Factor Analysis of Buddhist Administration Towards Excellence of Sangha Colleges Under Mahachulalongkornrajavidyalaya University
Main Article Content
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบและตัวชี้วัดการบริหารเชิงพุทธสู่ความเป็นเลิศ และ2) ตรวจสอบโมเดลองค์ประกอบการบริหารเชิงพุทธสู่ความเป็นเลิศของวิทยาลัยสงฆ์ สังกัดมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกราชวิทยาลัยวิทยาลัย เป็นการวิจัยแบบผสมผสานวิธี โดยการศึกษาองค์ประกอบและตัวชี้วัดกรอบแนวคิดของการบริหารเชิงพุทธสู่ความเป็นเลิศ ของวิทยาลัยสงฆ์ สังกัดมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย จากการศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง สัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิด้วยแบบสอบถามกึ่งโครงสร้างและวิเคราะห์เนื้อหา และการสำรวจเพื่อตรวจสอบความสอดคล้องกลมกลืนของโมเดลการบริหารเชิงพุทธสู่ความเป็นเลิศกับข้อมูลเชิงประจักษ์โดยการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน กลุ่มตัวอย่างแบ่งเป็น ผู้บริหาร คณาจารย์ เจ้าหน้าที่ จำนวน 550 คน ผลการวิจัยพบว่า 1) องค์ประกอบและตัวชี้วัดการบริหารเชิงพุทธสู่ความเป็นเลิศ ของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกราชวิทยาลัยวิทยาลัย ผลการศึกษาพบว่ามี 7 องค์ประกอบหลัก คือ ด้านการนำองค์กร ด้านกลยุทธ์ ด้านผู้รับบริการ ด้านการวัดการวิเคราะห์และการจัดการความรู้ ด้านบุคลากร ด้านการปฏิบัติงาน และด้านผลลัพธ์ และมี 21 องค์ประกอบย่อย มี 110 ตัวบ่งชี้ และ2) ผลการตรวจสอบความกลมกลืนของโมเดลองค์ประกอบการบริหารเชิงพุทธสู่ความเป็นเลิศมีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ และเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด ดังนี้ ค่าไคว์สแคว์ (c2) เท่ากับ 581.370 ค่าองศาอิสระ (df) เท่ากับ 323 ค่านัยสำคัญทางสถิติ (P-Value) เท่ากับ 0.0600 แสดงว่าค่าไคว์สแควร์ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ ค่าความคลาดเคลื่อนในการประมาณพารามิเตอร์ (RMSEA) เท่ากับ 0.0600 ค่าดัชนีรากที่สองกำลังสองเฉลี่ย (SRMR) เท่ากับ 0.088 ค่าดัชนีวัดความสอดคล้องเปรียบเทียบ (CFI) เท่ากับ 0.927 ค่าดัชนีตรวจสอบความกลมกลืน (TLI) เท่ากับ 0.902
Article Details
References
พระธรรมโกศาจารย์ (ประยรู ธมมจฺ ติโตฺ) (2552). วิธีบูรณาการพระพุทธศาสนากับศาสตร์สมัยใหม่. https://www.mcu.ac.th/directory_uploads/administrator/file_upload/20180810135126_5579A3DA-BE21-41B8-A7AC-E517A756F6E5.pdf
พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต). (2538). พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต). (2546). ภาวะผู้นำ. กรุงเทพฯ: ธรรมสภา.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2547). ธรรมนูญชีวิต. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์การศาสนา.
ไพฑูรย์ สินลารัตน์. (2552). กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาของประเทศไทย: จากการวิจัยสู่การปฏิบัติ (Thai Qualifications Framework for Higher Education: TQF). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2566). แผนที่ยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ในช่วงแผนพัฒนามหาวิทยาลัย ระยะที่ 13 (พ.ศ. 2566 - 2570). http://plandiv.mcu.ac.th
ยุวลักษณ์ เส้งหวาน. (2554). การพัฒนารูปแบบและกลไกลการบริหารการจัดการสถาบันการพลศึกษาสู่ความเป็นเลิศ. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,
ระติกรณ์ นิยมะจันทร์ และพร้อมพิไล บัวสุวรรณ. (2558). ปัจจัยของการบริหารจัดการด้วยเกณฑ์คุณภาพการศึกษาเพื่อการดำเนินงานที่เป็นเลิศในสถาบันอุดมศึกษา. วารสารวิจัยทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 9(2), 147-157.
สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2561). แผนอุดมศึกษาระยะยาว 20 ปี พ.ศ. 2561 – 2580. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.
สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม. (2564). เกณฑ์คุณภาพการศึกษาเพื่อการดำเนินการที่เป็นเลิศ ฉบับปี 2563-2566. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.
Hawk, B. J. (2004). Baldrige Criteria for Performance Excellence in Millions Public School: Understanding and Implementation. http://wwwlib.umi.com
Jayamaha, N.P., Nigel P.G., Robin S.M. (2008). Empirical Validity of Baldrige Criteria: New Zealand evidence. International Journal of Quality & Reliability Management, 25(5), 477–493.
National Institute of Standard and Technology. (2023). Baldrige Criteria Commentary (Education). https://www.nist.gov/baldrige/baldrige-criteria-commentary-education
Suri, R.K, and Amin, S. (2013). Leadership, Beachem and The Route to Quality Management in Private Management Institutes with Specific Reference to DELHI – NCR. Asian Journal of Research in Business Economics and Management, 3(5), 29–61.