รูปแบบการบริหารจัดการศึกษาโรงเรียนในสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตากเขต 2 : กรณีศึกษาอำเภออุ้มผาง
Main Article Content
Abstract
การวิจัยครั้งนี้วัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการศึกษาอุ้มผางโมเดล กรณีศึกษาอำเภออุ้มผางของโรงเรียนในสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตากเขต 2กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้บริหารโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาตาก เขต 2 ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง จำนวน 14 คน และครูผู้สอน จำนวน 56 คนได้มาโดยการสุ่มอย่างง่ายโดยการจับสลาก เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่1.แบบ.บันทึกผลการสัมภาษณ์ผลการบริหารจัดการศึกษาและ 2.แบบสำรวจความพึงพอใจที่มีต่อการบริหารจัดการศึกษาของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ตากเขต 2 : กรณีศึกษาอำเภออุ้มผาง สถิติที่ใช้ในการศึกษาคือค่าเฉลี่ย () ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D) สถิติในการเปรียบเทียบ (t-test) และค่าร้อยละ
ผลการศึกษาพบว่า
1. สภาพปัญหา ความต้องการในการบริหารงานจัดการศึกษาของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตาก เขต 2 ที่สำคัญ 5 ลำดับ คือ การคมนาคมยากลำบาก การขาดแคลนครู ครูมีการย้ายอยู่ตลอดเวลา ครูขาดความรู้และประสบการณ์ด้านการเรียนการสอนผ่านสัญญาณดาวเทียม และฐานะความเป็นอยู่ยากจนตามลำดับ
2. รูปแบบการบริหารจัดการศึกษาโรงเรียนในสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตากเขต 2 : กรณีศึกษาอำเภออุ้มผาง มี3 องค์ประกอบ ดังนี้ 1) การกำหนดเขตพื้นที่บริการ มี 3 องค์ประกอบย่อย 2) การจัดการเรียนการสอนทางไกลผ่านสัญญาณดาวเทียมมี 4องค์ประกอบย่อย และ 3) การจัดศูนย์บริการ One Stop Service มี 3 องค์ประกอบย่อย
3. ผลการทดลองทดลองใช้รูปแบบการบริหารจัดการศึกษาโรงเรียนในสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตากเขต 2 : กรณีศึกษาอำเภออุ้มผางพบว่า 1) ลดจำนวนนักเรียนลดความแออัดได้ คือ ในปีการศึกษา 2554 จำนวน 44 คน ปี 2555 จำนวน 42 คน 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2554 มีค่าเฉลี่ยสูงขึ้นจากปีการศึกษา 2553 ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ ยกเว้นกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ
4. ผลการประเมินผลการใช้รูปแบบการบริหารจัดการศึกษาโรงเรียนในสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตากเขต 2 : กรณีศึกษาอำเภออุ้มผาง ในภาพรวมปรากฏว่ามีความพึงพอใจในภาพรวมอยู่ในระดับมาก
Objective of this research were to study the management pattern studies Umphang model. A case study on the district Umphang of government schools, offices, primary education is the Tak District 2 sample Executive Government schools educational service area Office 2 County by Tak, choose a specific number of 2 people and consist of the teacher to teach 56 people in education. 1. management Results interview , case studies, model plant, Umphang, phoumphang. 2. satisfaction survey for management education by education management pattern Umphang model. Statistics used in the study is the average value (), the standard deviation (S.D) statistics in comparison (t-test), and a percentage value.
The study found that
1. the problem The requirements in the management of the Government schools education service area Office 2 Tak district primary education critical sequences are difficult 5-transportation. Shortage of teachers. The teacher is moving at all times. Teachers are lack of knowledge and experience in teaching and learning through satellite and as poor, respectively.
2. Management management pattern study of Umphang district Umphang case study model with 3 elements. 1.) defining service areas have 3 elements 2) distance learning via satellite signals has 4 Sub-elements and 3). One Stop Service Center Service arrangement with 3 sub elements.
3. the results of experimental trials model education model case study in Umphang district Umphang found that 1) reduce the number of students is congestion in the year 2554 2555 44 years, the number of people the number 42 people. 2.) the results of the biological study of the complicity of students grade 6 school year 2554 average higher academic year 2553 disciplines citizenship exclude material, learn English.
4. the results of the evaluation, a management education UmphangUmphang district case study model. Overall, it appears that the overall satisfaction level very.
Article Details
ลิขสิทธิ์บทความวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ห้ามนำข้อความทั้งหมดหรือบางส่วนไปพิมพ์ซ้ำ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากมหาวิทยาลัยเป็นลายลักษณ์อักษร
ความรับผิดชอบ เนื้อหาต้นฉบับที่ปรากฏในวารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ เป็นความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์บทความหรือผู้เขียนเอง ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากเทคนิคการพิมพ์
References
คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, สำนักงาน. (2549),รายงานผลการประเมินโครงการยกระดับคุณภาพการศึกษาโรงเรียนขนาดเล็ก, กรุงเทพมหานคร.
ไชยยศ เรื่องสุวรรณ (2553), ทฤษฎีและวิจัยทางเทคโนโลยีทางการศึกษา, ไทยวัฒนาพานิช..กรุงเทพมหานคร
วินัย ปานโท้ (2549) ,. การพัฒนาบทเรียนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
มาตราตัวสะกดชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. วารสารศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ฉบับพิเศษ.
วิโรจน์ สารรัตนะ, (2550). การบริหารการศึกษา, โรงพิมพ์ทิพยวิสุทธิ์. กรุงเทพมหานคร
ศูนย์สารสนเทศ, สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงศึกษาธิการ.(2544) สารสนเทศทาทางการศึกษา,เอกสาร
โรเนียว
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี, (2543) . รัตนประทีป บริษัท ด่านสุทธาการพิมพ์ จำกัด. กรุงเทพ:มหานคร
อรุณศรี ศรีชัย (2548). ผลของมัลติมีเดียที่พัฒนาตามแนวคอนสตรัคติวัสต์ หลักการ Meaning Ful Learning เรื่อง สารที่ใช้ในชีวิตประจำวัน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6.
Hoy,W.K. and Miskel.C.G.(2001). Educational administration. Theory.Research ,and
Practice. 6 ed. New York: Mc Gror-Hill
Rowland, P.M.(1988 ) .W the Effect of two Model of Computer-Assisted Intruction and
Individual Learning Differences on the Understanding of Science fConcept
Relationship Dissertation Abstracts International.49;780-A
บทความ-เว็บไซต์
http//www. Pcadvisor.co.uk/index.cfm/go=news.print&news=
http//www.unescobkk.org/education/ict/v2/default.asp
http://suwatchai07.spaces.live.com/Blog/cns!332B6D5C1D2B5E3E!125.entry28/1/2551 http//www.eschool.su.ac.th/admin/articleadm.php?no=7&code=y 28/1/2551