การพัฒนาความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กโดยใช้กิจกรรมการปั้นประกอบอุปกรณ์สำหรับเด็กปฐมวัย โรงเรียนสาธิตมหาวิยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและเปรียบเทียบระดับความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กสำหรับเด็กอายุ 5 – 6 ปี ก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยกิจกรรมการปั้นประกอบอุปกรณ์ กลุ่มตัวอย่างคือนักเรียนชั้นอนุบาล 3 อายุ 5–6 ปี ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี จำนวน 10 คน ได้มาโดยใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง ระยะเวลาในการทดลองจำนวน 4 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 3 วัน วันละ 40 นาที เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แผนการจัดกิจกรรมการปั้นประกอบอุปกรณ์ และแบบทดสอบวัดความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็ก การวิจัยครั้งนี้ใช้แผนการวิจัยแบบ One Group Pretest – Posttest Design และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ค่าความเที่ยงตรง ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า ความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กสำหรับเด็กอายุ 5 – 6 ปี ก่อนและหลังจากได้รับการจัดกิจกรรมการปั้นประกอบอุปกรณ์โดยภาพรวมก่อนการจัดกิจกรรม ( = 26.78) และหลังการจัดกิจกรรม ( = 50.11) และเมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ 1.ด้านความแข็งแรงในการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กก่อนการจัดกิจกรรม ( = 6.89) และหลังการจัดกิจกรรม ( = 12.89) 2.ด้านความคล่องแคล่วในการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กก่อนการจัดกิจกรรม ( = 6.67) และหลังการจัดกิจกรรม ( = 11.89) 3.ด้านความยืดหยุ่นในการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กก่อนการจัดกิจกรรม ( = 6.44) และหลังการจัดกิจกรรม ( = 12.56) และ4.ด้านการประสานสัมพันธ์กันระหว่างมือกับตาในการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กก่อนการจัดกิจกรรม ( = 6.78) และหลังการจัดกิจกรรม( = 12.78) สรุปว่าการจัดกิจกรรมการปั้นประกอบอุปกรณ์สำหรับเด็กอายุ 5 – 6 ปี มีความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กที่สูงขึ้น
Article Details
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). คู่มือหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560 สำหรับเด็กอายุ 3 – 6 ปี. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมชนสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
ปิยรัตน์ เที่ยงภักดิ์, จงจิต เค้าสิม และลัดดา. (2561). ผลการจัดกิจกรรมการปั้นจากสื่อวัสดุท้องถิ่นที่มีต่อความสามารถด้านการคิดสำหรับเด็กนักเรียนชั้นอนุบาล ปีที่ 2 โรงเรียนบ้านหนองบัวน้อย. วารสารธรรมทรรศน์, 18(2), 141-152.
ผกากานต์ น้อยเนียม. (2556). ผลของการจัดกิจกรรมการปั้นที่มีต่อทักษะการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กของเด็กปฐมวัย. ปริญญานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต (การบริหารการศึกษา) ปฐมวัยศึกษามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
พิไลวรรณ ธรรมรังสี. (2557). การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้การปั้นผลิตภัณฑ์พื้นบ้านเพื่อ พัฒนาทักษะการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กสำหรับเด็กปฐมวัย. ปริญญานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต (การบริหารการศึกษา) สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี.
บุบผา มณีกุล. (2561). ความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรม ศิลปะสร้างสรรค์การฉีก ตัด ปะเศษวัสดุ (รายงานผลการวิจัย). อุตรดิตถ์: มหาวิทยาลัยสวนดุสิต(ศูนย์อุตรดิตถ์).
กฤษณา รักนุช. (2560). การพัฒนาชุดกิจกรรมสร้างสรรค์ตามแนวคิดของกีเซลล์เพื่อพัฒนาความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กของนักเรียนระดับปฐมวัย. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
กิตติยา แก้วขอมดี และสุกัญญา จันทรมา. (2557). รายงานการวิจัยการจัดกิจกรรมการปั้น แป้งโดว์ เพื่อส่งเสริมพัฒนาการทางด้านกล้ามเนื้อมัดเล็กของเด็กอนุบาลชั้นปีที่1/2 โรงเรียนเกษมพิทยา. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเอกการศึกษาปฐมวัย มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม.
กุลเดช วิทยลาภาและคณะ. (2559). การพัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็ก โดยใช้กิจกรรมทำขนมไทยสำหรับเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 1. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต.
เกียรติวรรณ อมาตยกุล. (2559). เรียนๆเล่นๆ อนุบาลอมาตยกุล. กรุงเทพฯ: ที พี พริ้นท์.
จิดาภา วาสินนท์. (2560). การพัฒนาความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 1/1 โรงเรียน ทุ่งมหาเมฆ โดยใช้กิจกรรมปั้น. วิจัยในชั้นเรียนครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.
เจษฎา มีสาระภี. (2559). ศึกษาทักษะการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กโดยใช้กิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์. ศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาการศึกษาปฐมวัย คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต.
รัตนา มหามนต์. (2557). การพัฒนาความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กของเด็กนักเรียนชั้น อนุบาล 1 โดยใช้กิจกรรมการทำขนมไทยชาววัง. วิจัยในชั้นเรียนครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.
รวิพร ผาด่าน. (2557). ความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์การฉีก ตัด ปะเศษวัสดุ. ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาการศึกษาปฐมวัย บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
อัมพุชินี เดี่ยวทิพย์สุคนธ์. (2559). การพัฒนากล้ามเนื้อเล็กของเด็กชั้นอนุบาล 3 ขวบโดยใช้กิจกรรมประกอบอาหารด้วยวิธีการปั้น หั่น เด็ด. วิจัยในชั้นเรียนครุศาสตร์บัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.
กิตติยา แก้วขอมดี และสุกัญญา จันทรมาศ. (2557). การจัดกิจกรรมแป้งโดว์เพื่อส่งเสริมพัฒนาการด้านกล้ามเนื้อมัดเล็กของเด็กอนุบาลชั้นปีที่ 1/2 โรงเรียนเกษมพิทยา. ปริญญานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต (การบริหารการศึกษา) บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม.
พิไลวรรณ ธรรมรังสี. (2557). การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้การปั้นผลิตภัณฑ์พื้นบ้านเพื่อพัฒนาทักษะการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กสำหรับเด็กปฐมวัย. ปริญญานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต (การบริหารการศึกษา)สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี.
ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย สมาคมกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย. (2560). คู่มือสำหรับพ่อแม่เพื่อเผยแพร่ความรู้ด้านการดูแลและพัฒนาตอนวัยเด็กเล็ก 0 – 3 ปี. กรุงเทพฯ: ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย สมาคมกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย.
สุปราณี งามหลอด. (2557). ผลของการจัดกิจกรรมศิลปะการปั้นที่มีต่อทักษะการคิดเชิงเหตุผลของเด็กปฐมวัย. ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต (การบริหารการศึกษา) การศึกษาปฐมวัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.