แนวทางการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะของครู โรงเรียนมัธยมกัลยาณิวัฒนาเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดเชียงใหม่

Main Article Content

วรายุทธ อุตตะมา
ณัฐิยา ตันตรานนท์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความต้องการจำเป็นในการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะของครู โรงเรียนมัธยมกัลยาณิวัฒนาเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดเชียงใหม่ 2) ศึกษาแนวปฏิบัติที่ดี  ในการจัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะของครูสถานศึกษาอื่น และ 3) ศึกษาแนวทางการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะของครู โรงเรียนมัธยมกัลยาณิวัฒนาเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดเชียงใหม่ ผู้ให้ข้อมูลแบ่งเป็น 3 กลุ่ม ประกอบด้วย 1) ผู้บริหารและครูโรงเรียนมัธยมกัลยาณิวัฒนาเฉลิมพระเกียรติ จำนวน 15 คน 2) ผู้บริหารและครูโรงเรียนที่มีแนวปฏิบัติที่ดี จำนวน 7 คน และ 3) ผู้บริหารและครูโรงเรียนมัธยมกัลยาณิวัฒนาเฉลิมพระเกียรติ จำนวน 6 คน และผู้ทรงคุณวุฒิทางการศึกษา จำนวน 2 คน  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง และแบบบันทึกการสนทนากลุ่ม ใช้วิธีการวิเคราะห์ข้อมูล โดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าดัชนีความต้องการจำเป็น Priority Needs Index (PNI) และการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า 1) ด้านการวัดและประเมินผลฐานสมรรถนะ มีความต้องการจำเป็นสูงที่สุดเป็นลำดับแรก 2) แนวปฏิบัติที่ดีในการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะของครู พบว่า ผู้บริหารสถานศึกษามีบทบาทสำคัญในการเป็นผู้นำทางวิชาการ โดยร่วมกับคณะครูในการจัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะ และ 3) แนวทางการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะของครู พบว่า ผู้บริหารควรจัดระบบและกลไกในการจัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะ ขับเคลื่อนการดำเนินงานร่วมกับคณะครูอย่างเป็นระบบ พร้อมทั้งมีการติดตามและประเมินผลการจัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ไชยชาญ เผือดคล้าย. (2565). บทปริทัศน์หนังสือ: การพัฒนาหลักสูตรฐานสมรรถนะและการจัดการเรียนรู้อย่างมีความหมาย. Journal of Information and Learning, 33(3), 134.

ฐิตาพร ตันเจริญรัตน์. (2565). ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารกับทักษะของครูในศตวรรษที่ 21 ในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 8. วารสารสิรินธรปริทรรศน์, 23(1), 199.

ณัฐพล วรรณศรี. (2564). รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำทางวิชาการสำหรับครูผู้สอนวิชาภาษาอังกฤษ ระดับมัธยมศึกษา ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

นิกร ปัตตาลาคะ และอรัญ ซุยกระเดื่อง. (2564). ศึกษาการรับรู้ การปฏิบัติ ปัญหา และแนวทางส่งเสริม การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ตามสภาพจริง ของครูผู้สอนสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดมหาสารคาม. วารสารสถาบันวิจัยและพัฒนามหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 8 (1), 139.

นิวัตต์ น้อยมณี, กัญภร เอี่ยมพญา, อภิชาติ อนุกูลเวช, ดาวประกาย ระโส และกนกวรรณ โกนาคม. (2565). แนวทางการพัฒนาคุณลักษณะของครูที่พึงประสงค์สอดคล้องกับสภาวการณ์ตามกฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติ. วารสารสิรินธรปริทรรศน์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตสิรินธรราชวิทยาลัย, 23(1), 103-116.

พรชนนี ภูมิไชยา. (2564). หลักสูตรฐานสมรรถนะกับการเรียนการสอนภาษาอังกฤษในศตวรรษที่ 21. วารสารวิชาการและวิจัยสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง, 16(2), 102-115.

มัทรีแก้ว ยนต์ประเสริฐ และสุรางคนา มัณยานนท์. (2563). แนวทางการพัฒนาการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนอนุบาลอุบลราชธานี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 1. วารสารบริหารการศึกษาบัวบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี, 20(4), 23.

โรงเรียนมัธยมกัลยาณิวัฒนาเฉลิมพระเกียรติ. (2565). รายงานผลการประเมินตนเองของสถานศึกษา ปีการศึกษา 2564. เชียงใหม่: กลุ่มบริหารงานงบประมาณและแผนงาน โรงเรียนมัธยมกัลยาณิวัฒนาเฉลิมพระเกียรติ

วัลภา นิลเขต, ปทิตตา ปิยสกุลเสวี, อัญมณี เมามีจันทร์, อภิรักษ์ อภิธนา และพัชณัษฐ์ เสือนวม. (2565). STAR คุณลักษณะสำคัญของครูกับการจัดการหลักสูตรฐานสมรรถนะ. วารสารวิชาการ สถาบันเทคโนโลยีแห่งสุวรรณภูมิ, 8(1), 444.

สมเกียรติ ยังจีน, รุ่งชัชดาพร เวหะชาติ และสุนทรี วรรณไพเรา. (2566). การศึกษาองค์ประกอบการพัฒนาหลักสูตรฐานสมรรถนะโดยใช้แนวคิด PDSA และ Single Loop Learning สำหรับโรงเรียน Stand Alone.วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตนครศรีธรรมราช, 10 (9), 109-111.

สุพรรณิกา รุจิวณิชย์กุล, นพรัตน์ ชัยเรือง และวันฉัตร ทิพย์มาศ. (2564). แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 12. วารสารนาคบุตรปริทรรศน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช, 13(1), 31.

สุรีพร แก้วโพธิ์. (2561). บทบาทผู้บริหารสถานศึกษาในการส่งเสริมการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญในสถานศึกษาสังกัดอาชีวศึกษาจังหวัดนครนายก. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะครุศาสตรอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

สุวรรณี เนินทอง. (2558). แนวทางการพัฒนาครูเพื่อการจัดการเรียนรู้ของกลุ่มโรงเรียนเครือข่ายสหวิทยาเขตทุ่งหินเทิน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 42. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. (2567ก). การจัดการเรียนรู้เชิงรุกฐานสมรรถนะ : การเรียนรู้จากการปฏิบัติจริงของสถานศึกษา. กรุงเทพฯ: กลุ่มพัฒนานโยบายด้านการเรียนรู้ สำนักมาตรฐานการศึกษาและพัฒนาการเรียนรู้ สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. (2567ข). รายงานการศึกษากระบวนการและ ผลการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาฐานสมรรถนะ. กรุงเทพฯ: กลุ่มพัฒนานโยบายด้านการเรียนรู้ สำนักมาตรฐานการศึกษาและพัฒนาการเรียนรู้ สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา

อรุณรัศมี พิฆาตไพรี และนิยดา เปี่ยมพืชนะ. (2565). แนวทางการมีส่วนร่วมในการบริหารงานวิชาการของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 4. วารสารบริหารการศึกษาบัวบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี, 22(1), 13.

อัสสกัลย์ บุรุษเกิด และพระมหาไกรวรรณ์ ชินทตฺติโย. (2566). การบริหารจัดการชุมชนแห่งการเรียนรู้ ทางวิชาชีพของผู้บริหารที่ส่งผลต่อการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของสถานศึกษาสังกัดในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1. วารสารบัณฑิตศาส์น มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 21(1), 12.