เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน เพื่อส่งบทความ

ในขั้นตอนการส่งบทความ ผู้แต่งต้องตรวจสอบและปฏิบัติตามข้อกำหนดรายการตรวจสอบการส่งทุกข้อ ดังต่อไปนี้ และบทความอาจถูกส่งคืนให้กับผู้แต่งกรณีที่ไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดทั้งหมด

  • The submission has not been previously published, nor is it before another journal for consideration (or an explanation has been provided in Comments to the Editor).
  • The submission file is in OpenOffice, Microsoft Word, or RTF document file format.
  • Where available, URLs for the references have been provided.
  • The text is single-spaced; uses a 12-point font; employs italics, rather than underlining (except with URL addresses); and all illustrations, figures, and tables are placed within the text at the appropriate points, rather than at the end.
  • The text adheres to the stylistic and bibliographic requirements outlined in the Author Guidelines.

วารสารบริหารการศึกษาบัวบัณฑิต 
หลักเกณฑ์และคำแนะนำสำหรับผู้นิพนธ์บทความ
ดาวน์โหลดเอกสารแบบฟอร์มต่าง ๆ 

สาขาของวารสาร: สังคมศาสตร์ 

วัตถุประสงค์
1. เพื่อเป็นสื่อกลางแสดงความคิดเห็นทางวิชาการ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ และส่งเสริม การพัฒนาวิชาการทางการศึกษาและบริหารการศึกษา
2. เพื่อเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ งานวิจัย และการศึกษา ค้นคว้าของคณาจารย์ นักวิชาการ นักศึกษา และผู้สนใจ ทั้งในและนอกสถาบัน

ขอบเขต
วารสารบริหารการศึกษาบัวบัณฑิต รับตีพิมพ์บทความด้านศึกษาศาสตร์ ครุศาสตร์ และการศึกษา โดยเน้นการบริหารการศึกษา สาขาวิชาที่รับตีพิมพ์ ได้แก่ ครุศาสตร์ ศึกษาศาสตร์ จิตวิทยา เทคโนโลยีการศึกษา และสหวิทยาการด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ที่สัมพันธ์กับการศึกษา

รูปแบบการประเมิน
ทุกบทความจะได้รับการตรวจสอบทางวิชาการจากผู้ทรงคุณวุฒิไม่น้อยกว่า 2 ท่านต่อหนึ่งบทความ

ประเภทของบทความที่รับตีพิมพ์
1.บทความวิจัย
2.บทความวิชาการ
3.บทวิจารณ์หนังสือ

กำหนดการตีพิมพ์เผยแพร่
ฉบับที่ 1: มกราคม - มิถุนายน
ฉบับที่ 2: กรกฎาคม - ธันวาคม

รูปแบบการประเมินบทความ
กองบรรณาธิการวารสารบัวบัณฑิตบริหารการศึกษาจะส่งบทความที่เสนอมาเพื่อตีพิมพ์ให้ผู้ทรงคุณวุฒิ (peer review) จากหน่วยงานที่หลากหลายจำนวน 3 คน ตรวจสอบคุณภาพและความถูกต้องของเนื้อหา โดยปกปิดข้อมูลทั้งสองฝ่าย (ผู้เขียนและผู้ตรวจบทความ) (double-blinded peer review) 

การเตรียมต้นฉบับ
1.ภาษา เขียนบทความเป็นภาษาไทยหรือภ
าษาอังกฤษ แต่ละเรื่องจะต้องมีบทคัดย่อทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ  การใช้ภาษาไทยให้ยึดหลักการใช้คำศัพท์และการเขียนทับศัพท์ภาษาอังกฤษตามหลักของราชบัณฑิตยสถาน อย่างไรก็ตาม ให้หลีกเลี่ยงการเขียนภาษาอังกฤษปนภาษาไทยในข้อความ ยกเว้นกรณีจำเป็น เช่น ศัพท์ทางวิชาการที่ไม่มีคำแปล หรือคำที่ใช้แล้วทำให้เข้าใจง่ายขึ้น คำศัพท์ภาษาอังกฤษที่เขียนปนภาษาไทยให้ใช้ตัวเล็กทั้งหมด ยกเว้นชื่อเฉพาะ  สำหรับต้นฉบับภาษาอังกฤษ ควรได้รับการตรวจสอบความถูกต้องด้านการใช้ภาษาจากผู้เชี่ยวชาญด้านภาษาอังกฤษก่อน
2. ขนาดของต้นฉบับ ใช้กระดาษขนาด A4 (8.5 x 11 นิ้ว) และพิมพ์โดยเว้นระยะห่างจากขอบกระดาษด้านละ 1 นิ้ว จัดเป็นหนึ่งคอลัมน์ ระยะห่างระหว่างบรรทัดใช้ single space
3. ชนิดและขนาดตัวอักษร ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษให้ใช้ตัวอักษร TH SarabunPSK ดังรายละเอียดดังนี้ 

3.1 ชื่อเรื่อง ใช้ฟอนท์ TH SarabunPSK ขนาด 18 pt. ตัวหนา
3.2 ชื่อ-นามสกุลผู้นิพนธ์ ใช้ฟอนท์ TH SarabunPSK ขนาด 14 pt. ตัวปกติ 
3.3 ต้นสังกัดของผู้นิพนธ์ ใช้ฟอนท์ TH SarabunPSK  ขนาด 12 pt. ตัวปกติ
3.4 บทคัดย่อ/Abstract ใช้ฟอนท์  TH SarabunPSK ขนาด 16 pt. ตัวหนา
3.6 คำสำคัญ/Keywords ใช้ฟอนท์ TH SarabunPSK ขนาด 16 pt. ตัวหนา/ปกติ
3.7 หัวข้อหลัก ใช้ฟอนท์ TH SarabunPSK ขนาด 18 pt. ตัวหนา
3.8 เนื้อหา ใช้ฟอนท์ TH SarabunPSK ขนาด 16 pt. ตัวปกติ

5.การพิมพ์ต้นฉบับ ผู้เสนอผลงานจะต้องพิมพ์และส่งต้นฉบับในรูปแบบของแฟ้มข้อมูลเป็น “.doc” หรือ “.docx” (MS Word) เท่านั้น
6.จำนวนหน้า ความยาวของบทความไม่เกิน 15 หน้า รวมตาราง รูปภาพ และเอกสารอ้างอิง
7.รูปภาพ ในกรณีที่ผู้เขียนบทความ มีภาพประกอบบทความ ควรบันทึกไฟล์รูปภาพ เป็นนามสกุล “.jps” หรือ “.jpeg” โดยเขียนบรรยายใต้ภาพ ตัวอักษรขนาด 15 pt

รูปแบบการเขียนต้นฉบับ
บทความวิจัย
-ชื่อเรื่อง (Title)
ควรสั้น กะทัดรัด และสื่อเป้าหมายหลักของงานวิจัย ไม่ใช้คำย่อ ความยาวไม่ควรเกิน 100 ตัวอักษร ชื่อเรื่องให้มีทั้งภาษาไทย และอังกฤษ โดยให้นำชื่อเรื่องภาษาไทยขึ้นก่อน
-ชื่อผู้นิพนธ์ Author(s) และที่อยู่ ให้มีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ และระบุตำแหน่งทางวิชาการ หน่วยงานหรือสถาบัน ที่อยู่ และ E-mail address ของผู้นิพนธ์ เพื่อกองบรรณาธิการใช้ติดต่อเกี่ยวกับต้นฉบับและบทความที่ตีพิมพ์แล้ว
-บทคัดย่อ (Abstract) เป็นการย่อเนื้อความงานวิจัยทั้งเรื่องให้สั้น และมีเนื้อหาครบถ้วนตามเรื่องเต็ม ความยาวไม่เกิน 300 คำ หรือ 15 บรรทัด ไม่ควรใช้คำย่อที่ไม่เป็นสากล และให้บทคัดย่อภาษาไทยขึ้นก่อนภาษาอังกฤษ
-คำสำคัญ (Keywords) ให้ระบุไว้ท้ายบทคัดย่อของแต่ละภาษา ไม่เกิน 5 คำ
-บทนำ (Introduction) เป็นส่วนเริ่มต้นของเนื้อหา ที่บอกความเป็นมา เหตุผล และวัตถุประสงค์ ที่นำไปสู่การทำงานวิจัยนี้ รวมถึงทฤษฎี วรรณกรรมที่เกี่ยวข้องกับการวิจัยในครั้งนี้พอสังเขป
-วิธีดำเนินการวิจัย (Research Methodology) ให้ระบุรายละเอียดวิธีการศึกษาวิจัย ประกอบด้วยขอบเขต  ประชากร กลุ่มตัวอย่าง เครื่องมือ วิธีการเก็บข้อมูล และวิธีการวิเคราะห์ข้อมูลตามลักษณะที่เหมาะสมของงานวิจัย 
-ผลการวิจัย (Results) รายงานผลการศึกษาที่ค้นพบ ตามลำดับหัวข้อของการศึกษาวิจัย อย่างชัดเจนได้ใจความ ถ้าผลไม่ซับซ้อน ไม่มีตัวเลขมาก ควรใช้คำบรรยาย แต่ถ้ามีตัวเลข หรือตัวแปรมาก ควรใช้ตาราง กราฟ หรือแผนภูมิแทน ในบทความไม่ควรมีเกิน 5 ตาราง หรือแผนภูมิ
-การอภิปรายผลการวิจัย (Discussion) แสดงให้เห็นว่าผลการศึกษาตรงกับวัตถุประสงค์ของงานวิจัย หรือแตกต่างไปจากผลงานที่มีผู้รายงานไว้ก่อนหรือไม่ อย่างไร เหตุผลใดจึงเป็นเช่นนั้น และมีพื้นฐานอ้างอิงที่เชื่อถือได้ และให้จบด้วยข้อเสนอแนะที่จะนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ ควรมีประเด็นคำถามการวิจัย ซึ่งเป็นแนวทางสำหรับการวิจัยต่อไป
-ตาราง รูปภาพ แผนภูมิ (Table, Figure, And Diagram) ควรคัดเลือกเฉพาะที่จำเป็น แยกออกจากเนื้อเรื่อง โดยเรียงลำดับให้สอดคล้องกับคำอธิบายในเนื้อเรื่อง และต้องมีคำอธิบายสั้น ๆ แต่สื่อความหมายได้สาระครบถ้วน กรณีที่เป็นตาราง คำอธิบายอยู่ด้านบน ส่วนรูปภาพ แผนภูมิ คำอธิบายอยู่ด้านล่าง
-กิตติกรรมประกาศ (Acknowledgement) ระบุสั้น ๆ ว่างานวิจัยนี้ได้รับทุนสนับสนุน และความช่วยเหลือจากองค์กรใด หรือบุคคลใดบ้าง (ไม่จำเป็นต้องใส่)
-เอกสารอ้างอิง ระบุรายการเอกสารอ้างอิงให้ครบถ้วนที่ท้ายเรื่อง โดยใช้ระบบการอ้างอิงตามรูปแบบ APA 7th edition  

บทความทางวิชาการ
ต้องมีส่วนประกอบหลัก ได้แก่ ชื่อเรื่อง ชื่อผู้นิพนธ์ บทคัดย่อ คำสำคัญ บทนำ เนื้อหา บทสรุป และเอกสารอ้างอิง

บทวิจารณ์หนังสือ

ต้องมีส่วนประกอบหลัก ได้แก่ ข้อมูลทางบรรณานุกรม ชื่อผู้วิจารณ์ บทวิจารณ์

การส่งต้นฉบับและการพิจารณา
-ผู้นิพนธ์บทความ สามารถจัดทำบทความตามรูปแบบที่กำหนด ดาวน์โหลดเอกสารแบบฟอร์มต่าง ๆ  ส่งบทความผ่านระบบวารสารออนไลน์ ได้ที่ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/BUAJEAD 
-ขอให้โอนค่าธรรมเนียมจำนวนเงิน 3,000 บาท (สามพันบาทถ้วน) ผ่านบัญชีธนาคารกรุงศรีอยุธยา สาขามหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี เลขที่บัญชี 441-1-30420-9 (ชื่อบัญชีมหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี วารสารบริหารการศึกษาบัวบัณฑิต) และแนบหลักฐานการโอนเงินพร้อมการส่งบทความผ่านระบบวารสารออนไลน์ 
-จากนั้น กองบรรณาธิการจะดำเนินการตามลำดับ ดังนี้
1.ตรวจสอบรูปแบบความถูกต้อง ถ้าไม่ถูกต้องจะส่งกลับให้ผู้นิพนธ์แก้ไข เมื่อผู้นิพนธ์แก้ไขเสร็จเรียบร้อยแล้ว ให้ส่งกลับมายังกองบรรณาธิการเพื่อดำเนินการต่อไป (ใช้เวลา 1-2 สัปดาห์)
2.กองบรรณาธิการจะพิจารณาต้นฉบับที่ได้รับการแก้ไขถูกต้องแล้ว ว่าสมควรตีพิมพ์หรือไม่ และพิจารณาคัดเลือกผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อประเมินและวิจารณ์บทความ
3.กองบรรณาธิการจัดส่งต้นฉบับตามข้อ 2 ให้ผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer review) อย่างน้อย 2 คน วิจารณ์และประเมินให้ข้อเสนอแนะโดยใช้ระบบปกปิดข้อมูลของทั้งสองฝ่าย (Double-Blinded) (ใช้เวลา 4-6 สัปดาห์)
4.เมื่อกองบรรณาธิการได้รับต้นฉบับกลับคืนมาจากผู้ทรงคุณวุฒิแล้ว จะส่งให้ผู้นิพนธ์แก้ไขตามข้อเสนอแนะของผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้นิพนธ์จะต้องส่งต้นฉบับกลับคืนมายังกองบรรณาธิการภายใน 4 สัปดาห์ ถ้าผู้นิพนธ์ไม่แก้ไข ส่งคืนในระยะเวลาที่กหนด กองบรรณาธิการจะปฏิเสธการตีพิมพ์อย่างไม่มีเงื่อนไข
5.เมื่อผู้เขียนส่งบทความฉบับแก้ไขเข้าระบบแล้วเท่านั้น วารสารจึงจะออกแบบตอบรับการตีพิม์ให้ และจะดำเนินการตามเงื่อนไขนี้อย่างเคร่งคัด
6.กองบรรณาธิการจะตรวจสอบ ทบทวนรายละเอียดต้นฉบับอีกครั้ง เพื่อความถูกต้องก่อนตีพิมพ์เผยแพร่ในระบบวารสารออนไลน์ 

หมายเหตุเรื่องค่าธรรมเนียมตีพิมพ์
1.อัตราค่าตีพิมพ์บทความ จำนวนเงิน 3,000 บาท (สามพันบาทถ้วน) 
2.ช่องทางการชำระมีช่องเดียวเท่านั้น คือ โอนเข้าบัญชีธนาคารกรุงศรีอยุธยา สาขามหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
เลขที่บัญชี 441-1-30420-9 (ชื่อบัญชีมหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี วารสารบริหารการศึกษาบัวบัณฑิต) 
3.ให้ผู้นิพนธ์บทความชำระค่าตีพิมพ์ครั้งเดียวตั้งแต่ขั้นตอนการส่งบทความ 
4.กรุณาแนบหลักฐานการโอนเงินพร้อมการส่งบทความผ่านระบบวารสารออนไลน์