การจัดกิจกรรมเกมการศึกษามิติสัมพันธ์ ชุด PICS ที่มีผลต่อการพัฒนาทักษะสมอง (EF) ของเด็กปฐมวัย

Main Article Content

ปฏิณยาภัทร สำเภาทอง
ศิรประภา ไพรเสนา
ธิดารัตน์ จันทะหิน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมาย 1) เพื่อศึกษาการจัดกิจกรรมเกมการศึกษามิติสัมพันธ์ ชุด PICS ที่มีผลต่อการพัฒนาทักษะสมอง (EF) ของเด็กปฐมวัย 2) เพื่อเปรียบเทียบการพัฒนาทักษะสมอง (EF) ของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังการจัดกิจกรรมเกมการศึกษามิติสัมพันธ์ ชุด PICS ของเด็กปฐมวัยชาย – หญิง ที่มีอายุระหว่าง 5-6 ปี กำลังศึกษาอยู่ชั้นอนุบาลปีที่ 3/2 โรงเรียนอนุบาลยโสธร อำเภอเมืองยโสธร จังหวัดยโสธร ปีการศึกษา 2565 โดยใช้วิธีการสุ่มอย่างง่าย จำนวน 10 คน เครื่องมือการวิจัย คือ เกมการศึกษามิติสัมพันธ์ ชุด PICS 12 ชุด ได้แก่ (1) เกมจับคู่ภาพเหมือน (2) เกมภาพสะท้อนกระจก (3) เกมภาพหมุน (4) เกมต่อลายภาพ (5) เกมภาพตัดต่อหรรษา (6) เกมภาพต่อเนื่อง (7) เกมภาพซ้อน ภาพลวงตา (8) เกมภาพเงาสร้างสรรค์ (9) เกมหาส่วนประกอบภาพ (10) เกมภาพซ่อน น่าฉงน (11) เกมจับผิดภาพ (12) เกมเติมภาพให้สมบูรณ์ ผลการศึกษาวิจัย พบว่า 1) เกมการศึกษามิติสัมพันธ์ ชุด PICS ทั้ง 12 ชุด สามารถพัฒนาทักษะสมอง (EF) ทั้ง 3 ทักษะ ได้แก่ ด้านการยืดหยุ่นความคิด ด้านการจดจ่อใส่ใจ และด้านการวางแผนดำเนินการ 2) เกมการศึกษามิติสัมพันธ์ ชุด PICS ทั้ง 12 ชุด เปรียบเทียบภาพรวมคะแนนเฉลี่ยก่อนการจัดกิจกรรมเกมการศึกษามิติสัมพันธ์ ชุด PICS มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 16 น้อยกว่าหลังการจัดกิจกรรมเกมการศึกษามิติสัมพันธ์ ชุด PICS โดยหลังการจัดกิจกรรมเกมการศึกษามิติสัมพันธ์ ชุด PICS มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 25.6 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานก่อนเรียนมีค่า 17.33 หลังเรียนเท่ากับ 7.16 และค่า t-stat (8.30) มากกว่าค่า t-critical one-tail (2.262) นั่นคือ คะแนนหลังเรียนสูงกว่าคะแนนก่อนเรียน เมื่อนำคะแนนมาเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์หลังการจัดกิจกรรมเกมการศึกษามิติสัมพันธ์ ชุด PICS มากกว่าก่อนจัดกิจกรรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

วรรณี วัจนสวัสดิ์. (2552). ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยด้วยกิจกรรมเกมการศึกษาลอตโต. ปริญญานิพนธ์ กศ.ม. (การศึกษาปฐมวัย). มหาวิทยาลัยศรีนคริทรวิโรฒ.

ศักดิ์ชัย ใจซื่อตรง. (2561). การพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์ศิลปะที่ส่งเสริมทักษะการจัดกาสมอง (EF) สำหรับเด็กปฐมวัย. คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒ: กรุงเทพฯ

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. (2560). ฝึก EF ภูมิคุ้มกันชีวิตและป้องกันยาเสพติด คู่มือสำหรับครูอนุบาล. กรุงเทพฯ: สุข พับลิชชิ่ง.

สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2562). หนังสือราชการ ที่ ศธ. 1508/ว ลงวันที่ 31 มกราคม 2562 การขอความอนุเคราะห์ดำเนินการนำเอาองค์ความรู้ ในการพัฒนาทักษะทางสมองเพื่อการบริหารจัดการชีวิต (Executive Function : EF) ไว้ในหลักสูตรครุศาสตร์ศึกษาศาสตร์. กรุงเทพฯ: สำนักงาน คณะกรรมการการอุดมศึกษา.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579. กรุงเทพฯ: พริกหวาน กราฟฟิค

สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. (2547). คู่มือหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2546 (สำหรับเด็กอายุ 3-5ปี). พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกระทรวงศึกษาธิการ.

สุคนธ์ สินธพานนท์. (2553). นวัตกรรมการเรียนการสอน เพื่อพัฒนาคุณภาพของเยาวชน. (ฉบับปรับปรุงครั้ง ที่ 2). กรุงเทพฯ : 9119 เทคนิคพริ้นติ้ง.

สุณี บุญพิทักษ์. (2557). วิจัยชั้นเรียนปฐมวัย : หลักการปฏิบัติจากประสบการณ์. กรุงเทพฯ: ปัญญาชน.

สุภาวดี หาญเมธี. (2561). รู้จักทักษะสมอง EF Executive Function Skills. ในคู่มือพัฒนาทักษะสมอง EF Executive Functions สำหรับครูปฐมวัย. กรุงเทพฯ: บริษัท มติชน จำกัด (มหาชน).

สุมารีย์ ไชยประสพ.(2558). การพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย โดยกิจกรรมเกมการศึกษา โรงเรียนโป่งน้ำร้อนวิทยา. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.