สภาพและปัญหาการใช้ระบบสนับสนุนการบริหารจัดการเขตพื้นที่การศึกษา ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 4
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพและปัญหาการใช้ระบบสนับสนุนการบริหารจัดการเขตพื้นที่การศึกษาในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 4 2) เพื่อเปรียบเทียบสภาพและปัญหาการใช้ระบบสนับสนุนการบริหารจัดการเขตพื้นที่ ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 4 จำแนกตาม ตำแหน่ง ระดับการศึกษา และขนาดโรงเรียน 3) เพื่อศึกษาแนวทางในการพัฒนาการใช้ระบบสนับสนุนการบริหารจัดการเขตพื้นที่ ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 4 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ ได้แก่ผู้บริหารโรงเรียนในตำแหน่งผู้อำนวยการจำนวน 30 คน และครูที่ปฏิบัติหน้าที่เจ้าหน้าที่งานข้อมูลสารสนเทศ จำนวน 135 คน รวม 165 คน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 4 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ แบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 40 ข้อ มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.84 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบที และการทดสอบเอฟ
ผลการวิจัยพบว่า
- สภาพการใช้ระบบสนับสนุนการบริหารจัดการเขตพื้นที่การศึกษาในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 4 ทั้งภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก ส่วนปัญหาการใช้ระบบสนับสนุนการบริหารจัดการเขตพื้นที่การศึกษาในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 4 ทั้งภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก
- เมื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ข้อมูลสารสนเทศต่อสภาพการและปัญหาการบริหารจัดการโดยใช้ระบบสนับสนุนการบริหารจัดการเขตพื้นที่การศึกษา ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 4 จำแนกตามตำแหน่ง สภาพโดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 ส่วนปัญหาไม่แตกต่างกัน จำแนกตามวุฒิการศึกษา ทั้งสภาพและปัญหาโดยรวมไม่แตกต่างกัน จำแนกตามขนาดโรงเรียน ทั้งสภาพและปัญหาโดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
- ข้อเสนอแนะในการบริหารที่สำคัญเป็นดังนี้ ควรส่งเสริมสนับสนุนบุคลากรทุกคนให้ได้เข้ารับการอบรมการใช้งานระบบ และควรจัดสรรบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถด้าน ICT ให้มาช่วยในการดูแลในการรับส่งเอกสารราชการทางระบบ เช่น ครูธุรการ สำหรับโรงเรียนขนาดเล็กที่มีบุคลากรน้อย สนับสนุนอุปกรณ์คอมพิวเตอร์รุ่นใหม่ให้แก่เจ้าหน้าที่ข้อมูลสารสนเทศ เพื่อการเข้าใช้งานระบบที่ดีมากยิ่งขึ้น ทำให้มีความสะดวก รวดเร็ว มีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ผู้บริหารควรมีการวางแผน มอบหมายภาระงานให้ชัดเจน และเข้าใช้ระบบอย่างสม่ำเสมอ เพื่อการรับส่งข้อมูลข่าวสารต่างๆ ให้ทันเหตุการณ์ และผู้บริหารควรให้ความร่วมมือและเอาใจใส่ กำกับ ติดตาม อย่างสม่ำเสมอ
Article Details
References
กระทรวงศึกษาธิการ. การจัดระบบสารสนเทศในโรงเรียน. กรุงเทพฯ กระทรวงศึกษาธิการ, 2533.
________. การใช้ ICT พัฒนาและบริหารกำลังคนเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพระบบราชการวารสารวิทยบริการ, 16(1), 32 – 32, 2550.
________ พระราชบัญญัติการศึกษาแหงชาติ พ.ศ. 2542. กรุงเทพฯ : คุรุสภาลาดพราว, 2553.
นิพนธ์ เชิญทอง. การบริหารงานโดยใช้ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารของผู้บริหารในโรงเรียน สังกัดเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 10. วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี, 2555.
บุญชม ศรีสะอาด และบุญส่ง นิลแก้ว. การอ้างอิงประชากรเมื่อใช้เครื่องมือแบบมาตราส่วนประมาณค่ากับกลุ่มตัวอย่าง. วารสารการวัดผลทางการศึกษา, 3(1), 23 – 24, 2535.
บุญรัตน์ พิมขาลี. การพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 36 (เชียงราย – พะเยา. วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย, 2556.
เพิ่มศักดิ์ ทองเลิศ. การศึกษาสภาพและปัญหาการจัดระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารการศึกษาในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 5.วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี, 2553.
ยุทธพงษ์ ภูมิพันธ์. การศึกษาสภาพการจัดระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดกรมสามัญศึกษาในจังหวัดศรีสะเกษ. วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี, 2545.
วีระศักดิ์ วงศ์ถาวรพินิจ. การศึกษาปัญหาและข้อเสนอแนะในการจัดระบบสารสนเทศตามทัศนคติของครูผู้รับผิดชอบในโรงเรียนมัธยมศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาปราจีนบุรี. วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยบูรพา, 2553.