ร้านไท้ ลี ฮง : เรื่องเล่าความสำเร็จการจัดการร้านโชว์ห่วย 60 ปี

Main Article Content

พัชรพงศ์ ชวนชม
พิทักษ์ ศิริวงศ์

Abstract

             งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้วิธีวิทยาศึกษาผ่านเรื่องเล่า (Narrative) ของร้านโชห่วยที่ได้เปิดดำเนินกิจการมาไม่น้อยกว่า 60 ปี ในพื้นที่ใกล้กับตลาดเทเวศน์ แขวงบางขุนพรหม เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเรื่องเล่าความสำเร็จการจัดการร้านโชห่วย และปรับตัวของร้านโชห่วยในสภาพการแข่งขันกับร้านค้าปลีกสมัยใหม่ จากการเล่าเรื่องของผู้ให้ข้อมูลประกอบด้วยเจ้าของร้าน ลูกจ้างและลูกค้าที่มาใช้บริการ  ผลการวิจัยพบว่าร้านโชห่วยเน้นวิธีการจัดการด้านความสัมพันธ์กับลูกค้าเก่าเป็นเรื่องหลัก เพราะเป็นกลุ่มลูกค้าหลักของร้าน ซึ่งลูกค้ากลุ่มนี้มีความรู้สึกผูกพันธ์กับการที่ได้พูดคุย แลกเปลี่ยนความคิดเห็น รวมทั้งสอบถามรายละเอียดของสินค้า ส่วนการปรับตัวของร้านไท้ ฮง ลี ในปัจจุบันไม่ได้มีการปรับตัวต่างจากอดีตมากนัก  เพื่อรักษาความเป็นเอกลักษณ์ของร้านให้มีความโดดเด่นสะท้อนให้เห็นความเก่าแก่ของร้าน ได้แก่ การเลือกใช้ชั้นวางสินค้าแบบเก่า การจัดเรียงสินค้าตามหมวดหมู่ เหมือนสมัยก่อน ซึ่งแตกต่างจากร้านสะดวกซื้อในปัจจุบันและร้านโชห่วยอื่นๆ ซึ่งนับว่าเป็นจุดสำคัญของของร้าน ไท้ ลี ฮง ที่พยายามแสดงจุดเด่นของร้านให้ลูกค้ามีความรู้สึกเสมือนได้อยู่ในบรรยากาศของร้านโชห่วยเมื่อหลายสิบกว่าปีที่แล้ว

              

                  This research was qualitative research by using methodology of narrative with the local grocery shop (Tai Lee Hong) that has operated more than 60 years. The shop is located Deves fresh market, Bang Khun Phrom, Phranakorn, Bangkok Thailand. The objective of research aimed to study the success of management and adjustment in the local grocery store for competition with the modern grocery store. According to the narrative, it consists the information from owner, employees and customers. The results showed that the most important strategic of local grocery store focusing on the management of customers’ relationship. From this reason, customers felt an affinity with chatting, sharing comment and getting products’ information. The adaptation of Tai Lee Hong was not different from the past that maintained the uniqueness of outstanding in the local grocery store, such as, the decoration with traditional shelves, arrangement items as same as categories in previous. However, the mainly different factor shown the uniqueness of Tai Lee Hong which maintained the same feeling as 10 years ago in local grocery store

                 

Article Details

Section
บทความวิจัย
Author Biographies

พัชรพงศ์ ชวนชม

นักศึกษาหลักสูตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยศิลปากร กรุงเทพมหานคร 

พิทักษ์ ศิริวงศ์

อาจารย์ประจำหลักสูตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยศิลปากร กรุงเทพมหานคร

References

กฤษณ์ ทัพจุฬา. (2558). ความสำเร็จของธุรกิจร้านค้าปลีกแบบดั้งเดิม ในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี. ฉบับที่ 3.

ฉันทัส เพียรธรรมและวันทนาพร รุ่งวรรณรัตน์. (2555). การปรับตัวของร้านโชห่วยภายใต้กระแสการขยายตัวของ ร้านสะดวกซื้อสมัยใหม่. วารสารการจัดการสิ่งแวดล้อม. ปีที่ 8 ฉบับที่ 1 มกราคม – มิถุนายน. สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

ฐิตารีย์ดุรงค์ดำรงชัย. (2558). แนวทางการดำเนินกลยุทธ์การตลาด ของร้านค้าปลีกแบบดั้งเดิมในเขตเทศบาล นครขอนแก่น. สุทธิปริทัศน์. ฉบับที่ 29. ศูนย์บริการวิจัย มหาวิทยาลัยธุรกิจบัรฑิตย์.

ณัฐพล เสตกรณุกูล. (2554). พฤติกรรมและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการซื้อสินค้าของผู้บริโภคในร้านค้าปลีก. ปริญญาเศรษฐศาสตร์มหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

สุจินดา เจียมศรีพงษ์. (2554). ธุรกิจค้าปลีกแบบดั้งเดิม (ร้านโชห่วย) : ปัญหาและทางแก้ไข. วารสารวิทยาการจัดการและสารสนเทศศาสตร์. ปีที่ 6 ฉบับที่ 1. มหาวิทยาลัยมเรศวร. 2554

สุจินดา เจียมศรีพงษ์, กฤษฎากร พจมานศิริกุล, เสาวนีย์สมันต์ตรีพร, สิริลักษณ์ พิชัยณรงค์และ นวพร ประสมทอง. (2553). ปัญหาและแนวทางการแก้ไขเพื่ออนาคตของการค้าปลีกที่ยั่งยืน. สืบค้น 21 เมษายน 2557, สืบค้นจาก http://www.senate.go.th/w3c/senate/pictures/sec/11/9215/ metamorph_shopping/Content/My%20Web%20Sites/research/51/h008.html

อนุศาสตร์ สระทองเวียน. (2553). ธุรกิจค้าปลีก ประเทศไทย. วารสารนักบริหาร. ปีที่30 ฉบับที่ 3, 134-142. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฎจันทรเกษม.