การใช้สารสนเทศของเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับวิชาชีพในเขตกรุงเทพมหานคร
Main Article Content
Abstract
การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาพฤติกรรมการใช้สารสนเทศและปัญหาการใช้สารสนเทศของเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับวิชาชีพ 2) เปรียบเทียบการใช้สารสนเทศและปัญหาการใช้สารสนเทศของเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับวิชาชีพ กลุ่มตัวอย่างใช้การสุ่มแบบหลายขั้นตอน จำนวน 460 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ ได้แก่ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวและการทดสอบรายคู่เชฟเฟ่ ผลการวิจัยพบว่า (1) เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับวิชาชีพมีการใช้สารสนเทศโดยรวมในระดับมาก จำแนกเป็นรายด้าน พบว่ามีการใช้สารสนเทศด้านกฎหมายและข้อบังคับและความปลอดภัยมากที่สุด (=4.23) รองลงมาเป็นการใช้สารสนเทศด้านมาตรฐานอาชีวอนามัยและความปลอดภัย (=4.05) (2) เปรียบเทียบการใช้สารสนเทศของเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับวิชาชีพ จำแนกตามประสบการณ์การทำงาน ระดับการศึกษา และประเภทของสถานประกอบการ พบว่า มีการใช้สารสนเทศแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (3) ปัญหาการใช้สารสนเทศ โดยรวมอยู่ในระดับมาก ได้แก่ แหล่งสารสนเทศตั้งอยู่ในทำเลห่างไกล (=3.37) เนื้อหาสารสนเทศไม่ทันสมัย (=3.13) ไม่มีเวลาในการค้นหาสารสนเทศ (=3.06) (4) เปรียบเทียบปัญหาการใช้สารสนเทศ พบว่าเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับวิชาชีพที่มีประสบการณ์การทำงานต่างกันมีปัญหาการใช้สารสนเทศ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในด้านเนื้อหาสารสนเทศ ส่วนเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในสถานประกอบการที่ต่างกันมีปัญหาการใช้สารสนเทศแตกต่างกันด้านแหล่งสารสนเทศ รูปแบบสารสนเทศ และเทคโนโลยีสารสนเทศ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
This research aimed (1) to study information use by occupational safety officers in Bangkok; (2) to compare information use by these officers; (3) to study the problems of information use by these officers; and (4) to compare the problems of information use by these safety officers.
This research was a survey study and the population consisted of 11,645 occupational safety officers in professional level in Bangkok. Multi-stage random selection for samples was used. The sample size was 406. The instruments were questionnaires. The statistics used in this study were percentage, mean, standard deviation, t-test and F-test.
The research findings can be summarized as follows. The occupational safety officers in Bangkok (1) use information at the high level, and when classified by each aspect, the most used were legal and safety regulations (=4.23) and health and environment standards in the workplace (=4.05). (2) Comparing information use by work experience, educational background and type of business, significant differences were found overall. (3) The problems of information use were at the high level, including lack of access to information sources (=3.37), no updated contents (=3.13) and lack of time for searching (=3.06). (4) Comparing the problems of information use by work experience, it was found that there were overall significant differences in contents, but regarding the problems of information use by type of business, statistical significance was found at .05 for information sources, information forms, and information technology.
Article Details
ลิขสิทธิ์บทความวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ห้ามนำข้อความทั้งหมดหรือบางส่วนไปพิมพ์ซ้ำ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากมหาวิทยาลัยเป็นลายลักษณ์อักษร
ความรับผิดชอบ เนื้อหาต้นฉบับที่ปรากฏในวารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ เป็นความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์บทความหรือผู้เขียนเอง ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากเทคนิคการพิมพ์
References
ชัยวัฒน์ ทิพย์ลมัย. (2543). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมความปลอดภัยในการทำงานของเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับวิชาชีพในโรงงานอุตสาหกรรม เขตจังหวัดฉะเชิงเทรา. (วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (รัฐศาสตร์) บัณฑิตวิทยาลัย ไม่ได้ตีพิมพ์). มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพมหานคร.
ณัฐพงศ์ ปานศิริ. (2558). การศึกษาพฤติกรรมความปลอดภัยในการทำงานของเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับวิชาชีพในโรงงานอุตสาหกรรม เขตจังหวัดสุราษฎร์ธานี.(วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจ ไม่ได้ตีพิมพ์). มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, สงขลา.
ณัฐวัตร มนต์เทวัญ. (2542). โรคผิวหนังจากการทำงาน. กรุงเทพมหานคร: สถาบันความปลอดภัยในการทำงาน กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน.
นันทยา พุฒแก้ว (2558). ประเด็นสำคัญเกี่ยวกับแหล่งสารสนเทศ ใน ประมวลสาระชุดวิชาสัมมนาการจัดการสารสนเทศ หน่วยที่ 6-10. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
ลลิตา กรองแก้ว. (2551). การปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับวิชาชีพในจังหวัดปทุมธานี ตามกฎกระทรวง เรื่องกำหนดมาตรฐานในการบริหารและจัดการด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2549. (วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (สาธารณสุขศาสตร์) สาขาวิชาเอกบริหารกฎหมายการแพทย์และสาธารณสุข บัณฑิตวิทยาลัยไม่ได้ตีพิมพ์). มหาวิทยาลัยมหิดล, กรุงเทพมหานคร.
สินีนาถ เอื้อจิตอนันกุล. (2548). การใช้สารสนเทศบนเครือข่ายอินทราเน็ตของวิศวกรและช่างเทคนิค: กรณีศึกษา กลุ่มบริษัทยูคอม. (วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์). มหาวิทยาลัยรามคำแหง, กรุงเทพมหานคร.
สุดาว เลิศวิสุทธิ์ไพบูลย์. (25460). กฎหมายเกี่ยวกับอาชีวอนามัยและความปลอดภัย ในเอกสารการสอนชุดวิชากฎหมายเกี่ยวกับสาธารณสุขสิ่งแวดล้อมและนิติเวชศาสตร์ หน่วย 6. นนทบุรี: สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
อรอุมา สืบกระพัน (2552). การใช้สารสนเทศบนเว็บไซต์ด้านวิศวกรรมไฟฟ้าของวิศวกรการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค. (วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์). มหาวิทยาลัยรามคำแหง, กรุงเทพมหานคร.
Susan, E. Hahn & Lawrence, R. Murphy. (2008). A short scale for measuring safety climate. Safety Science. 46 1047-1066.
Taylor, R.S. (1991). Information Use Environment. Progress in Communication Science, 10, 217-255.
Tsung-Chih Wu, Chia-Hung Lin & Sen-Yu Shiau. (2010). Predicting safety culture: The roles of employer, oerations manager and safety professional. Journal of safety Research, 41, 423-431.