การพัฒนารูปแบบการบริหารสถานศึกษาตามแนวคิดการจัดระบบนิเวศการเรียนรู้ เพื่อส่งเสริมความเป็นเลิศทางวิชาการสำหรับนักเรียนโรงเรียนบ้านแก้งโตน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 5

Main Article Content

กัญญภา สิริเลาหกุล

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่อง การพัฒนารูปแบบการบริหารสถานศึกษาตามแนวคิดการจัดระบบนิเวศการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมความเป็นเลิศทางวิชาการสำหรับนักเรียนโรงเรียนบ้านแก้งโตน มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐาน 2) พัฒนารูปแบบ 3) ทดลองใช้รูปแบบ และ 4) ประเมินรูปแบบ มีการวิจัย 4 ระยะ ระยะที่ 1 ศึกษาข้อมูลพื้นฐาน ผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ครู ผู้ปกครอง คณะกรรมการสถานศึกษาฯ จำนวน 120 คน และผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 คน ระยะที่ 2 การพัฒนารูปแบบ ผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 9 คน ระยะที่ 3 การทดลองใช้รูปแบบ กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ครู จำนวน 11 คน ระยะที่ 4 การประเมินรูปแบบ ผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ครู ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาฯ จำนวน 120 คน และนักเรียน จำนวน 100 คน เครื่องมือวิจัย ได้แก่ 1) แบบวิเคราะห์เอกสาร 2) แบบสอบถาม 3) แบบสัมภาษณ์ 4) แบบทดสอบ และ 5) แบบประเมิน ใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ค่าสถิติ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าซี ค่าคะแนนพัฒนาการสัมพัทธ์ และค่าดัชนีลำดับความต้องการจำเป็น  ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัจจุบัน มีการปฏิบัติอยู่ในระดับปานกลาง สภาพที่คาดหวัง อยู่ในระดับมากที่สุด และอันดับความต้องการจำเป็นจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ด้านเครือข่ายความร่วมมือ ด้านการใช้เทคโนโลยี และด้านการจัดการเรียนรู้ 2) ผลการสร้างรูปแบบมี 6 องค์ประกอบ คือ (1) หลักการ (2) วัตถุประสงค์ (3) เนื้อหา (4) การดำเนินการ (5) การประเมินผล และ (6) เงื่อนไขความสำเร็จ รูปแบบและคู่มือการใช้รูปแบบมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด 3) ผลการทดลองใช้รูปแบบ พบว่า (1) ผลการประเมินความรู้ความเข้าใจของครู หลังการพัฒนาสูงกว่าก่อนการพัฒนา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (2) ผลการดำเนินการพัฒนาตามรูปแบบ มีระดับปฏิบัติอยู่ในระดับมากที่สุด  และ 4) ผลการประเมินรูปแบบ พบว่า (1) ผลการทดสอบ (NT) ระหว่างปี 2565 กับ 2566 เพิ่มสูงขึ้นร้อยละ 14.63 (2) ผลการทดสอบ (O-NET) ระหว่างปี 2565 กับ 2566 เพิ่มสูงขึ้นร้อยละ 9.01 และเมื่อเปรียบเทียบระหว่างปี 2562 – 2566 เพิ่มขึ้นทุกปี (3) ผลการประเมินความเป็นไปได้และความเป็นประโยชน์อยู่ในระดับมากที่สุด (4) ผลการประเมินความพึงพอใจของผู้ที่เกี่ยวข้อง และนักเรียน อยู่ในระดับมากที่สุด

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เฉลิมยศ พุทธา. (2566). การพัฒนารูปแบบการบริหารสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนของโรงเรียนปักธงชัยชุณหะวัณวิทยาคาร สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 3. วารสารวิชาการและนวัตกรรมทางสังคมศาสตร์, 5(1), 201-217.

ชุมศักดิ์ อินทร์รักษ์. (2562). การบริหารการศึกษาเป็นสาขาวิชาชีพอย่างไร, วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร, 17(1), 28-44.

ดำรงค์ ชลสุข. (2564, พฤศจิกายน 28). มติชนมติครู : โรงเรียนแห่งความเป็นเลิศทางวิชาการ [คอลัมน์]. https://www.matichon.co.th/education/news_3057637

นริศนา ใจคง, และสิริกานต์ แก้วคงทอง. (2564). นิเวศการเรียนรู้: เรื่องเก่าบนวิถีใหม่. วารสารการศึกษาไทย (OBEC JOURNAL), 18(3), 64-69.

นันทิยา หุตานุวัตร และณรงค์ หุตานุวัตร. (2553). SWOT การวางแผนกลยุทธ์ ธุรกิจ ชุมชน. อุบลราชธานี: สถาบันชุมชนท้องถิ่นพัฒนา คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.

พระธีรพัฒน์ กุลธีโร, และพระมหาเผด็จ จิรกุโล. (2564). การบริหารสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศ School Management to Excellence. วารสารนวัตกรรมการพัฒนาจิตและปัญญา, 1(1), 43-49.

“พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบบั ที่2) พ.ศ. 2545 (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2553 และ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2562,” (1 พฤษภาคม 2562). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 136 ตอนที่ 57ก.

มูลนิธิสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย. (2556). การจัดทำยุทธศาสตร์การปฏิรูปการศึกษาขั้นพื้นฐานให้เกิดความรับผิดชอบ. (ออนไลน์). แหล่งที่มา : http://tdri.or.th/wp-content/uploads/2014/03/Final-Paper.pdf. 6 สิงหาคม 2565.

โรงเรียนบ้านแก้งโตน. (2566). รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา (Self - Assessment Report : SAR) ประจำปีการศึกษา 2566. โรงเรียนบ้านแก้งโตน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษอุบลราชธานี เขต 5.

วชิรวิทย์ สุราสา, และเอกราช โฆษิตพิมานเวช. (2565). ผู้บริหารที่นำสถานศึกษาสู่ความสำเร็จบนวิถีแห่งความเปลี่ยนแปลง. วารสารมณีเชษฐาราม วัดจอมมณี, 5(2), 186-201.

วัชราภรณ์ กลิ่นภู่ และคณะ. (2561). การส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารงานของเทศบาลบางบัวทอง จังหวัดนนทบุรี. วารสารวิชาการสถาบันวิทยาการจัดการแห่งแปซิฟิค. 4 (1): 283.

วุฒิชัย ไกรวิเศษ (2566). นวัตกรรมการบริหารระบบนิเวศการเรียนรู้ของโรงเรียนมัธยมศึกษาตามแนวคิดนวัตกรพลิกผัน. วิทยานิพนธ์ระดับดุษฎีบัณฑิต คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สมาน อัศวภูมิ. (2550). การใช้การวิจัยพัฒนารูปแบบในวิทยานิพนธ์ระดับปริญญาเอก. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี, 2(2), 76-84.

สุจิตรา เทียนสวัสดิ์.(2534). การพัฒนาเครื่องมือสำหรับงานวิจัยทางการ. พิมพ์ครั้งที่ 2. ขอนแก่น: โรงพิมพ์ ศิริภัณฑ์ ออฟเซ็ท.

สมโภชน์ อเนกสุข. (2559). การวิจัยทางการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 8. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 – 2579. กรุงเทพฯ: พริก

หวานกราฟฟิค จำกัด.

สำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ. (2561). ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี พ.ศ. 2561-2580 (ฉบับย่อ). สำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ.

โสภนา สุดสมบูรณ์. (2566). การจัดการเรียนรู้กับความสมดุลของการจัดระบบนิเวศการเรียนรู้และวัฒนธรรมการเรียนรู้ที่ยั่งยืน. วารสารสถาบันวิจัยพิมลธรรม, 10(3), 311-325.

อภิชญา สวัสดี, ศศิธร หาสิน, และกัลยารัตน์ สุขนันท์ชนะ. (2565). แนวทางการจัดระบบนิเวศการเรียนรู้ภายในสถานศึกษารองรับการเรียนรู้เชิงรุก. E-Journal of Education Studies, Burapha University, 4(4), 67-78.

Campbell, R.F., Corbally, J.F., & Nystrand, R.O. (1983). Introduction to Educational Administration. Allyn and Bacon.

Eva Dhimitri, Majlinda Bello and Elda Dollija. (2012). Results based management in Albanian local governments. Case study municipality of Korca. Manager Journal, Faculty of Business and Administration, University of Bucharest, 16(1), 14-23, December.

Fulstone schools. (2003). Excellence model. Retrieved from http://www.fulschool.org/dept/prodev/Model.html.

Judy Estrin and Sam Gill (2019). Internet pioneer, business executive, technology entrepreneur, the CEO of JLabs, and the author of Closing the Innovation Gap.

Kumar, S. (2023, November 7). Optimizing The Learner Experience: Strategies For A Seamless Learning Ecosystem [Article]. https://elearningindustry.com/op timizing-the-learner-experience-strategies-for-seamless-learning-ecosystem

McMillan, James H. & Sally Schumacher. (1997). Research in Education. New York: Longman.

Ofsted (2012). Qualifications, experience and standard required of additional inspectors undertaking inspections on behalf of Her Majesty’s Chief Inspector of Education, Children’s Services and Skills and House of Commons Education Committee (2011), In The role and performance of Ofsted. London: The Stationery Office Limited.