การบริหารจัดการสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาจังหวัดสระบุรี ให้เป็นองค์กรสมรรถนะสูง

Main Article Content

วรพิชญ์ ลิขิตายน

Abstract

                งานวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันของการบริหารจัดการสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาจังหวัดสระบุรี 2) พัฒนารูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาจังหวัดสระบุรีให้เป็นองค์กรสมรรถนะสูง งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสานจากการศึกษาข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยการประยุกต์ระเบียบการวิจัยเชิงปริมาณ ใช้การทบทวนวรรณกรรมและเอกสารที่เกี่ยวข้องร่างแบบสอบถามให้ผู้เชี่ยวชาญ 5 ท่าน และนำไปทดลองใช้กับกลุ่มตัวอย่างจำนวน30คนโดยได้ค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามเท่ากับ 0.972 จากนั้นนำไปเก็บข้อมูลกับกลุ่มตัวอย่างคือบุคลากรของสถานศึกษาจำนวน 255คน แล้วได้ดำเนินประยุกต์ใช้การวิจัยเชิงคุณภาพมาประกอบกันคือ การสัมภาษณ์แบบเจาะลึก จากผู้ให้ข้อมูลที่มีประสบการณ์ด้านอาชีวะศึกษาจำนวน11คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ค่าฐานนิยม และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

   ผลการวิจัยพบว่า

   1. การบริหารจัดการสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาจังหวัดสระบุรีมีการใช้หลักการบริหารจัดการ ด้านนำองค์กร ด้านวางแผนเชิงกลยุทธ์ ด้านมุ่งเน้นผู้รับบริการและมีผู้ส่วนได้เสีย ด้านการวัดการวิเคราะห์ และการจัดการความรู้ ด้านการมุ่งเน้นทรัพยากรบุคคล ด้านการจัดการกระบวนการและด้านผลลัพธ์การดำเนินการ โดยการบริหารงานดังกล่าวมีผลต่อ ด้านประสิทธิภาพ ด้านประสิทธิพล คุณภาพการให้บริการ และการพัฒนาองค์กร

   2. รูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาจังหวัดสระบุรีให้เป็นองค์กรสมรรถนะสูงหรือHPR (High performance rcheewa) Modelประกอบด้วย นโยบายที่ดี(Good policy) บุคลากร (Personnel)การปฏิบัติงาน(Operational) การประเมินผล(Evaluation)

 

                   This quantitative and qualitative research was aimed to: 1) studying the Management of Vocational College of the Office of the Vocational Education Commission Saraburi province. 2) developing and presenting the model of Management for Vocational College of the Office of the Vocational Education Commission Saraburi to High Performance Organization. For the methods research thorough Quantitative Research method with application of Qualitative method Research. Researcher studies and reviewed to creating a questionnaire and presented to 5 specialists. The questionnaire showed Ioc= 0.6 then pre-Trial the questionnaire to 30 persons. Here, that showed confidence of questionnaire =0.972 after that the questionnaire was now used with the target group of 255 persons who related to Vocational college. In term of Qualitative method Research used field study survey method consist with community survey, non-participant observation, documentary research, in-depth interview with 11 persons who experted in vocational college management.

               Finding revealed that:

               1.The management of Vocational college of the office of the vocational education commission Saraburi province were Organization leadership, Strategy Planning, Customer Service and Stake holder, Measure Management analysis and Knowledge Management, Process management, Operation outcome, and have an affect on Government Performance ,Efficiency, Effectiveness, Service Quality, Organization Development.

               2. A model for the management of vocational college of the office of the Vocational Education Commission Saraburi province to High performance Organization or HPR (High Performance Rcheewa) Model that is appropriate to present-day situation must include 1) Good Policy 2) (Personal) 3) Operational 4) (Evaluation)

Article Details

Section
บทความวิจัย
Author Biography

วรพิชญ์ ลิขิตายน

นักศึกษา รัฐประศาสนศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี จังหวัดลพบุรี

References

ชไมพร เทือกสุบรรณ. (2553). ประสิทธิผลการนำนโยบายการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีไปปฏิบัติในกรมที่ดิน : กรณีการนำเกณฑ์การพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ (PMQA) มาปฏิบัติ. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

คณะกรรมการการอาชีวศึกษาสระบุรี. (2557). คู่มือการประเมินผลการปฏิบัติราชการ.กรุงเทพฯ : สำนักงาน กพ.

อิงสำนักงานคณะกรรมการบริหารระบบราชการ. (2553). การพัฒนาระบบบริหารจัดการภาครัฐ. สืบค้น เมษายน 2553, 2, จาก http://www.opdc.go.th/special.php? spc_id=4&content_id=153

. (2558). คู่มือการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ : เกณฑ์คุณภาพทางการบริหารจัดการภาครัฐ. กรุงเทพฯ : วิชั่นพริ๊นแอนด์ มิเดีย.

สำนักงานจัดหางานจังหวัดสระบุรี. (2556). สภาพเศรษฐกิจจังหวัดสระบุรี. สืบค้น มกราคม 10, 2559, จาก http://www.doe.go.th/saraburi/

สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาจังหวัดสระบุรี. (2558). ข้อมูลประชากร. สืบค้น กุมภาพันธ์ 5, 2559, จาก http://www.ssptc.ac.th/2013/index.php

เอมอร ตรีพิชพันธุ์. (2553). ปัจจัยที่มีผลต่อการนำเกณฑ์คุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ (PMQA) มาใช้ในกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

De Waal, A.A. (2005). The Characteristics of High Performance Organization. Business Strategy Series. vol. 8, No. 3 pp. 179-185. Emerald Group Plublishing Limited.

Eisner, E. (1976). “Educational Connoisseurship and Criticism: Their form andFunctions in Educational Evaluation. Journal of Aesthetic Evaluation or Education.10, 135-150.