การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีโดยใช้วิธีการเรียนรู้ตามแนวคิด Constructivism ร่วมกับวิธีการสืบเสาะหาความรู้ 7 ขั้น เพื่อพัฒนาทักษะการคิดแก้ปัญหา เรื่อง อะตอมและสมบัติของธาตุ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4

Main Article Content

วัฒนา สระสิริ

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานสำหรับการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยใช้วิธีการการเรียนรู้ตามแนวคิด Constructivism ร่วมกับวิธีการสืบเสาะหาความรู้ 7 ขั้น (7Es) 2) เพื่อสร้างและการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยใช้วิธีการการเรียนรู้ตามแนวคิด Constructivism ร่วมกับวิธีการสืบเสาะหาความรู้ 7 ขั้น (7Es) 3) เพื่อศึกษาผลการทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยใช้วิธีการการเรียนรู้ตามแนวคิด Constructivism ร่วมกับวิธีการสืบเสาะหาความรู้ 7 ขั้น (7Es) 4) เพื่อประเมินผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยใช้วิธีการการเรียนรู้ตามแนวคิด Constructivism ร่วมกับวิธีการสืบเสาะหาความรู้ 7 ขั้น (7Es) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และแบบสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อรูปแบบการเรียนการสอน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  การวิเคราะห์เนื้อหา  และแผนการจัดการเรียนรู้ แบบประเมินทักษะการคิดแก้ปัญหา ผลการวิจัยพบว่า (1) ผลการทดลองเพื่อยืนยันประสิทธิภาพ ตามเกณฑ์ 80/80 กับนักเรียนกลุ่มตัวอย่าง พบว่า มีประสิทธิภาพเท่ากับ 86.78/80.09 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ และมีดัชนีประสิทธิผลมีค่าเท่ากับ 0.6996 หมายความว่า นักเรียนมีความรู้เพิ่มขึ้นร้อยละ 69.96 ซึ่งมีค่าสูงกว่ากว่าเกณฑ์ที่กำหนด คือ 0.50 (2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน ที่เรียนรู้ด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญ ที่ระดับ .05 (3) ทักษะการคิดแก้ปัญหา เมื่อเทียบจากเกณฑ์ให้คะแนนระดับคุณภาพ ในภาพรวมอยู่ในระดับดี โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.39  ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.15 (4) ผลการประเมินการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ พบว่า นักเรียนมีความพึงพอใจต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ซึ่งมีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 4.32  ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.49

Article Details

How to Cite
สระสิริ ว. . . (2023). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีโดยใช้วิธีการเรียนรู้ตามแนวคิด Constructivism ร่วมกับวิธีการสืบเสาะหาความรู้ 7 ขั้น เพื่อพัฒนาทักษะการคิดแก้ปัญหา เรื่อง อะตอมและสมบัติของธาตุ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. วารสารครุศาสตร์ปัญญา, 2(3), 48–64. สืบค้น จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/IEJ/article/view/268234
บท
บทความวิจัย