แนวทางการพัฒนาทักษะการสื่อสารภาษาไทยด้านการฟัง และด้านการพูดของนักเรียนปฐมวัยในโรงเรียนระบบสองภาษา: กรณีศึกษา โรงเรียนบ้านฮาลาบาลา

Main Article Content

กชกร ศรีสังข์

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ผู้วิจัยออกแบบการวิจัยโดยใช้กรณีศึกษา มีวัตถุ ประสงค์การวิจัยเพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาทักษะการสื่อสารภาษาไทยด้านการฟัง และด้านการพูดของนักเรียนปฐมวัยใน โรงเรียนระบบสองภาษา (ไทย - มลายู) แบบประยุกต์  ผู้ให้ข้อมูลสำคัญคือ ผู้อำนวยการโรงเรียนจำนวน  1 คน ครูวิชาการ ฝ่ายปฐมวัยจำนวน 1 คน และครูผู้สอนระดับปฐมวัยจำนวน 8 คน รวมทั้งสิ้นจำนวน 10 คน ซึ่งได้มาโดยวิธีการเลือกแบบ เจาะจงจากโรงเรียนบ้านฮาลาบาลา (นามสมมุติ) เครื่องมือที่ใช้ใน การวิจัยคือ แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้างเก็บรวบรวม ข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกโดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์ข้อมูลแบบวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่าแนวทางการ พัฒนาทักษะการสื่อสาร ภาษาไทย ด้านการฟัง และด้านการพูดของนักเรียนปฐมวัยในโรงเรียนระบบสองภาษากรณีศึกษาโรงเรียนบ้านฮาลาบาลา นั้นมีการใช้ 1) แผนการจัดประสบการณ์ 2) นิทานสองภาษา และ 3) เพลงสองภาษา นอกจากนี้ มีประเด็น เพิ่มเติมจากขอบเขตงานวิจัยที่ผู้วิจัยได้ศึกษาคือการใช้สื่อประสมและการจัดกิจกรรมสำหรับเด็กปฐมวัย ผลจากการวิจัยนี้สะท้อนให้เห็นว่าแนวทางดังกล่าวมีความเหมาะสมและมีประโยชน์ในการช่วยพัฒนาทักษะการสื่อสารภาษาไทยด้านการฟังและด้านการพูด

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ปัทมาพร ปุณญาฉัตร. (2555). ผลการใช้สื่อรูปภาพCAIเพื่อพัฒนาทักษะการพูดสื่อสารสำหรับเด็กปฐมวัยที่มี ปัญหาทางการพูดและการสื่อสาร. [เว็บบล็อก]. สืบค้นจาก https://academic.prc.ac.th/.
พรเทพ ลี้ทองอิน, กิตติศักดิ์ เมฆปั้น, สมศักดิ์ ปัญหา และคณะ. (2557). การสอนโดยใช้การละเล่นพื้นบ้านเพื่อ พัฒนาผลสัมฤทธิ์การสื่อความหมายภาษาไทย. (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฏีบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชฎักสวนดุสิต).
มูนีเร๊าะ ผดุง, สุรชัย สุขสกุลชัย, วชิราพรรณ แก้วประพันธ์, โซเฟีย คลานุรักษ์, รัตนา ต่วนสุหลง และปรีชา สุกใส. (2555).สภาพการจัดประสบการณ์เรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัยที่ใช้ภาษาไทยเป็นภาษาที่สองและ แนวทางในการพัฒนาสื่อประสมสองภาษา:กรณีศึกษาจังหวัดยะลา. (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฏี บัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชฎักยะลา).
รอฮันนี เจะเลาะ. (2558). การพัฒนาทักษะการฟังและการพูดของเด็กปฐมวัย โดยการจัดกิจกรรมเสริม ประสบการณ์ที่ใช้
นิทานประกอบภาพ. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฎยะลา.13(1), 41-46.
สุพัตรา บุ่งง้าว. (2560). การใช้นิทานเพื่อพัฒนาทักษะการฟัง และการพูด. [เว็บบล็อก]. สืบค้นจาก
https://wbscport.dusit.ac.th/artefact/file/download.php?file=207194&view=149508
สุภางค์ จันทวานิช. (2557). วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 22. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.
โสพิศ บัวปอน. (2546). การพัฒนาแผนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง สำหรับนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2. (วิทยานิพนธ์ มหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่).
สำนักคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกระทรวงศึกษาธิการ. (2561). คู่มือหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560 (สำหรับเด็กอายุ 3-6 ปี). ไม่ปรากฏสถานที่พิมพ์.
สำนักงานวิชาการ และมาตรฐานการศึกษา และสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ. (2554).
ผลงานและวิธีปฏิบัติที่ดีระดับปฐมวัย (Early childhood Good Practices). กรุงเทพฯ:โรงพิมพ์ชุมชนสหกรณ์ การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
อมาวสี อัมพันศิริรัตน์. (2557). มโนทัศน์ของการวิจัยเชิงคุณภาพ. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและ การ สาธารณสุขภาคใต้, 1(2), 68-80.
เอกรินทร์ สังข์ทอง. (2551). ภาวะผู้นำเชิงพหุวัฒนธรรมของผู้อำนวยการโรงเรียนของรัฐในสามจังหวัด ชายแดนภาคใต้.ปัตตานี : มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์