ความฉลาดทางอารมณ์ของภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษา ในศตวรรษที่ 21 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์เขต 3 และ สำนักงานส่งเสริมการศึกษาเอกชน ศึกษาธิการจังหวัดระยอง -
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาระดับความฉลาดทางอารมณ์ของผู้บริหารในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์เขต 3 และ สำนักงานส่งเสริมการศึกเอกชน ศึกษาธิการจังหวัดระยอง 2. เปรียบเทียบระดับความฉลาดทางอารมณ์ของผู้บริหารในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์เขต 3 และ สำนักงานส่งเสริมการศึกเอกชน ศึกษาธิการจังหวัดระยอง จำแนกตามประสบการณ์การทำงาน ระดับการศึกษา ขนาดของสถานศึกษา เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ มีเครื่องมือในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม โดยมีกลุ่มตัวอย่าง/กลุ่มเป้าหมาย คือครูที่ปฏิบัติการสอนในโรงเรียนกลุ่มเครือข่ายแพรวาคำม่วง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์เขต 3 และครูที่ปฏิบัติการสอนในโรงเรียนสังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกเอกชน ศึกษาธิการจังหวัดระยอง ซึ่งกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางของ Krejcie and Morgan ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 307 คน และสุ่มโดยวิธีการสุ่มแบบชั้นถูมิอย่างเป็นสัดส่วน (Proportional Stratified Random Sampling) แล้วนำข้อมูลที่รวบรวมได้จากแบบสอบถามมาวิเคราะห์โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ประกอบด้วย ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเปรียบเทียบโดยการทดสอบค่าที (t-test)
ผลการวิจัยพบว่า
1) ระดับความฉลาดทางอารมณ์ของผู้บริหารสถานศึกษาตามความคิดเห็นของครูที่ปฏิบัติการสอนในโรงเรียนกลุ่มเครือข่ายแพรวาคำม่วง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์เขต 3 และครูที่ปฏิบัติการสอนในโรงเรียนสังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกเอกชน ศึกษาธิการจังหวัดระยอง ในภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก
2) ผลการเปรียบเทียบความฉลาดทางอารมณ์ของผู้บริหารสถานศึกษาตามความคิดเห็นของครูที่ปฏิบัติการสอนในโรงเรียนกลุ่มเครือข่ายแพรวาคำม่วง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์เขต 3 และครูที่ปฏิบัติการสอนในโรงเรียนสังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกเอกชน ศึกษาธิการจังหวัดระยอง จำแนกตาม ประสบการณ์การทำงาน ระดับการศึกษา และขนาดโรงเรียน
Article Details
References
กนกพร โพธิมณี. (2562). การศึกษาความฉลาดทางอารมณ์ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี. วิทยานิพนธ์ ครุศาสตรมหาบัณฑิต (การบริหารการศึกษา). จันทบุรี : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.
กมลมาลย์ ไชยศิริธัญญา, ชวนชม ชินะตังกูร. (2563). ความฉลาดทางอารมณ์ใน ศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระนอง. วารสารวิจัยธรรมศึกษา, 6(1), 190-204.
ธนันท์ชัย ฉัตรทอง. (2565). ความ สัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงกับความฉลาดทางอารมณ์ของผู้บริหารสถานศึกษาในสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการเขต 1. วารสารการสอนสังคมศึกษา, 4(1).
บุญชม ศรีสะอาด และคณะ. (2558). พื้นฐานการวิจัยการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 7). กาฬสินธุ์: ตักสิลาการพิมพ์.
ปฐมวิทย์ วิธิรวาท. (2565). ความฉลาดทางอารมณ์ของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพะเยา เขต 1. การศึกษามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยพะเยา.
ล้วน สายยศ และอังคณา สายยศ. (2543). การวัดด้านจิตพิสัย. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสานส์น.
วลัยพร ศรีรัตน์, ชนะศึก นิชานนท์, สุขุม เฉลยทรัพย์. (2565). รูปแบบเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อความฉลาดทางอารมณ์ของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดสำนักงาน คณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน. วารสารวิชาการบัณฑิตวิทยาลัยสวนดุสิต, 18(1), 37-54.
วันกิตติ ทินนิมิตร, เจษฎา นกน้อย, สัญชัย ลั้งแท้กุล. (2563). ความฉลาดทางอารมณ์ภาวะผู้นำและการยอมรับความหลากหลายส่งผลต่อความสำเร็จในอาชีพของเจ้าหน้าที่ตำรวจใน5 จังหวัดชายแดนใต้. วารสารวิจยวิชาการ, 6(4), 239-256.
วิชญพงศ์ ไชยธิกุลโรจน์, ทิพย์พาพร มหาสินไพศาล, ทิวัตถ์ มณี โชติ. (2564). ผู้บริหารสถานศึกษากับการพัฒนาตัวบ่งชี้ความฉลาดทางอารมณ์และสังคม. วารสารการวัดประเมินผลวิจัยและสถิติทางสังคมศาสตร์, 2(1), 17-26
วิมล พลทะอินทร์, พนายุทธ เชยบาล, นวัตกร หอมสิน. (2564). ปัจจัยความฉลาดทางอารมณ์ของผู้บริหารที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงานของครูตาม มาตรฐานวิชาชีพครูด้านการปฏิบัติงานสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 21. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี, 9(1), 125-125.
วิโรจน์ นรารักษ์. (2562). บทบรรณาธิการ. วารสารเศรษฐกิจและสังคม, 56(2), 3.
สุพรรณี วิชกูล. (2563). ผลของโปรแกรม ทักษะชีวิตสำหรับนักเรียนอาชีวศึกษาต่อความฉลาดทางอารมณ์ของนักเรียนอาชีวศึกษาวิทยาลัย เทคนิคบางแสนจังหวัดชลบุรี. วารสารศูนย์อนามัยที่9: วารสารส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม, 17(3), 868-881.
Goleman, D. (1995). Emotional Intelligence. New York : Bantam Books.
Goleman, D. (1998). Working with Emotional Intelligence. New York : Bantam Books.
Goleman, D. (2011). Leadership : The Power of Emotional Intelligence. Boston : More Than Sound.
Krejcie, R. V. & Morgan, D.W. (1970). Determining sample size for research activity. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.
Salovey, P., Mayer, J. D., Goldman, S. L., Turvey, C. and Palfai, T. P. (1995). Emotional Attention, Clarity, and Repair : Explorind Emotional Intelligence Using the Trait Meta - Mood Scale. Emotion Disclosure and Health. Washington : American Psychological.
Yamane Taro. (1973). Statistic: An introductory and lysis. (2nd/ed). New York: Harpar and row.