การบริหารสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 3
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันในการบริหารสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 3 2) เปรียบเทียบสภาพปัจจุบันในการบริหารสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 3 จำแนกตามตำแหน่ง ประสบการณ์การทำงาน และขนาดของสถานศึกษา 3) ศึกษาแนวทางการพัฒนาการบริหารสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 3 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ผู้บริหาร 113 คน ครูผู้สอน 225 คน รวมเป็น 338 คน โดยวิธีสุ่มแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม ลักษณะเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า และแบบแสดงข้อคิดเห็นเพิ่มเติม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์การทดสอบค่าที และการทดสอบค่าเอฟ ทดสอบความแตกต่างระหว่างคู่ โดยใช้วิธีของเชฟเฟ่ และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัจจุบันในการบริหารสถานศึกษา ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 3 พบว่า โดยรวมและรายด้าน อยู่ในระดับมาก 2) ผลการเปรียบเทียบสภาพปัจจุบันในการบริหารสถานศึกษา ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 3 การวิจัยได้ผล ดังนี้ 2.1) สภาพปัจจุบันในการบริหารสถานศึกษา ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในสถานศึกษา พบว่า จำแนกตามตำแหน่ง และประสบการณ์การทำงาน โดยรวมไม่แตกต่างกัน แต่บุคลากรที่ปฏิบัติหน้าที่ในสถานศึกษาที่มีขนาดต่างกัน มีความคิดเห็นแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 3) การศึกษาแนวทางการพัฒนาการบริหารสถานศึกษา ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 3 มีดังนี้ 3.1) โรงเรียนควรที่จะดำเนินการ น้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษา โดยการนำนโยบายหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาบูรณาการในการกำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าหมาย ในแผนปฏิบัติการและรัฐธรรมนูญโรงเรียน 3.2) โรงเรียนควรเน้นการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน ให้เข้ามาบริหารจัดการโดยระดมทรัพยากรที่มีคุณค่าในชุมชน มาใช้ขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษาให้ประสบผลสำเร็จ 3.3) โรงเรียนควรสนับสนุนให้ครู สร้างหลักสูตรท้องถิ่นที่เป็นของสถานศึกษาโดยเฉพาะ
Article Details
References
นพรัตน์ ประกอบมิตร. ศึกษาปัญหาการจัดการศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจ พอเพียง ในโรงเรียนกลุ่มเครือข่ายตำบลพระเพลิง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระแก้ว เขต 1. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยบูรพา, 2558.
บัญญัติ นนทามาลย์ และคณะ. สภาพการจัดการศึกษาโดยยึดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ของโรงเรียนในเขตอำเภองาว จังหวัดลำปาง. การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองการศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัย นเรศวร, 2551.
บุญชม ศรีสะอาด. การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น, 2545.
ประภาพร สุปัญญา. การนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสู่การปฏิบัติจริงของแกนนำหมู่บ้านที่เข้าร่วมโครงการหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงของจังหวัดขอนแก่น. วิทยานิพนธ์การศึกษา มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยขอนแก่น,2550.
ระพีพรรณ คณาฤทธิ์. การบริหารสถานศึกษาตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 2. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี, 2554.
รัชดา ทองสุข. การรับรู้การบริหารจัดการสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาพระนครศรีอยุธยาเขต 1 และ เขต 2. วิทยานิพนธ์ ครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา, 2552.
สมดี พวงภักดี. สภาพการดำเนินงานตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตามการรับรู้ของผู้บริหารและครูผู้สอน
ในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุดรธานี. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตร มหาบัณฑิตมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี, 2550.
สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ. คู่มือปฏิบัติงานสำหรับผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภา, 2541.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 10 พ.ศ.2550-2554 (ออนไลน์)2550 (อ้างเมื่อ 20 กันยายน 2557).จากhttp://www.idd.go.th/Thaitml/PDF/PDFO1/index.htm
Lamberton, G. “Sustainable Sufficiency: an Internally Consistent Version of Sustainability. Sustainable Development. 13, 1 (2005): 53-68.
Krejcie. R.V. and Morgan. D.W. Educational and Psychological Measurement. New York: Stag, 1970.
Calkins, P. “Sufficiency Economy Matrices: Multi-Period Optimization for Local Development Planners,” Journal of Economics and Management, 5, 2(2009): 305- 332.
Hong, P.Y.P., Vamadu A.S, and Naeger, S.R. “A Bottom-up Definition of Self-sufficiency Voices from Low-income Jobseekers.,” Qualitative Social Work, 8, 3 (2009): 357-376.