ความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของครูต่อการบริหารการศึกษา

Main Article Content

แพรวพรรณ ทาสมบูรณ์

บทคัดย่อ

การศึกษาเป็นกระบวนการสำคัญที่จะช่วยให้คนมีความรู้ความสามารถที่จะปรับตัวให้อยู่ในสังคมอย่างความสุข ซึ่งการจัดการศึกษาในทุกระดับนั้นจะประสบความสำเร็จมากน้อยเพียงใด ย่อมขึ้นอยู่กับผู้บริหารและครูบุคคลากรเป็นสำคัญ โดยความพึงพอใจหมายถึงความรู้สึก ทัศนคติ และเจตคติของบุคคลที่มีต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่งความพอใจที่เกิดขึ้นเมื่อได้รับสิ่งที่ต้องการหรือบรรลุจุดหมาย เป็นความรู้สึกหรือทัศนคติที่เป็นไปในทางบวกซึ่งความพึงพอใจทำให้บุคคลเกิดความรู้สึกกระตือรือร้น มีความมุ่งมั่นที่จะทำงาน มีขวัญและกำลังใจ ในบทความนี้ได้นำเสนอเกี่ยวกับแนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับความพึงพอใจในการปฏิบัติงาน ความหมายของความพึงพอใจ องค์ประกอบที่ทำให้เกิดความพึงพอใจ การวัดความพึงพอใจ แนวคิดของการบริหารการศึกษาและความสำคัญของการบริหารการศึกษา ทั้งนี้ ความพึงพอใจในงานเป็นสิ่งจำเป็นที่ผู้บริหารทุกระดับพึงสร้างและปลูกฝังให้มีในหน่วยงาน เพราะเป็นหัวใจของการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ การจัดการศึกษาโดยครูและบุคลากรทางการศึกษามีส่วนร่วม มีความพึงพอใจ ภารกิจงานต่างๆก็จะประสบผลสําเร็จตามเป้าหมายที่กำหนดไว้โดยเป้าหมายของการจัดการศึกษาคือ ทําให้ผู้เรียนเป็นคนดี เก่ง และมีความรู้ เพื่อพัฒนาสังคมและประเทศต่อไป

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

กุสุมา ลมเชย. (2550). แนวทางการขยายชั้นเรียนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วารสารข่าวครูศรีสะเกษ, 40(2), 24-25.

คเชนพงษ์ สุมาลย์โรจน์. (2550). ความพึงพอใจของผู้ปกครองนักเรียนที่มีต่อการบริหารงานของสถานศึกษาในอำเภอม่วงไข่ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาแพร่เขต 1. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์.

จินดา ทรัพย์เมฆ. (2549). ความพึงพอใจของครูในการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษาคณะศึกษาศาสตร์, มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์.

จำเนียร พลหาร. (2553). หลักทฤษฎีและการปฏิบัติการบริหารการศึกษา. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

ธีระ รุญเจริญ. (2550). ความเป็นมืออาชีพในการจัดและบริหารการศึกษายุคปฏิรูปการศึกษา. กรุงเทพฯ: ข้างฟ่าง.

นพพงษ์ บุญจิตราดุลย์. (2551). โน้ตย่อบริหาร. เชียงใหม่ : ออเร้นจ์ กรุ๊ป ดีไซด์, 2551.

บุญเรียง ขจรศิลป์. (2549). สถิติวิจัย 1. (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ: ภาควิชาการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์. (2544). จิตวิทยาการบริหารงานบุคคล. กรุงเทพฯ: ศูนย์สื่อเสริมวิชาการ,.

พหล ดีมาก. (2550). ความพึงพอใจของผู้ปกครองนักเรียน และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานต่อการปฏิบัติตามมาตฐานการศึกษาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นของโรงเรียน สังกัดเทศบาลเมืองมหาสารคาม. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชา การบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

พันทิพา มาลา. (2546). การศึกษาแนวทางการบริหารงานวัฒนธรรมของสำนักศิลปวัฒนธรรม สถาบันราชภัฏ. วิทยานิพนธ์ ค.ม. (การบริหารการศึกษา) พระนครศรีอยุธยา บัณฑิตวิทยาลัยสถาบันราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.

มนตรี ดวงสิน. (2553). การความพึงพอใจของครูที่มีต่อการบริหารของโรงเรียนเทศบาล 1 ตลาดเก่า สังกัดเทศบาลเมืองกระบี่. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา.

วาสนา เลื่อมเงิน. (2550). ความพึงพอใจต่อคุณภาพการศึกษาของผู้ปกครองนักเรียนในศูนย์เครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษาบ้านแพง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามหาสารคาม เขต 1. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

วิรัช วิรัชนิภาวรรณ. (2551). การวิเคราะห์เปรียบเทียบความหมายของการบริหารการจัดการ การบริหารการพัฒนาและการบริหารจัดการ. กรุงเทพ: บริษัท เอ็กซเปอร์เน็ท จํากัด.

สมศักดิ์ คงเที่ยง และคณะ. (2543). เอกสารการบรรยายกระบวนวิชา EA 733 การบริหารบุคลากรและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคําแหง.

สมยศ นาวีการ. (2544). การบริหารแบบมีส่วนร่วม. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สารินทร์ เอี่ยมครอง. (2561). แนวทางการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษาในจังหวัดชัยนาท สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 5. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.

สุธาสินี ประสานวงศ์. (2550). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจของผู้ปกครองในการส่งเด็กเข้าเรียน ระดับการศึกษาปฐมวัยของโรงเรียนเอกชน จังหวัดมหาสารคาม. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

สุธรรม ธรรมทัศนานนท์. (2554). หลักการ ทฤษฎี และแนวปฏิบัติทางการบริหารการศึกษา. ใน เอกสาร ประกอบการสอนวิชา 0501-701. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

สุรวิทย์ ธาดา. (2551). การใช้ทรัพยากรบุคคลในท้องถิ่นเพื่อการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุบลราชธานี เขต 1. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.

อรุณ รักธรรม. (2527). หลักมนุษยสัมพันธ์ในการบริหาร. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.

Harris, B. W. (2001). Personal administration in education. Boston: Allyn & Bacon.

Glover, J. A. (2002). Cognitive psychology for teachers. New York: McMillan.

Gillmor, C. M. (1997). The Graduate efficiency index: validity and use accountability and research measure. Research in higher education, 29(18), 600-3.