สภาพปัญหาและแนวทางการบริหารงานวิชาการของวิทยาลัยสงฆ์จำปาสัก เมืองปากเซ แขวงจำปาสัก ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว

Main Article Content

แสงสะหวัน สิลิจันโท

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพการบริหารงานวิชาการของมหาวิทยาลัยสงฆ์จำปาสัก เมืองปากเซ แขวงจำปาสักประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว 2) เพื่อเปรียบเทียบสภาพการบริหารงานวิชาการของมหาวิทยาลัยสงฆ์จำปาสัก เมืองปากเซ แขวงจำปาสักประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว จำแนกตาม ตำแหน่งและประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน 3) เพื่อศึกษาปัญหาและแนวทางการบริหารงานวิชาการของมหาวิทยาลัยสงฆ์จำปาสัก เมืองปากเซ แขวงจำปาสัก ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ประชากรที่ใช้วิจัยคือ ผู้บริหารและอาจารย์ผู้สอน วิทยาลัยสงฆ์จำปาสัก เมืองปากเซ แขวงจำปาสัก ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ปีการศึกษา 2561 จำนวน 50 คนเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสัมภาษณ์เชิงลึกและแบบสอบถามแบบมาตรส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 41 ข้อ มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ .91 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานการทดสอบค่า z ผลการวิจัยพบว่า


  1. สภาพการบริหารงานวิชาการของมหาวิทยาลัยสงฆ์จำปาสัก โดยรวมอยู่ในระดับมาก

  2. ผลการเปรียบเทียบสภาพการบริหารงานวิชาการของมหาวิทยาลัยสงฆ์จำปาสักจำแนกตาม ตำแหน่งและประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน โดยรวม ไม่แตกต่างกัน

  3. ปัญหาและแนวทางการบริหารงานวิชาการของมหาวิทยาลัยสงฆ์จำปาสัก พบว่า

3.1 ด้านหลักสูตรและการนำหลักสูตรไปใช้ ปัญหาพบว่า เนื้อหาหลักสูตรมีเนื้อหามากเกินไปและเนื้อหาบางเรื่องโดยเฉพาะวิชาพุทธศาสนายากเกินไป เช่นภาษาบาลี ธรรมะวินัยภาษาบาลี แนวทาง คือ มีการจัดทำแผนพัฒนาหลักสูตรให้สอดคล้องและเหมาะสมกับผู้เรียนและผู้สอนที่เป็นพระภิกษุและสามเณร โดยนำหลักสูตรจากประเทศเพื่อนบ้านมาปรับใหม่ เช่น อินเดีย พม่า และไทย อบรมอาจารย์ให้มีความรู้ด้านภาษาบาลีและไอซีทีมากขึ้น


3.2. ด้านการการจัดการเรียนการสอน ปัญหาพบว่า เวลาเรียนไม่เพียงพอเนื่องจากต้องฉันภัตตาหารเพลก่อนเข้าเรียนแต่เนื้อหาที่ต้องเรียนหลักสูตรปกติสายสามัญและยังต้องเรียนเพิ่มวิชาพระพุทธศาสนา ซึ่งส่งผลต่อการเรียนการสอน วิชาที่เรียนไม่เหมาะสมกับผู้เรียน เช่น พลศึกษา ศิลปศึกษา แนวทาง คือ เพิ่มเวลาเรียนโดยมอบหมายงานให้ผู้เรียนได้ศึกษาค้นคว้าด้วยตัวเองมากขึ้น เน้นการใช้สื่อไอซีที เข้ามาช่วยในการสอนให้มากขึ้น มีการปรับวิชาให้เหมาะสมกับผู้เรียน เช่น พลศึกษา เป็นการเดินจงกรม ศิลปศึกษา เป็นการเทศน์ แสดงธรรมหรรษา


3.3 ด้านสื่อการเรียนการสอน ปัญหาพบว่า ยังขาดตำรา เอกสารการสอน ที่ทันสมัย สื่อไม่ทันสมัย ขาดผู้เชี่ยวชาญในด้านการผลิตสื่อการสอน ห้องสมุดมีผู้เรียนเข้าใช้บริการน้อย เอกสารไม่ทันสมัยแนวทาง คือ สนับสนุนให้ผลิตสื่อการสอนในรายวิชาต่าง ๆ อย่างเหมาะสม สนับสนุนการใช้สื่อออนไลน์และอินเตอร์เน็ต


3.4 ด้านการวัดและประเมินผล ปัญหาพบว่า ผู้เรียนขาดความสนใจในการเรียนโดยเฉพาะวิชาทางพระพุทธศาสนา เช่น ธรรมะบาลี ซึ่งไม่สอดคล้องกับชีวิตจริงและการนำไปใช้ในอนาคต อาจารย์ผู้สอนที่เป็นพระภิกษุ มีกิจนิมนต์มาก ส่งผลต่อการประเมินผลการเรียนการสอน แนวทาง คือ ปรับวิชาเรียนให้มีความสอดคล้องเหมาะสมทันสมัยกับเหตุการณ์ที่เปลี่ยนไปมากขึ้น เช่นการประยุกต์ใช้ธรรมะบาลีกับชีวิตประจำวัน กรณีติดกิจนิมนต์ให้มีการมอบหมายงานให้ผู้เรียนศึกษาค้นคว้าและนำเสนองานหรือการสอนชดเชย


3.5 ด้านห้องสมุด ปัญหาพบว่า ยังขาดแคลนหนังสือ ตำราที่ทันสมัยและเพียงพอต่อการใช้งานและเอกสารที่เป็นปัจจุบันทันสมัย ผู้เรียนเข้าใช้บริการน้อย แนวทางคือ จัดหาเอกสาร ตำราที่ทันสมัยและเพียงพอ สนับสนุนการใช้อินเตอร์เนตเพื่อการสืบค้น


3.6 ด้านการนิเทศภายใน ปัญหาพบว่า ยังขาดผู้เชี่ยวชาญด้านการนิเทศมาให้ความรู้ด้านการนิเทศแก่ครู ในบางวิชา เช่น คณิตศาสตร์ แนวทางคือ เชิญผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางมาให้ความรู้เกี่ยวกับการนิเทศการเรียนการสอน จัดให้มีการประชุมทุกวันจันทร์ ติดตามสอบถามงานต่าง ๆ และให้ข้อคิดเห็นในการทำงานร่วมกันในทุกด้าน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เกรียงศักดิ์ วรรณพันธ์. สภาพและปัญหาการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนบางไกเถื่อน (ตันติวิสิษธุ์ประชานุกูล) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาชัยนาท. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม, 2550.
นิลวรรณ วัฒนา. การศึกษาสภาพการบริหารงานวิชาการในโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา จังหวัดชลบุรี. ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 2556.
ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์. การบริหารงานวิชาการ. กรุงเทพฯ: ศูนย์สื่อเสริมกรุงเทพ, 2546.
พระราชปริยัติ (สฤษดิ์ ประธาตุ). การพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการของมหาวิทยาลัย มหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนามหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย, 2549.
ไพบูลย์ กุลมงคล. ปัญหาและข้อเสนอแนะการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษาสังกัดสำนักงานการประถมศึกษา อำเภอวัฒนานคร จังหวัดสระแก้ว. ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา, 2546.
อดิพงษ์ สุขนาค .การพัฒนารูปแบบการวางแผนการบริหารงานวิชาการ โรงเรียนบ้านทุ่งกราดสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 3. ปริญญานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา, 2556.