การบริหารสถานศึกษาโดยใช้หลักธรรมาภิบาลเป็นฐาน

Main Article Content

วัฒนา สายเชื้อ

บทคัดย่อ

หลักธรรมาภิบาลเริ่มเข้ามาเป็นประเด็นทางการเมืองและสังคมไทยตั้งแต่ ปี พ.ศ.2540 ในช่วงที่ประเทศไทยอยู่ระหว่างการร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2540 โดยมีการวางระบบบริหารบ้านเมือง
ให้เป็นประชาธิปไตย เน้นกระบวนการมีส่วนร่วมมากขึ้น ต่อมาได้มีระเบียบสานักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการสร้างระบบบริหารกิจการบ้านเมืองและสังคมที่ดี พ.ศ.2542 กาหนดให้ทุกหน่วยงานของรัฐ ดาเนินการบริหารจัดการโดยยึดหลักธรรมาภิบาล 6 หลัก ต่อมามีการตราพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546 ประกอบด้วยหลักธรรมาภิบาล 10 หลัก และต่อมาสานักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ ได้จัดกลุ่มหลักธรรมาภิบาลของการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีใหม่ 4 หลักการสาคัญ และ 10 หลักการย่อย ซึ่งคณะรัฐมนตรีในการประชุมเมื่อวันที่ 24 เมษายน 2555 ได้ มีมติเห็นชอบ ประกอบด้วย
1) การบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่ ได้แก่ ประสิทธิภาพ ประสิทธิผล และการตอบสนอง 2) ค่านิยมประชาธิปไตย ได้แก่ ภาระรับผิดชอบ เปิดเผย/โปร่งใส หลักนิติธรรม และความเสมอภาค 3) ประชารัฐ ได้แก่ การมีส่วนร่วม/ การพยายามแสวงหาฉันทามติ และการกระจายอานาจ 4) ความรับผิดชอบทางการบริหาร ได้แก่ คุณธรรม/จริยธรรม ผู้บริหารทุกคนต้องเป็นผู้มีความรู้หรือมีศาสตร์ทางการบริหาร และมีความสามารถในการที่จะประยุกต์ศาสตร์เหล่านั้นไปปฏิบัติได้อย่างมีศิลป์ การนาหลักธรรมาภิบาลไปใช้ในการบริหารสถานศึกษาให้ประสบความสาเร็จนั้นสถานศึกษาต้องมีกระบวนการพัฒนาวัฒนธรรมองค์การสู่วัฒนธรรมธรรมาภิบาล 3 ขั้นตอน คือ สร้างวัฒนธรรมองค์การ พัฒนาวัฒนธรรมองค์การ และธารงรักษาวัฒนธรรมองค์การ ทั้งนี้ต้องมีการพัฒนาผู้เกี่ยวข้องในสถานศึกษาให้มีความรู้ ความสามารถ และทัศนคติที่ดีต่อการปฏิบัติงานตามขอบข่ายของงานบริหารสถานศึกษา และการปฏิบัติตนตามหลักธรรมาภิบาล โดยผู้บริหารสถานศึกษา ปฏิบัติตนให้เป็นแบบอย่างที่ดีอย่างต่อเนื่องและสม่าเสมอ จึงจะส่งผลให้การบริหารสถานศึกษาโดยใช้หลักธรรมาภิบาลเป็นฐาน เป็นฟันเฟืองยึดเหนี่ยวซึ่งกันและกันอย่างมั่นคงตลอดไป

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

ขวัญจิตร บุญยืน. แนวทางการพัฒนาการบริหารงานองค์การบริหารส่วนตาบลบางปลา อาเภอบางพลีจังหวัด สมุทรปราการ ตามหลักธรรมาภิบาล. รายงานการศึกษาอิสระรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 2551.
จรุณี เก้าเอี้ยน. การพัฒนารูปแบบการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานตามหลักธรรมาภิบาลในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้. ยะลา : คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา, 2557.
จันทรานี สงวนนาม, ทฤษฎีและแนวปฏิบัติในการบริหารสถานศึกษา Theory and Practice in Educational Institution. กรุงเทพฯ : บุ๊ค พอยท์, 2545.
ฉวีวรรณ โฉมอุทัย. กระบวนการปฏิบัติงานที่นาไปสู่การได้รับรางวัลธรรมาภิบาลขององค์การบริหารส่วนตำบล นิคมพัฒนา อำเภอนิคมพัฒนา จังหวัดระยอง. รายงานการศึกษาอิสระรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่นมหาวิทยาลัยขอนแก่น, 2552.
ทิวากร แก้วมณี. ธรรมาภิบาล Good Governance. กรุงเทพฯ : สยามปริทัศน์, 2559.
เพลินตา ตันรังสรรค์. หลักธรรมาภิบาลของการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี(Good Governance).(ออนไลน์) 2558 (อ้างเมื่อ 4 กรกฎาคม 2560). จาก : http://click.senate.go.th/?p=3772
วิโรจน์ สารรัตนะ. ผู้บริหารโรงเรียน สามมิติการพัฒนาวิชาชีพสู่ความเป็นผู้บริหารที่มีประสิทธิผล. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ทิพย์วิสุทธิ์, 2548.
สถาบันพระปกเกล้า. ตัวชี้วัดธรรมาภิบาล. กรุงเทพฯ : สถาบันพระปกเกล้า, 2544.
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. ปัจจัยที่ทำให้ระบบโรงเรียนประสบความสำเร็จ ข้อมูลพื้นฐานจากโครงการ PISA 2009. กรุงเทพฯ : อรุณการพิมพ์, 2554.
เสน่ห์ จุ้ยโต. มิติใหม่การบริหารธรรมาภิบาลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น : ทฤษฎีและงานวิจัย. นนทบุรี : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2557.