การบริหารงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน
Main Article Content
บทคัดย่อ
ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนมีทั้งหมด 5 ขั้นตอน คือ 1) การรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล 2) การคัดกรองนักเรียน 3) การส่งเสริมนักเรียน 4) การป้องกันและแก้ไขปัญหา 5) การส่งต่อ ซึ่งการจัดระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่ดีต้องมีการบริหารที่เป็นระบบโดยมีกระบวนการวิธีการ และเครื่องมือที่มีคุณภาพ มีมาตรฐาน และสามารถตรวจสอบได้ โดยนำการบริหารเชิงระบบมาใช้ในการดูแลช่วยเหลือนักเรียน ประกอบด้วยขั้นตอนการ ดำเนินงาน 4 ขั้นตอน ดังนี้ 1) การวางแผน 2) การดำเนินงาน 3) การตรวจสอบและประเมินผล และ 4) การปรับปรุงพัฒนา ซึ่งการดำเนินงานเพื่อให้ระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนบรรลุผลสำเร็จและเป็นไป อย่างยั่งยืนจำเป็นต้องใช้ยุทธวิธีการทำงานร่วมกันเป็นทีมของบุคลากรในสถานศึกษาและนอก สถานศึกษาตลอดจนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการผลักดันและบูรณาการทำงานเข้าสู่ระบบและ พัฒนาบุคลากร สนับสนุนปัจจัยเอื้อต่อการดำเนินงาน ติดตาม ประเมินผล พร้อมทั้งสร้างขวัญ และกำลังใจให้แก่ผู้ปฏิบัติงาน เพื่อให้เกิดความร่วมแรงร่วมใจ ร่วมคิดและร่วมทำไปพร้อม ๆ กัน ตลอดจนแสวงหาแนวทางในการสร้างเครือข่ายผู้ปกครองและชุมชนต่อไป
Article Details
References
กรมสุขภาพจิต. (2546). คู่มือครูระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ช่วงชั้นที่ 1 - ช่วงชั้นที่ 2 ( ประถมศึกษาปีที่ 1–ประถมศึกษาปีที่ 6). กรุงเทพฯ: สถาบันราชานุกูล.
จุติกรณ์ นิสสัย. (2558). การศึกษาการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนบ้านหนองปรือสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 3. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา.
ดาวรุ่ง มุกดากิจ. (2554). การพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนบ้านหนองแซง อําเภอ ท่าคันโท จังหวัดกาฬสินธุ์ โดยการใช้หลักการวิจัยเชิงปฏิบัติการ. งานนิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
นัยนา ตรงบรรทัด. (2557). การบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมโดยกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดประขวบคีรีขันธ์. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารและพัฒนา ประชาคมเมืองและชนบท มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี.
ประสาน จินตนากูล. (2555). สภาพและปัญหาการบริหารระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาชลบุรี เขต 3. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์.
ปัทมพร วงศ์เณร. (2555). พฤติกรรมการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อกระบวนการนิเทศภายในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ประจวบคีรีขันธ์ เขต 1.วิทยานิพนธ์ ครุศาสตร มหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี.
เพ็ญศรี นิตยา. (2551). สภาพและปัญหาการบริหารระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาขอนแก่น เขต 4. การค้นคว้าอิสระครุศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย.
มธุริน แผลงจันทึก. (2554). การศึกษาปัญหาการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา นครราชสีมา เขต 5. วิทยานิพนธ์ ค.ม. (การบริหารการศึกษา). ชัยภูมิ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ.
วิโรจน์ สารรัตนะ. (2555). แนวคิด ทฤษฎี และประเด็นเพื่อการบริหารทางการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพฯ: ทิพยวิสุทธิ์.
สมหมาย เจริญภูมี. (2555). ความสัมพันธ์ระหว่างกระบวนการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษากับการดำเนินการปฏิรูปการศึกษาทศวรรษที่สอง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบุรีเขต 2. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2547). แนวทางการดําเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือ นักเรียนในสถานศึกษา. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ (ร.ส.พ.)..
อุดรรักษ์ คำลุน. (2554). การบริหารงานแบบมีส่วนร่วมเพื่อการวิจัยในชั้นเรียนที่ส่งผลต่อคุณภาพการศึกษาด้านผู้เรียนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 1. มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี.
Bartol, K. M., & Martin, D. C. (2004). Management. (2nd ed.). New York: McGraw - Hill. Dessler, G.
Management, Principles and Practices for Tomorrow’s Leaders. (1997). New Jersey: Pearson Education.
Freeman, R. E. (1992). Management. 5th ed.. New Jersey: Practice – Hall.