การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยการจัดการเรียนรู้แบบซินดิเคทร่วมกับเทคนิค เค ดับเบิ้ลยู ดี แอล

Main Article Content

อลิศรา เพ็ชรอาวุธ อลิศรา เพ็ชรอาวุธ
เอมอร สิทธิรักษ์
อารี สาริปา

Abstract

                งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องอสมการของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ก่อนและหลังจัดการเรียนรู้แบบซินดิเคทร่วมกับเทคนิค เค ดับเบิ้ลยู ดี แอล (2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องอสมการของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 หลังจัดการเรียนรู้แบบซินดิเคทร่วมกับเทคนิค เค ดับเบิ้ลยู ดี แอล กับเกณฑ์คะแนนเฉลี่ยร้อยละ 75 (3) เปรียบเทียบทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์เรื่องอสมการของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ก่อนและหลังจัดการเรียนรู้แบบซินดิเคทร่วมกับเทคนิค เค ดับเบิ้ลยู ดี แอล และ(4) เปรียบเทียบทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์เรื่องอสมการของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 หลังจัดการเรียนรู้แบบซินดิเคทร่วมกับเทคนิค เค ดับเบิ้ลยู ดี แอล กับเกณฑ์คะแนนเฉลี่ยร้อยละ 75 กลุ่มเป้าหมายเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนโยธินบำรุง จำนวน 1 ห้อง รวม 32 คน เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบวัดทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์และแบบบันทึกการสังเกตพฤติกรรมระหว่างเรียน

                 ผลการวิจัยพบว่า (1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องอสมการของนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบซินดิเคทร่วมกับเทคนิค เค ดับเบิ้ลยู ดี แอล หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน (2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องอสมการของนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบซินดิเคทร่วมกับเทคนิค เค ดับเบิ้ลยู ดี แอล มีคะแนนหลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์คะแนนเฉลี่ยร้อยละ 75 (3) ทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์เรื่องอสมการของนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบซินดิเคทร่วมกับเทคนิค เค ดับเบิ้ลยู ดี แอล หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน และ(4) ทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์เรื่องอสมการของนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบซินดิเคทร่วมกับเทคนิค เค ดับเบิ้ลยู ดี แอล มีคะแนนหลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์คะแนนเฉลี่ยร้อยละ 75 

 

                 The objectives of this were (1) to compare mathayomsuksa 3 students learning achievement in mathematics after learning through Syndicate and KWDL technique (2) to compare mathayomsuksa 3 students achievement after learning  through Syndicate and KWDL technique with criteria 75 percent (3) to compare the problem-solving in mathematics skills of mathayomsuksa 3 students after learning  through the Syndicate and KWDL technique and (4) to compare the mathematical problem-solving skills in inequality of mathayomsuksa 3 students after learning through the Syndicate and KWDL technique criteria 75 percent. The samples were 32 mathayomsuksa 3 students in Yothinbamrung School were used as the subjects in this study during their first semester of the academic year the 2016. The research instrument were Syndicate and KWDL lesson plan, learning achievement test, mathematical  problem-solving skills and learning behavior observation form inequality.

                 The results showed that (1) the posttest scores of the mathematics learning achievement of inequality of matayomsuksa 3 students learning via Syndicate and KWDL technique after being taught were higher than those before learning, (2) the means of mathematics learning achievement of the matayomsuksa 3 students after learning through the Syndicate and KWDL was higher than the 75 percent up, (3) the posttest scores of the mathematical problem-solving skills of matayomsuksa 3 students learning via Syndicate and KWDL technique after being taught were higher than those before learning and (4) the means of the mathematical problem-solvingskills of the matayomsuksa 3 students after learning through the Syndicate and KWDL was higher than the 75 percent up.

Article Details

Section
บทความวิจัย
Author Biographies

อลิศรา เพ็ชรอาวุธ อลิศรา เพ็ชรอาวุธ

นักศึกษาหลักสูตรปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาคณิตศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช  

เอมอร สิทธิรักษ์

ประธานกรรมการที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์

อารี สาริปา

กรรมการที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์

References

จิรากร สำเร็จ. (2551). ผลการจัดการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์แบบแบ่งกลุ่มผลสัมฤทธิ์ (STAD) โดยเน้น

เทคนิค เค ดับเบิ้ลยู ดี แอล ที่มีต่อความสามารถในการสื่อสารทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่มีระดับความสามารถทางการเรียนแตกต่างกัน. ปริญญานิพนธ์ กศ.ม. (การวิจัยและสถิติทางการศึกษา), บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ทิศนา แขมมณี. (2542). การจัดการเรียนการสอนโดยยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลางโมเดลซิปปา(CIPPA Model).

วารสารวิชาการ, 2542 : 2-30.

นิรันดร์ แสงกุหลาบ. (2547). การเปรียบเทียบผลการเรียนรู้เรื่องโจทย์ปัญหาทศนิยมและร้อยละของนักเรียน

ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่จัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิค เค ดับเบิ้ลยู ดี แอล และตามแนวสสวท. วิทยานิพนธ์ศษ.ม. (หลักสูตรและการนิเทศ). นครปฐม : มหาวิทยาลัยศิลปากร.

น้ำทิพย์ ชังเกตุ. (2547). การเปรียบเทียบผลการเรียนรู้เรื่องโจทย์ปัญหาการคูณของนักเรียนชั้นประถมศึกษา

ปีที่ 4 โดยการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือกับเทคนิคSTADร่วมกับเทคนิค เค ดับเบิ้ลยู ดี แอล.วิทยานิพนธ์ศษ.ม. (หลักสูตรและการนิเทศ). นครปฐม : มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ฝ่ายวิชาการ โรงเรียนโยธินบำรุง. (2558). ผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน(O-NET) ชั้น

มัธยมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2558 โรงเรียนโยธินบำรุงฉบับที่ 5 ค่าสถิติแยกตามสาระการเรียนรู้.

วราภรณ์ กิจสวัสดิ์. (2553). การพัฒนาผลการเรียนรู้และความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาเศษส่วนของ

นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิค เค ดับเบิ้ลยู ดี แอล (Know-Want-Do-Learned). งานวิจัยในชั้นเรียน.

วัฒนาพร ระงับทุกข์. (2541). การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง. กรุงเทพฯ : เลิฟแอนด์ลิพ

เพรส.

สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ. (2558). ผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน Ordinary

National Educational Test (O-Net) [online]. แหล่งที่มา : http:// www.niets.or.th/ สืบค้นเมื่อ 28 ธันวาคม 2558.

สุนันทา สายวงศ์. (2554). ศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1

ที่เรียนวิชาสังคมศึกษาด้วยการสอนโดยใช้เทคนิคหมวกหกใบและการสอนแบบซินดิเคท. ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการมัธยมศึกษา, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

สุภรณ์ ช้างงาเนียม. (2553). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความคงทนในการเรียนรู้เรื่องความ

รู้เกี่ยวกับแผนธุรกิจ (Business Plan) วิชาการดำเนินธุรกิจขนาดย่อมโดยการสอนแบบซินดิเคทกับการสอนตามปกติ ของนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 2 คณะบริหารธุรกิจโรงเรียนเทคโนโลยีชลบุรี. รายงานวิจัยในชั้นเรียน. หน้า 20.

สันติศรี ประเสริฐ. (2557). สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. หน้า259.

อดิเรก เฉลียวฉลาด. (2550). “การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและเจตคติต่อการเรียนคณิตศาสตร์

เรื่อง โจทย์ปัญหาร้อยละ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้เทคนิค เค ดับเบิ้ลยู ดี แอล กับการสอนปกติ”. วิทยานิพนธ์ ค.ม. (หลักสูตรและการสอน). ลพบุรี : มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี.

อุษณี โลหิตยาและคณะ. (2555). ผลการจัดการเรียนรู้แบบซินดิเคทร่วมกับเทคนิค เค ดับเบิ้ลยู ดี แอล ใน

การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนการแก้โจทย์ปัญหา ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. วารสาร

บัณฑิตศึกษา, มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์.