การศึกษาการดำเนินงานนิเทศแบบกลุ่มเครือข่ายสถานศึกษาของผู้บริหารสถานศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 3
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพ 2) เปรียบเทียบความคิดเห็นจำแนกตาม เพศ วุฒิการศึกษา ประสบการณ์ 3) ศึกษาปัญหาและแนวทาง การดำเนินงานนิเทศแบบกลุ่มเครือข่ายสถานศึกษา ของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 3ประชากรที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 3 จำนวน 5 อำเภอ 209 โรงเรียนกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ประชากรทั้งหมดได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 209 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามแบบประมาณค่า 5 ระดับ ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 85 ชุดที่ 2 แบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่า t การทดสอบค่า F
ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพการดำเนินงานนิเทศแบบกลุ่มเครือข่ายสถานศึกษา ของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 3 ทั้ง 5 ด้าน พบว่า โดยภาพรวมมีการปฏิบัติระดับมาก 2. การเปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้บริหารต่อการการดำเนินงานนิเทศแบบกลุ่มเครือข่ายสถานศึกษา ของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 3 พบว่า ผู้บริหารเพศชายกับเพศหญิง มีความคิดเห็นไม่แตกต่างกัน ผู้บริหารที่มีวุฒิการศึกษา และประสบการณ์ในการทำงานต่างกัน มีความคิดเห็นแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. ปัญหาและแนวทาง การดำเนินงานนิเทศแบบกลุ่มเครือข่ายสถานศึกษา ของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 3 ด้านการวางแผนการนิเทศ พบว่า ส่วนใหญ่ไม่ทราบถึงความต้องการจำเป็นในการพัฒนา ของบุคลากรในแต่ละโรงเรียนกับสภาพปลายทางที่ต้องการมีความจำเป็นที่จะต้องพัฒนาปรับปรุงแก้ไขด้านใดบ้าง แนวทางการในการวางแผนการนิเทศ ประเมินความต้องการจำเป็นในการพัฒนาของโรงเรียนในกลุ่มเครือข่าย โดยพิจารณาจากสภาพปัจจุบัน ด้านการพัฒนาทักษะการทำงานกลุ่ม พบว่า ครูในกลุ่มเครือข่ายมีความคิดเห็นที่แตกต่างกันมากจนเกินไปแนวทางการในการพัฒนาทักษะการทำงานกลุ่มควรมีการจัดการระบบสื่อสารระหว่างครูในกลุ่มเครือข่ายให้ดีด้านการพัฒนาทางวิชาชีพ พบว่า ครูยังขาดความรู้ความสามารถที่หลากหลาย แนวทางการในการพัฒนาทางวิชาชีพ ควรเปิดอบรมโครงการที่หลายหลายมากขึ้นสำรวจความต้องการของครูก่อนที่จะเปิดโครงการอบรมให้ความรู้ ด้านการควบคุม กำกับ ติดตามการนิเทศ พบว่า ผู้บริหารยังขาดการ ติดตาม ดูแลช่วยเหลือ แนวทางการในการควบคุม กำกับ ติดตามการนิเทศผู้บริหารต้องดำเนินการในลักษณะเป็นการ ติดตาม ดูแลช่วยเหลือ กำกับ สนับสนุนให้ครูสามารถทำงานได้จนบรรลุผลสำเร็จด้านการให้ความช่วยเหลือแก่ครูโดยตรง พบว่า ครูมีภาระงานค่อนข้างมาก แนวทางการในการให้ความช่วยเหลือแก่ครูโดยตรง ผู้บริหารต้องสร้างหรือเสริมแรงกับครูที่มีผลงานเด่นโดยการสร้างขวัญและกำลังใจแก่ผู้รับการนิเทศ
Article Details
References
กระทรวงศึกษาธิการ. พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542. กรุงเทพฯ : โรงพิมพองค์การรับส่งสินค้าและพสัดุภณั ฑ์(ร.ส.พ.),2542.
ธีระศักดิ์ เลื่อยไธสง. การนิเทศภายในโรงเรียน. สาสน์นิเทศการศึกษา. 4 (1): 2, 2550
.นโยบายของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ประจำปี 2561.
พรทิพย์ เตียวพานิชย์กิจ. การติดตามการดำเนินงานนิเทศภายในโรงเรียนประถมศึกษาต้นแบบสังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดยโสธร.วิทยานิพนธศึกษาศาสตรมหาบัณฑิตมหาวิทยาลัยขอนแก่น, 2539.
พัชรินทร์ ช่วยศิริ. การศึกษาการดำเนินงานนิเทศภายในของโรงเรียนวัดประดู่ฉิมพลี. ปริญญานิพนธ์ กศ.ม.สาขาวิชาการบริหารการศึกษามหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 2554.
ยุทธนาดำกระ. การนิเทศภายในของโรงเรียนประถมศึกษาเอกชน เขตการศึกษา 4. ปริญญานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2546.
วัฒนา จุมพล. การศึกษาการนิเทศภายในของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 3. วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์มหาบัณฑิตบัณฑิตสาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี, 2557.
ศึกษาธิการ, กระทรวง.พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545.กรุงเทพ : องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์, 2545.
สงัด อุทรานันท์. การนิเทศการศึกษา หลักการ ทฤษฎีและปฏิบัติ. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มิตรสย2530.
สดใส ศรีสวัสดิ์. การนิเทศภายในของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร. ปริญญานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2546.
สมศักดิ์ เศวตสุพร. การนิเทศภายในของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อพัฒนาโรงเรียนทั้งระบบ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาฉะเชิงเทรา เขต 2. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์, 2549.
สวัสดิ์เดชกัลยา. การดำเนินงานนิเทศภายในโรงเรียนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. นครนายก : สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครนายก, 2550.
อรรถพร ปิ่นมั่น.ปัญหาการนิเทศภายในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาชลบุรีเขต 1. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์, 2550.