ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจลงทุนคอนโดมิเนียม ของนักลงทุนในเขตกรุงเทพมหานคร
Main Article Content
Abstract
การวิจัยนี้มีความมุ่งหมาย เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจลงทุนคอนโดมิเนียม ของนักลงทุนในเขตกรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในงานวิจัยครั้งนี้ คือนักลงทุนที่ลงทุนเพื่อขาย-ปล่อยเช่า รวมถึงลงทุนเพื่ออยู่อาศัยในระยะแรก หรือผู้ที่เคยลงทุนในคอนโดมิเนียมในรูปแบบต่างๆ ในเขตกรุงเทพมหานคร ที่มีอายุ 20 ปีขึ้นไป รวมขนาดกลุ่มตัวอย่างทั้งหมดคือ 400 คน ใช้แบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติที่ใช้ทดสอบสมมติฐาน คือ การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และ สถิติการการวิเคราะห์เชิงถดถอยแบบพหุคูณ ผลการศึกษาพบว่า นักลงทุนส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุระหว่าง 20-29 ปี สถานภาพโสด การศึกษาระดับปริญญาตรี อาชีพพนักงานรัฐวิสาหกิจ รายได้ ต่ำกว่าหรือเท่ากับ 15,000 บาท มีประสบการณ์ลงทุนน้อยกว่า 1 ปี ระยะเวลาถือครองหลักทรัพย์น้อยกว่า 1 ปี มีแหล่งข้อมูลในการตัดสินใจลงทุน คือ แหล่งบุคคล และนักลงทุนส่วนใหญ่ให้ความสำคัญกับปัจจัยความสำเร็จ 10 ประการโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
This research aimed to study factors relating on investors’ investment decision on condominium in the Bangkok metropolitan area. The respondents in this research are investors who invest in selling-renting, including investors who invested to live during first period and people who had invested in a condominium in various forms in Bangkok, and the respondents were age twenty and above. The samples used in this study consisted of four hundred respondents. The questionnaire was constructed and used as a tool for collecting data. The statistics used to analyze the data were percentage, mean, standard deviation, t-test and one-way analysis of variance, and multiple regression statistical analysis. The results of this research were as ; The most investors were female that had age between 20-29 years old with single status. Their education levels were Bachelor Degree. Their career were state enterprise officers. Their revenue per month were below or equal to THB 15,000. They had investment experiences less than 1 year. The time period holding properties less than 1 year. There were sources of information for investment decision such as Personnel sources. And The most investors placed importance of overall the Rubik Model in highest level.
Article Details
ลิขสิทธิ์บทความวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ห้ามนำข้อความทั้งหมดหรือบางส่วนไปพิมพ์ซ้ำ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากมหาวิทยาลัยเป็นลายลักษณ์อักษร
ความรับผิดชอบ เนื้อหาต้นฉบับที่ปรากฏในวารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ เป็นความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์บทความหรือผู้เขียนเอง ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากเทคนิคการพิมพ์
References
กนกดล สิริวัฒนชัย. (2556). การตัดสินใจลงทุนในหุ้นของคนรุ่นใหม่ที่มีอายุระหว่าง 18 - 48 ปี ในเขตกรุงเทพมหานคร. ปทุมธานี : มหาวิทยาลัยรังสิต.
กัลยา วานิชบัญชา. (2546). การใช้ SPSS for Windows ในการวิเคราะห์ข้อมูล. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ : คณะพานิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ก้องเกียรติ บูรณศร. (2553). ผลกระทบของสภาพแวดล้อมทางธุรกิจต่อความเป็น ผู้ประกอบการขององค์การ : กรณีศึกษา สถานประกอบการอุตสาหกรรมการผลิตขนาดกลาง และขนาดใหญ่ในประเทศไทย.วารสารสุทธิปริทัศน์ 24 (73), พฤษภาคม - สิงหาคม 2553.
จิรัตน์ สังข์แก้ว. (2545). การลงทุน. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
โชติวุฒิ เหล่าไพโรจน์. (2555). ปัจจัยกำหนดราคาคอนโดมิเนียมในเขตกรุงเทพมหานคร. กรุงเทพฯ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ชุรีพร สีสนิท. (2553). ปัจจัยที่ส่งผลต่อแนวโน้มการตัดสินใจลงทุนในกองทุนรวมหุ้นระยะยาว ของลูกค้าบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวมแห่งหนึ่ง ในเขตกรุงเทพมหานคร. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
บุริม โอทกานนท์. (2556). ตีแตก ธุรกิจคอนโดฯ. กรุงเทพฯ : สาขาการตลาด วิทยาลัยการจัดการ
มหาวิทยาลัยมหิดล.
ศิริวรรณ เสรีรัตน์. (2541). ทฤษฎีส่วนประสมทางการตลาด การบริหารการตลาดยุคใหม่. กรุงเทพฯ: พัฒนาการศึกษา.
--------.(2541). กลยุทธ์การตลาดและการบริการการตลาด. กรุงเทพฯ: ไดมอนต์อินบิสซิเนส.
เสรี วงษ์มณฑา. (2542) . การวิเคราะห์พฤติกรรมผู้บริโภค. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ธีระฟิล์มและไซเท็กซ์.
สุพร จรูญรังสี. (2546). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ของนักลงทุนทั่วไปในประเทศ ในเขตกรุงเทพมหานคร. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
สมชาย ทรัพย์สินโอฬาร. (2552). การศึกษาความเป็นไปในโครงการลงทุนสร้างห้องชุดให้เช่าในเขตบางแค กรุงเทพมหานคร. เชียงใหม่ : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
หนึ่งฤทัย เนาว์คํา ธรรมะ. ( 2556 ).อิทธิพลของการสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการและปัจจัยทางการตลาดต่อการ ตัดสินใจซื้อคอนโดมิเนียม ในเขตกรุงเทพมหานคร. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยรามคำแหง
อธิวัฒน์ โตสันติกุล. (2556). แนวโน้มและพฤติกรรมการลงทุนของนักลงทุนชาวไทยในเขตกรุงเทพมหานคร. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
Antoncic, B., & Hisrich, R. D. (2000). Intrapreneurship modeling in transition economies: A comparison of Slovenia and the United States. Journal of Developmental Entrepreneurship, 5(1), 21.
Bloom, Benjamins. (1976). Human Characteristics and School Learning. Mc Graw-Hill, NY.
Chin Tung Leong. (2002). Valuation of Condominium in Penang,Malaysia : A Hedonic Price Approach. Retrieved June 12, 2015, From https:/www.bloomberg.com/research/stocks/people/person.
Fry, R., & Kolb, D. (1979). Experiential learning theory and learning experiences in liberal arts education. New directions for experiential learning, 6, 79.
Hawkins, Best& Coney. (2001). Building Marketing Strategy. Mc Graw-Hill, NY.
Kimble, Gregory A. (1961). Conditioning and learning. New York : Appleton-Century-Crofts.
Kolter, Phillip. (2000). Marketing Management The Millennium Edition. New Jersey:Prentice Hall, Inc.