แรงจูงใจในการปฏิบัติงานในสถานศึกษา แรงจูงใจในการปฏิบัติงานในสถานศึกษา

Main Article Content

ศรัณย์ ประสาร

บทคัดย่อ

การทำงานถือเป็นสิ่งสำคัญต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ มนุษย์ต้องการสิ่งตอบแทนจากการทำงาน การทำงานจะทำให้มนุษย์มีรายได้ มีชื่อเสียง มีสิ่งที่ตอบสนองความต้องการของตนเอง การทำงานถือเป็นสิ่งสำคัญและส่งผลต่อการดำรงชีวิต มนุษย์จะเลือกงานที่มีความสอดคล้องกับความต้องการของตนเอง แรงจูงใจเป็นสิ่งสำคัญต่อการทำงาน หากการทำงานที่มีแรงจูงใจในการปฏิบัติงานจะทำให้สามารถปฏิบัติงานได้ดีเรียบร้อยและมีคุณภาพแต่หากงานที่ขาดแรงจูงใจจะทำให้ความสามารถในการปฏิบัติงานลดลงขาดคุณภาพและความเรียบร้อย ซึ่งสอดคล้องกับทฤษฎีแรงจูงใจของ Herzberg (อ้างอิง ประเสริฐ อุไร 2559 : 12) ปัจจัยที่มีผลต่อความพึงพอใจในงาน  ประกอบไปด้วย 1.ปัจจัยค้ำจุนเป็นปัจจัยที่ขาดแล้วพนักงานจะมีแนวโน้มเกิดความไม่พึงพอใจต่องานได้แก่ 1) ค่าตอบแทนและผลประโยชน์ 2) นโยบายบริษัทและการบริหาร 3) ความสัมพันธ์ในหมู่พนักงานด้วยกันความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลในองค์การ 4) สภาพแวดล้อมทางกายภาพในการทำงานสภาพการทำงาน 5) การควบคุมดูแลของหัวหน้างาน 6) สถานภาพในการทำงาน 7) ความมั่นคงในงาน 2. ปัจจัยจูงใจ คือทปัจจัยที่ก่อให้เกิดแรงจูงใจให้คนทํางานอย่างมีความสุขมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์และมีประสิทธิภาพสูงขึ้น ประกอบไปด้วย 1) ความสำเร็จในการทำงาน 2) การได้รับการยอมรับหรือการได้รับการยอมรับยกย่องในผลงาน 3) เนื้องานที่ทำมีลักษณะเป็นงานที่น่าสนใจ 4) ความรับผิดชอบในงาน 5) การได้รับการเลื่อนตำแหน่ง 6) ความเจริญ ความก้าวหน้าในการทำงาน


ดังนั้น ปัจจัยเหล่านี้จะส่งผลต่อการปฏิบัติงาน จึงเปรียบเสมือนแรงจูงใจเป็นฟันเฟืองที่จะขับเคลื่อนการปฏิบัติงานในองค์กรอีกด้วย 

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

ณัฐริกา กลิ่นเมือง และคณะ. (2561). แรงจูงใจในปฏิบัติงานของพนักงานบริษัท เอ็นซี โคโคนัท จำกัด ตำบลแพงพวย อำเภอดาเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎนครปฐม. 7(1), 260-274

เถลิงศักดิ์ อินทรสร. (2554). แรงจูงใจกับการปฏิบัติงานของพนักงานรักษาความปลอดภัยในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาบริหารการศึกษา ภาควิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ธนัญพร สุวรรณคาม. (2559). ปัจจัยด้านแรงจูงใจในการทำงาน ความพึงพอใจในงาน ที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์การของพนักงานธนาคารพาณิชย์แห่งหนึ่ง. งานวิจัยการศึกษาตามหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

นิตยา พรมจันทร์. (2562). แรงจูงใจและภาวะผู้นำที่มีผลสัมฤทธิ์ต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานในองค์กรยุค 4.0 กรณีศึกษา บริษัท อาซีฟา จำกัด (มหาชน). การค้นคว้าอิสระการศึกษาตามหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล.

ประเสริฐ อุไร. (2559). แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของพนักงานกรณีศึกษา บริษัท เอจีซี ออโตโมทีฟ (ประเทศไทย) จํากัด. สารนิพนธ์หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารจัดการองค์การ คณะศิลปะศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกริก.

ปวีณรัตน์ สิงหภิวัฒน์. (2557). แรงจูงใจที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของบุคลากรในสังกัดอาชีวศึกษาจังหวัดลำปาง. การค้นคว้าอิสระ ตามหลักสูตรปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต บัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยเนชั่น.

พรสวัสดิ์ ศิรศาตนันท์. (2555). ภาวะผู้นําทางการศึกษาจันทบุรี. คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.

พระพงษ์ศักดิ์ สนฺตมโน (เกษวงศ์รอด). (2561). แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของพนักงานเทศบาลเมืองสระแก้ว จังหวัดสระแก้ว. สารนิพนธ์หลักสูตรปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พัชรินทร์ กลายสุวรรณ. (2560). แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของพนักงาน บริษัท ไฮเวย์ จํากัด. สารนิพนธ์หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต กลุ่มวิชาการจัดการภาครัฐและภาคเอกชน วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา.

พิเชษฐ์ ศรีไชยวาน. (2554). แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรองค์การบริหารส่วนตำบลในเขตพื้นที่อำเภอศรีสมเด็จ จังหวัดร้อยเอ็ด. สารนิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารงานท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ.

วราลักษณ์ จันดี. (2559). แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูโรงเรียนพระปฐมวิทยาลัย 2 หลวงพ่อเงินอนุสรณ์. การค้นคว้าอิสระการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา ภาควิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สัมมา รธนิธย์. (2556). หลัก ทฤษฎี และปฏิบัติการบริหารการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 4 .กรุงเทพฯ: พิมพ์ดี จำกัด.

สุกัญญา จันทรมณี. (2557). แรงจูงใจและสภาพแวดล้อมในการทำงานที่มีผลต่อความผูกพันต่อองค์การของพนักงานบริษัท ฮานา เซมิคอนดักเตอร์ (อยุธยา) จำกัด. การศึกษาค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพฯ.

อิสริยา รัฐกิจวิจารณ์ ณ นคร. (2557). แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูโรงเรียนมัธยมศึกษาสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 17 (จันทบุรี-ตราด). งานนิพนธ์การศึกษาหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาการจัดการภาครัฐและภาคเอกชน วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา.

Gilmer, V. B. (1971). Industrial and organizational psychology. (2rded.). New York: McGraw-Hill.