ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกที่พักแรมของนักท่องเที่ยวชาวไทยในเขตพื้นที่เมืองพัทยา

Main Article Content

เตือนใจ ศรีชะฏา

Abstract

            การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาปัจจัยของนักท่องเที่ยวชาวไทยในการตัดสินใจเลือกที่พักแรมในเขตพัทยา จังหวัดชลบุรีกลุ่มตัวอย่างนักท่องเที่ยวชาวไทย ในเขตพัทยา จำนวน 385 คนเลือกผู้ตอบแบบสอบถามแบบบังเอิญ ใช้สถิติเชิงพรรณนา และสถิติเชิงอนุมานในการวิเคราะห์ข้อมูล พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศชาย ร้อยละ 51.4 มีอายุช่วง 20 – 30 ปี การศึกษาปริญญาตรี มีอาชีพธุรกิจส่วนตัว รายได้ระหว่าง 10,001–20,000 บาท โดยภาพรวมของปัจจัยในการตัดสินใจเลือกที่พักแรมในเขตพัทยาทั้ง 6 ด้านของนักท่องเที่ยวชาวไทยให้ความสำคัญระดับมาก

            ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า ปัจจัยส่วนบุคคลด้านเพศและอายุของนักท่องเที่ยวชาวไทยที่แตกต่างกันจะตัดสินใจเลือกที่พักแรมในเขตพัทยา จังหวัดชลบุรี โดยภาพรวมไม่แตกต่างกัน ส่วนปัจจัยส่วนบุคคลด้านการศึกษา รายได้ และอาชีพของนักท่องเที่ยวชาวไทยที่แตกต่างกันจะตัดสินใจเลือกที่พักแรมในเขตพัทยา จังหวัดชลบุรี โดยภาพรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05 เมื่อทำการทดสอบรายคู่โดยวิธี Scheffe  พบว่าแตกต่างกันบางด้าน ผู้ประกอบการควรรักษามาตรฐานคุณภาพการบริการ ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน สภาพแวดล้อม และการจราจร

 

 

             The purpose of this research were to study the factors of Thai tourists in deciding that Pattaya accommodations. Secondly, it aims to compare demographic with these factors. The target group includes Thailand tourists about 385 people, sampling and questionnaire respondents selected accident sampling Statistics and data analysis used both Descriptive and Inference Statistics. The findings are summarized below. The sample of mostly male, 51.4 percent of respondents age range for most 20-30 years, most private business job and has income between 10,001 – 20,000 Baht/month. An overview of the factors in the decision to choose a hotel in the inner side of the six types, found that the most important part.         

              Hypothesis testing found that personal factors: sex and age aspects of tourists, a different decision at the hotel in Pattaya, Chonburi, overall there was no difference between the personal factors related to education, income and occupation of tourists from Thailand, a different decision at the hotel in Pattaya, overall, different significant at the 0.05 level when performing a pair test by Scheffe method found to vary certain aspects. Entrepreneurs should maintain a standard and service quality, should focus on the safety of life and property of tourists, environment and should take care of the traffic.

Article Details

Section
บทความวิจัย
Author Biography

เตือนใจ ศรีชะฏา

หัวหน้าสาขาการจัดการโรงแรม วิทยาลัยการท่องเที่ยวและการบริการ มหาวิทยาลัยศรีปทุม

References

กรรณเกษม วสันตวิษุวัต. (2551). ปัจจัยส่วนประสมการตลาดบริการที่มีผลต่อนักท่องเที่ยวชาวไทยในการเลือก

ใช้บริการโรงแรมแบบบูติคในจังหวัดเชียงใหม่. (วิทยานิพนธ์ บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (การตลาด), มหาวิทยาลัยเชียงใหม่).

จิรัฐ ชวนชม และคณะ. (2556). ความสัมพันธ์ระหว่างการตัดสินใจเลือกที่พักรีสอร์ทของนักท่องเที่ยวกับการจัดการส่วนประสมทางการตลาดที่พักรีสอร์ท อำเภอเขาค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์. วารสารการบริการและการท่องเที่ยวไทย 8 (2), 23-35.

ชลัดดา สวนพรหม. (2551). ปัจจัยการตลาดที่ส่งผลต่อนักท่องเที่ยวชาวไทยในการเข้าพักโรงแรมในจังหวัดพิษณุโลก ที่ตั้งของโรงแรมอยู่ในย่านธุรกิจศูนย์การค้า/อยู่ติดถนนสายหลักมีผลต่อการตัดสินใจใช้บริการโรงแรม. (วิทยานิพนธ์ ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต การจัดการโรงแรมและการท่องเที่ยว, มหาวิทยาลัยนเรศวร).

ดวงกมล กุลทอง. (2554). ความพึงพอใจในการใช้บริการที่พักของนักท่องเที่ยวในอำเภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน. (วิทยานิพนธ์ เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์).

ตฤณ พริ้งประเสริฐ. (2553). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการใช้บริการที่พักแรมแบบเกสต์เฮาส์บริเวณถนนข้าวสาร. (วิทยานิพนธ์ บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต การประกอบการ, มหาวิทยาลัยศิลปากร).

ทิพยรัตน์ คงสุนทรกิจกุล (2552). ปัจจัยการตัดสินใจเลือกโรงแรมที่พักของนักท่องเที่ยวชาวยุโรปวัยเกษียณอายุ. (รายงานผลการวิจัย). พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร.

นิติพล ภูตะโชติ. (2551). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อนักท่องเที่ยวชาวไทยในการเลือกพักโรงแรมที่จังหวัดหนองคาย. (รายงานผลการวิจัย).ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

บุญเลิศ จิตตั้งวัฒนา. (2548). การพัฒนาการท่องเที่ยวแบบยั่งยืน. กรุงเทพฯ: เพรส แอนด์ ดีไซน์.

ประชาชาติธุรกิจ. (2558, 3 สิงหาคม). โรงแรมโซน “ภูเก็ต-พัทยา” ล้นตลาด ยอดจองไฮซีซั่นหงอย-นายทุนไม่แคร์แห่สร้างเพิ่ม. ประชาชาติธุรกิจ. สืบค้นจาก m.prachachat.net.

เมืองพัทยา. (2559). ประวัติเมืองพัทยา. สืบค้น 3 สิงหาคม 2559, จาก www.pattaya.go.th

เพียงพิศ เรือนแปง. (2551). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกที่พักแรมของผู้ที่เดินทางเข้ามาในจังหวัดเชียงราย.

(วิทยานิพนธ์ บริหารธุรกิจบัณฑิต การจัดการทั่วไป, มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย).

ยุพาวรรณ วรรณวาณิชย์. (2554). การจัดการการตลาดบริการ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์รุ่งแสงการพิมพ์.

วิธาน เจริญผล. (2554). ปัญหาห้องพักโรงแรมล้นตลาด ทำไม...และมีแนวทางแก้ไขอย่างไร. สืบค้น 3 สิงหาคม 2559, จาก www.scbeic.com

ศิริวรรณ เสรีรัตน์, ศุภร เสรีย์รัตน์, องอาจ ปทะวานิช และปริญ ลักษิตานนท์. (2546). การบริหารการตลาดยุคใหม่. กรุงเทพฯ: ธีระฟิล์ม.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2557). สถิตินักท่องเที่ยว. สืบค้น 3 กรกฎาคม 2558, จาก http://service.nso.go.th/nso/web/statseries/statseries23.html

สุวิมล ติรกานันท์. (2551). ระเบียบวิธีการวิจัยทางสังคมศาสตร์: แนวทางสู่การปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อัครเดช เนตรสุวรรณ, วงศ์ธีรา สุวรรณิน และบุญเรือง ศรีเหรัญ (2555). ปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกใช้บริการประเภทที่พักเพื่อการท่องเที่ยว ในจังหวัดเพชรบูรณ์. วารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์ 2 (2), 63-71.

อิทธิชัย ทองไพบูลย์. (2552). ความต้องการปัจจัยส่วนประสมการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกที่พักของนักท่องเที่ยวในเกาะสีชัง จังหวัดชลบุรี. (วิทยานิพนธ์ การจัดการมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา).

อิศรา ตันตราภรณ์. (2551). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกที่พักอาศัยประเภทอพาร์ทเมนต์ของประชาชนใน

ตำบลหนองปรือ อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี. (วิทยานิพนธ์ รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา).

Weier M Ronald. (2005). Introduction to Business Statistics, International Student

Edition, (5th ed.,). Pennsylvania, USA: Duxbury Press, Thomson-Brooks/cole.