การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดอย่างมีเหตุผลสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 3

Main Article Content

สรญา วัชระสังกาศ

Abstract

                  การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมาย 1) เพื่อพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดอย่างมีเหตุผล และ 2) เพื่อประเมินประสิทธิภาพของหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดอย่างมีเหตุผลสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 3 การดำเนินการวิจัย แบ่งออกเป็น 2 ระยะ ประกอบด้วย ระยะที่ 1 การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรม มี 3 ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นที่ 1 การศึกษาข้อมูล แนวคิด ทฤษฎี ขั้นที่ 2 การสร้างและพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรม ขั้นที่ 3 การทดลองใช้หลักสูตรฝึกอบรม ระยะที่ 2 การประเมินประสิทธิภาพและการปรับปรุงหลักสูตรฝึกอบรม กลุ่มตัวอย่างได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านยางคำ อำเภอวานรนิวาส สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 3 ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2559 จำนวน 25 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย การตรวจสอบหลักสูตรฝึกอบรมใช้วิธีการประเมินโดยผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 คน มุ่งเน้นการตรวจสอบความเหมาะสมและความสอดคล้องส่วนประกอบของหลักสูตร ผลการวิจัยพบว่า 1) หลักสูตรฝึกอบรมเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดอย่างมีเหตุผลสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มี 4 องค์ประกอบหลัก คือ 1.1) จุดมุ่งหมายของหลักสูตร 1.2) เนื้อหา 1.3) กระบวนการฝึกอบรม และ 1.4) การวัดและประเมินผล 2) ประสิทธิภาพของหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดอย่างมีเหตุผล พบว่า 1) ความรู้ ความเข้าใจ ด้านการคิดอย่างมีเหตุผลของนักเรียน หลังฝึกอบรมสูงกว่าก่อนฝึกอบรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 2) ทักษะการคิดอย่างมีเหตุผลของนักเรียนอยู่ในระดับดีมาก 3) ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อหลักสูตรฝึกอบรมอยู่ในระดับมากที่สุด 

 

                 The purposes of this research were: 1) to development  the Training Curriculum on The Logical Thinking Skills and 2) To evaluate the effectiveness of The Logical Thinking Skills for grade 3 students under The Sakon Nakhon Primary Education Service Area Office 3. The processing research was divided into two phases ; phase 1 step 1) study the documents and the related research, step 2) construct the gathering tools of the training curriculum, step 3) apply the training curriculum, and phases 2, training curriculum improvement. The sample from students in vocational education. Banyangkom School Wanonniwat District, under The Sakon Nakhon Primary Education Service Area Office 3 in semester 1 academic year 2016 selected 25 people. Training course checking was operated with five experts. The findings of the research that : 1) The Training Curriculum on The Logical Thinking Skills for grade 3 students under The Sakon Nakhon Primary Education Service Area Office 3 included 1.1) course objectives, 1.2) content structures, 1.3) training process and 1.4) training measurement and evaluation. 2) The efficacy of the development  the Training Curriculum for were found that 1) The comprehension of Logical Thinking Skills for students after training was higher than before training with statistically significant increase at .01, 2) The Logical Thinking Skills for students were at the highest level, 3) Satisfaction of students with The training Curriculum was at excellent level.

Article Details

Section
บทความวิจัย
Author Biography

สรญา วัชระสังกาศ

นักศึกษาหลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต  สาขาวิชานวัตกรรมการบริหารการศึกษา  คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎสกลนคร  จังหวัดสกลนคร     

 

References

ชูศรี สุวรรณ. (2552). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมพัฒนาการคิดอย่างมีวิจารณญาณในการดำเนิน

ชีวิตแบบเศรษฐกิจพอเพียง สำหรับนักศึกษาครู มหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือตอนบน. วิทยานิพนธ์ ปริญญาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.

ถาดทอง ปานศุภวัชร. (2550). เอกสารคำสอน หลักสูตรและการจัดการเรียนรู้. สกลนคร:

มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

บุญเลี้ยง ทุมทอง. (2553). การพัฒนาหลักสูตร. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ประสาท เนืองเฉลิม. (2553). หลักสูตรการศึกษา. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

พิสณุ ฟองศรี. (2549). การประเมินทางการศึกษา:แนวคิดสู่การปฏิบัติ. พิมพ์ครั้งที่ 2.

กรุงเทพมหานคร: เทียมฝ่าการพิมพ์.

พัชรี กลัยา. (2551). ความสามารถในการคิดเชิงเหตุผลของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมเกม

การศึกษามิติสัมพันธ์. วิทยานิพนธ์ การศึกษามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

วาโร เพ็งสวัสดิ์. (2551). วิธีวิทยาการวิจัย. กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาส์น.

ศศิธร ขันติธรางกูร. (2550). หลักสูตรและการพัฒนาหลักสูตร. เลย: มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย.

สุทิน ศิรินคร. (2554). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมนักศึกษาฝึกหัดครูเพื่อพัฒนาความสามารถใน

การจัดทำโครงงานจิตอาสา ด้วยวิธีการจัดการความรู้. วิทยานิพนธ์ คุรุศาสตรมหาบัณฑิต,

มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร

สุมณฑา สิงห์ชา. (2557). ความสามารถในการคิดอย่างมีเหตุผลของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2

โดยใช้วิธีการแบบเปิด (Open Approach). ปริญญานิพนธ์ ศษ.ม.ขอนแก่น, มหาวิทยาลัยขอนแก่น

สุวิทย์ มูลคำ และคณะ. (2554). การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้านการคิด. กรุงเทพมหานคร:

อี เคบุ๊คส์

สมคิด บางโม. (2551). เทคนิคการฝึกอบรมและการประชุม. กรุงเทพมหานคร: วิทยพัฒน์.

สมใจ กงเติม. (2554). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการสอนคิด

วิเคราะห์สำหรับครู สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วิทยานิพนธ์ การศึกษาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยนเรศวร.

สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงาน. (2553). กรอบการนำทักษะการคิดสู่การพัฒนา

คุณภาพผู้เรียน. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 3 สำนักงาน. (2559). รายงานการประเมิน

คุณภาพการศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อการประกันคุณภาพผู้เรียน ปีการศึกษา 2558. สกลนคร :

สกลนครการพิมพ์.

อารี พรหมเล็ก. (2553). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมนักศึกษาวิชาชีพครูเพื่อพัฒนาความสามารถ

การจัดประสบการณ์ที่เสริมสร้างความฉลาดทางอารมณ์ สำหรับเด็กปฐมวัย. วิทยานิพนธ์

ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร.

อุไรวรรณ หลินศรี. (2556). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมการทำวิจัยในชั้นเรียน สำหรับครูศูนย์

การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดสกลนคร. วิทยานิพนธ์ ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต,

มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

Kerr, J. F. (1989). Changing the a Curriculum. London: University of London Press.

Nicholls, A. (1978). Developing a Curriculum. London: Cox and Wyman.

Tyler, R. W. (1989). Basic principle of curriculum an instruction. Chicago: University of

Chicago Press.