การประเมินหลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาคณิตศาสตรศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง

Main Article Content

นพพร แหยมแสง

Abstract

             การวิจัยในครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อประเมินหลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาคณิตศาสตรศึกษา  โดยมีวัตถุประสงค์ประเมินความสอดคล้องของวัตถุประสงค์ของหลักสูตรกับเนื้อหาของหลักสูตร ประเมินความสอดคล้องของวัตถุประสงค์ของหลักสูตรกับโครงสร้างของหลักสูตรในด้านบริบท ปัจจัยนำเข้า กระบวนการและผลผลิต ผู้ตอบแบบสอบถามประกอบด้วย นักศึกษา จำนวน 33 คน   มหาบัณฑิต  จำนวน 48 คน   ผู้ใช้มหาบัณฑิต  จำนวน 66 คน   อาจารย์ผู้สอน  จำนวน 6 คน  ผู้ทรงคุณวุฒิด้านคณิตศาสตรศึกษา  จำนวน 3 คน 

              เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประเมินค่า 5 ระดับ และเป็นคำถามปลายเปิด ผลการวิจัยสรุปตามวัตถุประสงค์การวิจัย  ดังนี้  ด้านบริบท  วัตถุประสงค์ของหลักสูตรมีความสอดคล้องกับเนื้อหาของหลักสูตรที่ระดับมาก และวัตถุประสงค์ของหลักสูตรมีความสอดคล้องกับโครงสร้างของหลักสูตรระดับมาก  ด้านปัจจัยนำเข้า  อาจารย์ผู้สอนมีความพึงพอใจต่อคุณลักษณะของนักศึกษาโดยรวมอยู่ในระดับมาก  และนักศึกษามีความพึงพอใจต่อสิ่งสนับสนุนและสิ่งอำนวยความสะดวกของมหาวิทยาลัยโดยรวมอยู่ในระดับมาก   ด้านกระบวนการ นักศึกษามีความพึงพอใจ/การใช้ประโยชน์ของรายกระบวนวิชาโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก  ในขณะที่มหาบัณฑิตมีความพึงพอใจ/การใช้ประโยชน์ของรายกระบวนวิชาโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด  และนักศึกษามีความพึงพอใจต่ออาจารย์ผู้สอนในระดับมากที่สุด   ด้านผลผลิต  พบว่า มหาบัณฑิตมีความพึงพอใจ/การใช้ประโยชน์ของรายกระบวนวิชาต่าง ๆ อยู่ในระดับมากที่สุด  และผู้ใช้มหาบัณฑิตมีความพึงพอใจต่อคุณลักษณะในด้านต่าง ๆ ของมหาบัณฑิตโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากถึงมากที่สุด

 

                   The purpose of this study was to evaluate the Master of Education Program in Mathematics Education at the Faculty of Education, Ramkhamhaeng University.  The research objectives focused on the evaluation of the following  four components of the Program, namely, context, input, process, and product.  The evaluation of the context included 1) the congruency between the curriculum content and the curriculum objectives, and 2) the congruency between the curriculum structure and the curriculum objectives. Subjects of the study were: 33 students ; a total of 48 graduates of this program ; 66 employers of these graduates ; six instructors of the program; and three specialists in Mathematics Education.  The instrument of the study was a Likert-type questionnaire with an open-ended question at the end. The findings of the study indicated that regarding the context of the program, both the content of the curriculum and the curriculum structure were highly congruent with the curriculum objectives.  In regard to the input of the program, the instructors were satisfied with the overall students’ characteristics at a high level, and the students were also highly satisfied with the supporting services and facilities provided by the university.  With respect to the process of the program, whereas, graduates expressed their satisfaction toward such factors at the highest level.  The employers of these graduates also expressed their overall satisfaction toward the graduates’ characteristics from a high to the highest level.

               

Article Details

Section
บทความวิจัย
Author Biography

นพพร แหยมแสง

รองศาสตราจารย์  ปริญญาเอกสาขาวิชาคณิตศาสตรศึกษา  ภาควิชาหลักสูตรและการสอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2548). ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่องเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา

พ.ศ. 2558. ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 122 ตอนพิเศษ 39ง หน้า 14 – 22. กรุงเทพมหานคร.

คณะศึกษาศาสตร์ , มหาวิทยาลัยรามคำแหง. (2551). หลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชา

คณิตศาสตรศึกษา (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2551) (เอกสารอัดสำเนา).

คณะศึกษาศาสตร์ , มหาวิทยาลัยรามคำแหง. (2555). หลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชา

คณิตศาสตรศึกษา (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2555) (เอกสารอัดสำเนา).

จรรยา ดาสา, ณสวรรค์ ผลโภค, ธีรพงศ์ แสวงประดิษฐ์ และสมปรารถนา วงศ์บุญหนัก. (2553).

รายงานการวิจัยเรื่อง “การประเมินและติดตามผลหลักสูตรการศึกษามหาบัณฑิตสาขาวิทยาศาสตร์

ศึกษา (แผน ข.) มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ”. กรุงเทพมหานคร : ศูนย์วิทยาศาสตร์ศึกษา

มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

มหาวิทยาลัยบูรพา. (2558). การประเมินหลักสูตรการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนคณิตศาสตร์

คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลับบูรพา ใน งานวิจัยมหาวิทยาลัย. ชลบุรี : คณะศึกษาศาสตร์

มหาวิทยาลัยบูรพา.

สาขาวิชาวิทยาศาสตรศึกษา ภาควิชาการศึกษา (2553). “การประเมินหลักสูตรศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต

สาขาวิชาวิทยาศาสตรศึกษา ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2551” คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

สิรินภา กิจเกื้อกูล และ ธิติยา บงกชเพชร (2557) “การประเมินหลักสูตรการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชา

วิทยาศาสตร์ศึกษา ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2552 คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร” วารสาร

ศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ปีที่ 16 ฉบับที่ 1 มกราคม-มีนาคม 2557.

สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (ข). (2552). กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติพ.ศ. 2552

และแนวทางการปฏิบัติ. เอกสารแนบท้ายประกาศคณะกรรมการการอุดมศึกษา เรื่อง แนวทางการ

ปฏิบัติตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2552. กรุงเทพมหานคร.

Okyere, Prince. (2015). Curriculum Evaluation Models. Kwame University of Science and

Technology, KNUST-IDL, Graduate student. Cite 12 July 2015, from : https:www.academia.

edu/9846526/CURRICULUM EVALVATION MODELS.

Rathy, G.A. (2016). “Models of Curriculum Evaluation” (Power point) Electrical Engineering

Department, NITTR, Chennal. Retrived from : talc. Ukzn.ac. Za/Libraries/ Curriculum/model of curriculum evaluation.slfb.askx [7/11/15].

Stufflebeam, D.L., & Shinkfield, A.J. (2007). Evaluation theory, model, & application.

San Francisco, CA : Jossey-Boss.

Tyler, R.W.(1950). Basic Principle of Curriculum and Instruction: Syllabus for Education 305.

Chicago; University of Chicago Press.

Zhang, Guili and others. (2011). “Using the Context, Input, Process, and Product Evaluation

Model (CIPP) as a Comprehensive Framwork to Guide the Planning, Implementation,

and Assessment of Service-learning Programs”. Journal of Higher Education Outreach

and Engagement, (15) November 4, P 57.