ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการการเปิดเสรีทางการค้า กรณีศึกษา : กองทุน FTA กระทรวงพาณิชย์

Main Article Content

ธาราภรณ์ อ่างแก้ว

Abstract

         บทความนี้ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จรวมถึงปัญหาและอุปสรรคของโครงการที่ได้รับการส่งเสริมพัฒนาภายใต้กองทุนFTA กระทรวงพาณิชย์ และวิเคราะห์ระเบียบหรือกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับกองทุนFTA กระทรวงพาณิชย์ พร้อมทั้งข้อเสนอแนะเพื่อปรับปรุงระเบียบหรือกฎหมายที่เกี่ยวข้อง

            โดยผลจากการศึกษาสรุปดังนี้ ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จของโครงการที่ได้รับการส่งเสริมและพัฒนาภายใต้กองทุน FTA กระทรวงพาณิชย์ แบ่งเป็น 5 ปัจจัย ดังนี้ 1) ปัจจัยด้านตลาด 2) ปัจจัยด้านบุคลากร  3) ปัจจัยด้านความเข้มแข็งของกลุ่ม 4) ปัจจัยด้านความร่วมมือ 5) ปัจจัยด้านเทคนิค

            และ เพื่อให้การดำเนินงานของโครงการช่วยเหลือเพื่อการปรับตัวของภาคการผลิตและการบริการที่ได้รับผลกระทบจากการเปิดเสรีทางการค้า สามารถเข้าถึงกลุ่มผู้ผลิต และให้การเยียวยาแก่ผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการเปิดเสรีทางการค้า ได้ทันต่อสถานการณ์การค้าที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ควรจัดตั้งโครงการช่วยเหลือเพื่อการปรับตัวฯ โดยกำหนดเป็นพระราชบัญญัติ เพื่อรองรับการปรับเปลี่ยนโครงการช่วยเหลือเพื่อการปรับตัวฯ สู่การเป็นองค์กรมหาชนในอนาคต

 

             This article aims to study factors affecting the success, problems, and obstacles of the projects supported by the Free Trade Agreement Fund (FTA Fund) of the Ministry of Commerce. It also analyses laws and regulations governing the FTA Fund as well as provides recommendations for further improvement of those laws and regulations.

            The findings are as follow          

            1. Factors affecting the success of the projects supported by the FTA Fund can be categorised into 5 areas which are (1) market factor (2) personnel factor (3) strength of the fund recipients (4) cooperation factor and (5) technical factor.

            2. In order to enhance trade remedies to those affected from FTAs, it is advised that an Act be issued to enable the FTA Fund to be established as a public company in the future.

            The article recommends that it is necessary to have a concrete plan and framework of operation in consultation with relevant agencies, including academic scholars and stakeholders at the initial stage of the projects. This is to ensure successful outcomes to meet the projects objectives.  

 

          

Article Details

Section
บทความวิจัย
Author Biography

ธาราภรณ์ อ่างแก้ว

นักศึกษาปริญญาโท หลักสูตรนิติเศรษฐศาสตร์การค้าระหว่างประเทศ ศิลปศาสตร์บัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 

References

ดร.นิพนธ์ พัวพงศกร และคณะ. โครงการประเมินกองทุนปรับโครงสร้างการผลิตภาคเกษตรเพื่อเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันของประเทศ. สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์., : กรุงเทพฯ, 2556

สรารัศมิ์ ภัทรหิรัณย์คุณ. “ความร่วมมือในการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากการเปิดเสรีทางการค้า.” ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิยาลัยรามคำแหง, 2556.

คำสั่งกระทรวงพาณิชย์ที่ 154/2550 เรื่องแต่งตั้งคณะกรรมการบริหารเงินช่วยเหลือเพื่อการปรับตัวของภาคการผลิตและภาคบริการที่ได้รับผลกระทบจากการเปิดเสรีทางการค้า

ประกาศคณะกรรมการบริหารเงินช่วยเหลือเพื่อการปรับตัวของภาคการผลิตและภาคบริการที่ได้รับผลกระทบจากการเปิดเสรีทางการค้าที่ 1/2553 เรื่องหลักเกณฑ์ วิธีการ และขั้นตอนในการพิจารณาโครงการขอรับความช่วยเหลือภายใต้โครงการช่วยเหลือเพื่อการปรับตัวของภาคการผลิตและภาคบริการที่ได้รับผลกระทบจากการเปิดเสรีทางการค้า

คำสั่งคณะกรรมการบริหารเงินช่วยเหลือเพื่อการปรับตัวของภาคการผลิตและภาคบริการที่ได้รับผลกระทบจากการเปิดเสรีทางการค้าที่ได้รับผลกระทบจากการเปิดเสรีทางการค้า ที่ 1/2550 เรื่องแต่งตั้งคณะอนุกรรมการกลั่นกรองโครงการเงินช่วยเหลือเพื่อการปรับตัวของภาคการผลิตและภาคบริการที่ได้รับผลกระทบจากการเปิดเสรีทางการค้า