สภาพปัญหาและแนวทางการบริหารงานบุคคลของวิทยาลัยสงฆ์จำปาสัก เมืองปากเซ แขวงจำปาสัก ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว

Main Article Content

สายสะหมอน คำพูวง
ชวนคิด มะเสนะ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพการบริหารงานบุคคลของวิทยาลัยสงฆ์จำปาสัก เมืองปากเซ แขวงจำปาสักประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว 2) เพื่อเปรียบเทียบสภาพการบริหารงานบุคคลของวิทยาลัยสงฆ์จำปาสัก จำแนกตาม ตำแหน่งและประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน 3) เพื่อศึกษาปัญหาและแนวทางการบริหารงานบุคคลของวิทยาลัยสงฆ์จำปาสัก ตัวอย่างที่ใช้วิจัยคือ ผู้บริหารและอาจารย์ผู้สอน วิทยาลัยสงฆ์จำปาสัก ปีการศึกษา 2561 จำนวน 50 คนเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสัมภาษณ์เชิงลึกและแบบสอบถามแบบมาตรส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 50 ข้อ มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ .89 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าซี


             ผลการวิจัยพบว่า


  1. สภาพการบริหารงานบุคคลของมหาวิทยาลัยสงฆ์จำปาสัก โดยรวมอยู่ในระดับมาก

  2. การเปรียบเทียบสภาพการบริหารงานบุคคลของวิทยาลัยสงฆ์จำปาสักจำแนกตาม ตำแหน่งและประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน โดยรวมไม่แตกต่างกัน 

  3. ผลการศึกษาปัญหาและแนวทางการบริหารงานบุคคลของวิทยาลัยสงฆ์จำปาสัก พบว่า

            3.1 ด้านการสรรหาบุคลากร ปัญหาคือ คุณวุฒิของผู้ที่จะเข้ามาเป็นอาจารย์ผู้สอนโดยเฉพาะ วิชาพุทธศาสนา มีคุณวุฒิที่ต่ำกว่าปริญญาตรี ทำให้ส่งผลต่อความเชื่อถือของผู้เรียนในระดับปริญญาตรี แนวทางคือ การส่งเสริมให้เพิ่มประสบการณ์และคุณวุฒิโดยการศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น ในประเทศที่มีพุทธศาสนา เช่น อินเดีย พม่า และไทย เป็นต้น


            3.2 ด้านการคัดเลือกบุคลากร ปัญหาคือ บุคลากรที่รับเข้ามาไม่ตรงสายและตำแหน่งเนื่องจากยังขาดแคลนบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถเฉพาะทาง เช่น ด้านพระพุทธศาสนา  สาขาฟิสิกส์ เป็นต้น แนวทางคือ การรับบุคลากรที่มีคุณวุฒิใกล้เคียงกัน เช่น รับสาขาคณิตศาสตร์ มาทดแทนสาขาฟิสิกส์


            3.3 ด้านการส่งเสริมและพัฒนาบุคลากร ปัญหาคือ ยังขาดงบประมาณสนับสนุนในการพัฒนาอาจารย์ โดยเฉพาะการส่งเสริมให้ศึกษาในต่างประเทศ ในสาขาที่ขาดแคลน โดยเฉพาะพระสงฆ์ ขาดเอกสารตำราการสอนใหม่ๆ แนวทางคือ การกำหนดจำนวน จัดสรรโควต้าให้ศึกษาต่อโดยได้รับทุนจากรัฐบาลและมหาวิทยาลัย ส่งเสริม อาจารย์พัฒนาค้นคว้า งานวิชาการ วิจัยแต่งตำราเอกสารเพื่อขอผลงานตำแหน่งทางวิชาการ


            3.4 ด้านการประเมินผลการปฏิบัติงาน ปัญหาคือ ปริมาณงานและสัดส่วนการทำงานไม่เท่ากัน ในบางตำแหน่งต้องทำงานทั้งด้านการบริหารและการสอน คะแนนการประเมินไม่แตกต่างกันมากทำให้พิจารณาค่อนข้างยาก แนวทางคือ มีการกำหนดกรอบการประเมินที่ชัดเจน มีการประเมินตนเองจากผลการปฏิบัติงานในรอบปี นำเข้าสู่การพิจารณาของคณะกรรมการประเมิน พูดคุยทำความเข้าใจกันก่อนพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือน


                 3.5 ด้านการจัดสวัสดิการให้บุคลากร  ปัญหาคือ ยังขาดแคลนงบประมาณสนับสนุน แนวทางคือ การเรียนการสสอนให้การสนับสนุนค่าช่วยเหลืออื่น เช่น ค่ารักษาพยาบาล สนับสนุนงบประมาณการเดินทาง ค่าวัสดุอุปกรณ์ตามสมควร ให้ขวัญกำลังใจแก่บุคลากรเช่น งานแต่งงาน คลอดบุตร ขึ้นบ้านใหม่เป็นต้น

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กิตติ โฉลกคงถาวร. เอกสารประกอบการบรรยาย รูปแบบการบริหารงานบุคคลแนวใหม่, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์. กรุงเทพฯ, 2546.
จีรภัทร เชียงทอง. ปัญหาและแนวทางการพัฒนาการบริหารงานบุคลากรของโรงเรียนมัธยมศึกษาในเขตพื้นที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา สังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 3. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา, 2557.
ธงชัย สันติวงษ์. การบริหารงานบุคคล. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช, 2542.
นวลถวิล สุชาดาวุฒิ. สภาพปัญหาและแนวทางการพัฒนาการบริหารงานบุคลากรของโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม, 2550.
วิทยา ศรีจันทร์หล้า. สภาพและปัญหาการบริหารงานบุคคลในสถานศึกษา สังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษาขอนแก่น เขต 4. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย, 2553.
วีระ สุรินทร์. การบริหารงานบุคลากรของโรงเรียนขนาดเล็กในอำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่. การค้นคว้าแบบอิสระศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2553.
อภิญญา แสนสุข. ปัญหาและแนวทางการพัฒนาการบริหารงานบุคคลโรงเรียนสังกัดเมืองพัทยา. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา, 2555.
Scott Edward, Meier. “Northern California School Superintendents’[ Perceptions Regarding Conflicts with Board Member in the Area of Human Resource Administration,” Thesis (Ed.D) University of La Veme, 2001.