting by Enterprises in Mukdahan province in five aspects: professional skills, intellectual skills, practical and functional academic skills, personal characteristics skill, Interpersonal and communication skills and organizational management and business management skills. In a study, data are obtained from 279 corporation with the authorities in the province statistical methods used to analyze the data of the research is descriptive statistics; frequency, percentage, average, and standard deviation
The results found that (1) the corporation in the province, mostly, have sum of registered capital less than or equal to 5 million baht. A Characteristic of Business is business commerce with 5-10 year of operation. The current number of employees are under 50 and 30-50 years of annual income, and (2) In 5 overviews of Accounting Graduates by Enterprises’ Requirement in Mukdahan province are organizational management and business management skills, skills, organizational and business management. Practical and functional academic skills, Intellectual skills, personal characteristics skill and Interpersonal and communication skills
Article Details
ลิขสิทธิ์บทความวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ห้ามนำข้อความทั้งหมดหรือบางส่วนไปพิมพ์ซ้ำ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากมหาวิทยาลัยเป็นลายลักษณ์อักษร
ความรับผิดชอบ เนื้อหาต้นฉบับที่ปรากฏในวารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ เป็นความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์บทความหรือผู้เขียนเอง ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากเทคนิคการพิมพ์
References
กรมพัฒนาธุรกิจการค้า. (2553). พระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ.2543, 22 กันยายน 2559.
http://www.dbd.go.th/mainsite/index.php?id=1740
กรมสรรพากร. (2554). ความรู้เกี่ยวกับการสอบบัญชีตรวจสอบและรับรองงบการเงิน, 1 ตุลาคม 2559. http://www.rd.go.th/publish/14719.0.html
กรรณิการ์ ลำลือ. (2553). คุณสมบัติของนักบัญชีที่พึงประสงค์ของสถานประกอบการในเขตจังหวัดเชียงใหม่. การค้นคว้าแบบอิสระ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 29 กันยายน 2559. http://library.com.cmu.ac.th/digital_collection/etheses/fulltext.php?id=22552&word= %B9%D1%A1%BA%D1%AD%AA%D5&check_field=_All_&select_study=&condition=2&s earch=9&philosophy=&master=#
กฤตพัส บุญสิริ. (2552). แนวทางในการผลิตนักบัญชีตามความต้องการของสำนักงานบัญชี กรณีศึกษา: จังหวัดภูเก็ต. มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต: ภูเก็ต.
กลุ่มส่งเสริมการเรียนการสอนและประเมินผลสำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา, กระทรวงศึกษาธิการ. (2548). คุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์รับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.
คมกฤช ภาวศุทธินนท์ และสุภาภรณ์ คงสวัสดิ์. (2554). การบัญชีบริหาร: บทบาทสำคัญในฐานะเครื่องมือ สำหรับผู้นำองค์กรยุคใหม่. วารสารนักบริหาร, 28(2), 24-27.
ฉัตรฤดี จองสุรียภาส. (2553). นักบัญชียุคใหม่ในภาวะวิกฤตเศรษฐกิจ. วารสารกรมพัฒนาธุรกิจการค้า, 33(2), 4-7.
บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องตน พิมพครั้งที่ 7. กรงเทพฯ: สุวีริยาสาสน.
ประนอม ตั้งปรีชาพาณิชย์. (2555). คุณลักษณะและคุณสมบัติของพนักงานบัญชีที่พึงประสงค์ตามทัศนะคติ ของสถานประกอบการ ศึกษาในกรณีสถานประกอบการในนิคมอุตสาหกรรม จ.สมุทรสาคร, 29 กันยายน 2559. http://www.bus.rmutt.ac.th/journal/pdf/vol7-no2-12.pdf
พสุ เดชะรินทร์. (2556). นักบัญชีกับบทบาทที่เปลี่ยนแปลงไป. วารสารจดหมายข่าวสภาวิชาชีพบัญชี, 57 (13), 10-20.
สภาวิชาชีพบัญชีในพระบรมราชูปถัมภ์. (2550). มาตรฐานการศึกษาระหว่างประเทศ: บทนำสู่มาตรฐาน การศึกษาระหว่างประเทศ, 19 กันยายน 2559. http://www.fap.or.th/st_eduit.php
. (2550). มาตรฐานการศึกษาระหว่างประเทศสำหรับผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี ฉบับที่ 3 เรื่อง ทักษะ ทางวิชาชีพ, 30 มีนาคม 2560. http://fap.or.th.a33.readyplanet.net/images/column_1359010350/3.pdf
สรศักดิ์ ธนันไชย. (2551). การวัดทักษะทางวิชาชีพของนักบัญชี ในเขตนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือ จังหวัด ลำพูน. การค้นคว้าอิสระ บธ.ม (สาขาการบัญชี), มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
สำนักข่าวกรมประชาสัมพันธ์. (2557). รายงานเขตเศรษฐกิจพิเศษจังหวัดมุกดาหารประตูทองสู่ AEC, 25 กันยายน 2559,
http://thainews.prd.go.th/website_th/news/news_detail/TNRPT5710130010007.
สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2551). แผนพัฒนาการศึกษาระดับอุดมศึกษา ฉบับที่ 11 (พ.ศ.2555-2559), 17 กันยายน 2559.
http://www.mua.go.th/users/bpp/developplan/download/higher_edu_plan/PlanHEdu112555-2559.pdf.
. (2551). มาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี สาขาวิชาการบัญชี พ.ศ.2553. กรุงเทพมหานคร: สหายบล็อกการพิมพ์.
สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าจังหวัดมุกดาหาร. (2559). รายงานการให้บริการจดทะเบียนธุรกิจและอำนวย ความสะดวกทางการค้า ประจำเดือนกรกฎาคม 2559, 18 กันยายน 2559.
http://www.dbd.go.th/more_news.php?cid=36
โสภาพรรณ ไชยพัฒน์. (2555). ความคิดเห็นเกี่ยวกับคุณลักษณะผู้ทำบัญชีที่พึงประสงค์ของผู้ประกอบการ ในจังหวัดภูเก็ต. การค้นคว้าแบบอิสระ บธ.ม (สาขาการบัญชี), มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต.
อัจจิมา สมบัติปัน. (2554). คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของบัณฑิตสาขาวิชาการบัญชีจากนายจ้างในอำเภอเมือง นครสวรรค์. การค้นคว้าแบบอิสระ บธ.ม (สาขาการบัญชี), มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
Yamane, T. (1973). Statistic: An introduction analysis. (3rd ed). New York: Harper & Row.