การจัดกิจกรรมการพับกระดาษแบบโอริกามิเพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นอนุบาล 3 โรงเรียนอนุบาลศรีประชานุกูล

Main Article Content

จิระวัฒน์ โพธิ์กระสังข์
รัชฎาภรณ์ พันธ์ทอง
ธิดารัตน์ จันทะหิน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการใช้กิจกรรมการพับกระดาษแบบโอริกามิและเพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยและเพื่อเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังได้รับการจัดกิจกรรมการพับกระดาษแบบโอริกามิ ซึ่งกลุ่มตัวอย่าง ในการวิจัยในครั้งนี้ ได้แก่ เด็กนักเรียนชายและหญิง อายุระหว่าง 5 - 6 ปี ในระดับชั้นอนุบาลปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 โรงเรียนอนุบาลศรีประชานุกูล อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ จำนวน 9 คน โดยทำการเลือกกลุ่มตัวอย่างจากการสุ่มแบบทดลอง รวมระยะเวลาในการทดลอง 6 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 2 วัน วันละ 60 นาที เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 1. แผนการจัดกิจกรรมการพับกระดาษแบบโอริกามิ สำหรับเด็กปฐมวัย 2. แบบทดสอบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย 3. แบบบันทึกแบบทดสอบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ วิธีวิจัยเป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลอง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าเฉลี่ย () ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) และการทดสอบสมมติฐานโดยใช้สถิติ t-test แบบ Dependent Samples โดยผลการวิจัยพบว่า เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการพับกระดาษแบบโอริกามิ มีพัฒนาการทางทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ในทุกทักษะสูงขึ้นกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กมลรัตน์ กมลสุทธิ. (2555). ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์ตามแนวมอนเตสซอรี่. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

กัญญาภัค ศกุนตนาค. (2564). การบริหารจัดการการเรียนรู้เพื่อพัฒนาเชาวน์ปัญญาของเด็กปฐมวัยโรงเรียนเอกชน ในกรุงเทพมหานคร. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

กัณฐิกา ปันเมา. (2553). การพัฒนาชุดเตรียมความพร้อมด้านคณิตศาสตร์ สำหรับเด็กปฐมวัย เรื่อง การจับคู่ ” ระดับชั้นอนุบาล 1 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.

กุลยา ตันติผลาชีวะ. (2551). การจัดกิจกรรมการเรียนรู้สําหรับเด็กปฐมวัย. กรุงเทพฯ: เบรนเบสบุ๊คส์.

เกศินี นิสสัยเจริญ. (2527). การสอนศิลปะสำหรับเด็กเล็ก. เอกสารการอบรมผู้ดูแลเด็กรุ่น 2. ขอนแก่น: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, สํานักงาน. (2560). หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จํากัด.

เชวง ซ้อนบุญ. (2554). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนแบบ MATH – 3C เพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ณัฐญา นันทราช. (2563). การพัฒนาทักษะการคิดพื้นฐานของเด็กปฐมวัย โดยการจัดประสบการณ์ การเรียนรู้แบบไฮสโคปด้วยกิจกรรมเกมการศึกษา. สกลนคร: มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

นภวรรณ พันธุ์เสือ. (2560). การพัฒนาชุดกิจกรรมการอ่านจากภาพเพื่อส่งเสริมพัฒนาการทางด้านสติปัญญาของเด็กปฐมวัย. ลพบุรี: มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี.

นุจิรา เหล็กกล้า. (2561). การพัฒนาทักษะพื้นฐานทางด้านคณิตศาสตร์โดยใช้เกมการศึกษาของเด็กปฐมวัยชั้นปีที่ 2 โรงเรียนบ้านบางแก้ว. ฉะเชิงเทรา: มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์.

ปณิชา มโนสิทธยากร. (2553). ทักษะพื้นฐานคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่เล่นเกมการศึกษาเน้นเศษส่วนของรูปเรขาคณิต. กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ปภาวี คตวงค์. (2561). ส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย โดยใช้เกมการศึกษา. นครราชสีมา: มหาวิทยาลัยสวนดุสิต (ศูนย์นครราชสีมา).

ประจักษ์ เอนกฤทธิ์มงคล. (2560). การพัฒนาความสามารถการคิดวิเคราะห์พื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กระดับปฐมวัยโดยใช้ชุดกิจกรรม. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

ปราณีชาญณรงค์ และ บัณฑิต ศรไพศาล. (2553). รายงานวิจัยการพัฒนาเครื่องมือวิจัยเชิงสำรวจ สถานการณ์ระดับสติปัญญาเด็กไทย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ปัญญา คลังมนตรี. (2554). ผลการใช้ชุดกิจกรรมคณิตศาสตร์พับกระดาษแบบออริกามิที่มีต่อความคิดรวบยอดทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ผจงจิตต์ ช้างมงคล. (2553). ผลการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ด้วยกิจกรรมพับกระดาษที่มีต่อพฤติกรรมชอบสังคมของเด็กปฐมวัย. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

พัฒนาคุณภาพวิชาการ, สถาบัน. (2554). คู่มือการจัดประสบการณ์การเรียนรู้คณิตศาสตร์. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ บริษัทพัฒนาคุณภาพวิชาการ (พว.) จำกัด.

ราชานุกูล กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข, สถาบัน. (2557). การเตรียมความพร้อมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ในเด็กปฐมวัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

วรรณวิไล เม็งทอง. (2553). การพัฒนาชุดเตรียมความพร้อมด้านคณิตศาสตร์ สำหรับเด็กปฐมวัย เรื่อง “ การเปรียบเทียบ” ระดับชั้นอนุบาล 2 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.