การพัฒนารูปแบบการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการศึกษาของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

Main Article Content

เพ็ญผกา กาญจโนภาส
ชาญชัย วงศ์สิรสวัสดิ์
กันต์ฤทัย คลังพหล

Abstract

             การวิจัยมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนารูปแบบการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการศึกษาของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 2) เพื่อประเมินความเป็นไปได้และความเหมาะสมของรูปแบบการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการศึกษาของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมี 2 ขั้นตอน ขั้นตอน 1 ยกร่างรูปแบบโดยนำผลจากศึกษาความต้องการจำเป็นการมีส่วนร่วม ใช้สุ่มแบบหลายขั้นตอน กลุ่มตัวอย่างคือ คณะกรรมการสถานศึกษา 376 คน เครื่องมือเป็นแบบสอบถาม มีความตรง 0.80-1.00 มีความเที่ยง 0.99 วิเคราะห์หาลำดับความสำคัญ โดยใช้สูตร PNI และศึกษาเงื่อนไขที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วม โดยเลือกแบบเจาะจง กลุ่มตัวอย่างคือ คณะกรรมการสถานศึกษา 3 โรงเรียน เครื่องมือเป็นแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง วิเคราะห์เชิงเนื้อหามายกร่าง และดำเนินการตรวจสอบรูปแบบ โดยผู้ทรงคุณวุฒิ ใช้เลือกแบบเจาะจง  ใช้การสนทนากลุ่ม วิเคราะห์เชิงเนื้อหา ขั้นตอน 2 การประเมินความเป็นไปได้และความเหมาะสมของรูปแบบ ใช้สุ่มแบบหลายขั้นตอน กลุ่มตัวอย่างคือ คณะกรรมการสถานศึกษา 359 คน วิเคราะห์สถิติพื้นฐาน

            ผลการวิจัย รูปแบบการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการศึกษาของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มี 3 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 ส่วนนำ ประกอบด้วย ชื่อรูปแบบ หลักการและเหตุผล วัตถุประสงค์ ส่วนที่ 2 ส่วนตัวแบบ ประกอบด้วย กระบวนการมีส่วนร่วม และกระบวนการบริหาร ส่วนที่ 3 เงื่อนไขที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วม และผลการประเมินความเป็นไปได้และความเหมาะสมของรูปแบบมีความเป็นไปได้และความเหมาะสมโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก

 

                The purposes were; 1) Study development of school committee participation model in administration under local government organization. 2) Study evaluated the feasibility and appropriateness  of school committee participation in administration under local  government organization. Study had 2 stages. Stage1; The draft format by used results study needs assessment.  Chosen by multi-stage random sampling. Study sample 376.Tool questionnaire, content validity 0.80-1.00,reliability0.99. Analysis priorities by pni. Study conditions affecting participation. Chosen by purposive sampling, Sample 3 schools.Tools were semi-structure interviews, analyzed content analysis, and perform format check by professional. Chosen by purposive sampling. Using focus group. Analysis content analysis. Stage 2; Studied evaluated the feasibility and appropriateness of school. Chosen multi-stage random sampling. Sample359. Statistic normal.

             Results: Stages 1; Studied format committee participation had 3 parts. Part 1 : leading had, name format, principle rationale, objective, Part2: Studied part format, participation, management. Part3: Studied Conditions affecting participation and results evaluated the feasibility and appropriateness format, the feasibility and appropriateness were overall at high levels.

  

Article Details

Section
บทความวิจัย
Author Biographies

เพ็ญผกา กาญจโนภาส

หลักสูตรครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต  สาขาวิชาการบริหารการศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฎวไลยอลงกรณ์  ในพระบรมราชูปถัมภ์  จังหวัดปทุมธานี 

ชาญชัย วงศ์สิรสวัสดิ์

อาจารย์ สาขาวิชาการบริหารการศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฎวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์  จังหวัดปทุมธานี 

กันต์ฤทัย คลังพหล

 อาจารย์ สาขาวิชาการบริหารการศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฎวไลยอลงกรณ์   ในพระบรมราชูปถัมภ์  จังหวัดปทุมธานี  

References

เก็จกนก เอื้อวงษ์. (2554). รายงานการวิจัยประเมินผลการจัดการศึกษาของเทศบาล. กรุงเทพฯ : พริก

หวานราฟฟิค จำกัด.

โกวิทย์ พวงงาม. (2554). การปกครองท้องถิ่นไทย. กรุงเทพฯ : ส. เอเชียเพรส.

จำนง แจ่มจันทรวงษ์. (2553). การพัฒนารูปแบบการบริหารระบบเครือข่ายเพื่อส่งเสริมคุณภาพ

การศึกษาในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานคร

. ปริญญานิพนธ์ กศด (การบริหารการศึกษา). กรุงเทพฯ : บัณฑิตวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ช่อเพชร เบ้าเงิน. (2553). ภาวะผู้นำ. เอกสารตำราหลักประกอบการเรียนการสอน หลักสูตรครุศาสตร

มหาบัณฑิตและดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยวไลยอลงกรณ์ ในพระบรม

ราชูปถัมภ์.

ธีระ รุญเจริญ. (2545). รายงานวิจัย เรื่อง สภาพและปัญหาการบริหารและจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานของ

สถานศึกษาในประเทศไทย. กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการศึกษาแห่งชาติสำนักนายกรัฐมนตรี.

ไพฑูรย์ สินลารัตน์. (2554). กรอบคุณวุฒิแห่งชาติ : กรณีศึกษากรอบคุณวุฒิทางการศึกษาของต่างประเทศ.

กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เมตต์ เมตต์การุณ์จิต. (2553). การบริหารจัดการศึกษาแบบมีส่วนร่วม: ประชาชน องค์การปกครองส่วน

ท้องถิ่น และราชการ. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : บุ๊ค พอยท์.

เลขาธิการสภาการศึกษาสภาการศึกษา สำนักงาน กระทรวงศึกษาธิการ. (2554). ยุทธศาสตร์การส่งเสริม

การมีส่วนร่วมทางการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ : ห้างหุ้นส่วนจำกัด วี.ที.ซี คอมมิวเคชั่น.

วิโรจน์ ผลแย้ม. (2557). การพัฒนารูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมของสำนักงานเขตพื้นที่

การประถมศึกษา. ปริญญาครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย

มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์.

วิโรจน์ สารรัตนะ. (2542). การบริหาร หลักการ ทฤษฎี และประเด็นทางการศึกษา. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์

ทิพยวิสุทธิ์.

สิริพัฒน์ ลาภจิตร. (2550). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจมีส่วนร่วมของประชาชนในการสนับสนุน

การบริหารงานองค์การบริหารส่วนตำบล อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี. วิทยานิพนธ์

ปริญญารัฐประศาสนศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์

มหาวิทยาลัย.

สมบัติ คชสิทธิ์ และคนอื่นๆ. (2558). แนวทางการจัดครุศึกษาฐานวิชาชีพครูใน “ปฎิรูปครูเพื่อปฏิรูป

ประเทศ.” งานประชุมสัมมนาวิชาการวันที่ 13-14 มกราคม 2558 มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์

ในพระบรมราชูปถัมภ์.

เสริมศักดิ์ วิศาลาภรณ์. (2545). ปัญหาและแนวโน้มเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหาร

การศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 3. นนทบุรี : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

สุวิมล ว่องวาณิช. (2558). การวิจัยประเมินความต้องการจำเป็น. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่ง

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.